กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

กำจัดขยะ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรค เพื่อคนคลองนุ้ยสุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

1. นางสายจิตร อินทมา 2. นายสุรินทร์ ปานป้อง 3. น.ส.อังคณา รักเกตุ 4. นางไหมมู๋หน๊ะ เอียดฤทธิ์ 5. นางเกาะติเย๊าะ หมาดเส็น

1. นางสายจิตร อินทมา
2. นายสุรินทร์ ปานป้อง
3. น.ส.อังคณา รักเกตุ
4. นางไหมมู๋หน๊ะ เอียดฤทธิ์
5. นางเกาะติเย๊าะ หมาดเส็น

หมู่ที่ 5 บ้านคลองนุ้ย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาด" กำหนดกรอบการดำเนินงาน จำนวน 3 ระยะ ให้แก่ ต้นทาง คือ การลดปริมาณขยะ การส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง และกำหนดให้ครัวเรือนทุกครัวเรือนจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน กลางทาง คือ การจัดทำระบบเก็บขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และปลายทาง คือ ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานจัดการขยะต้นทางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระทรวงมหาดไทยได้เสนอขึ้นทะเบียนโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกจากสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (TVER) โดยมีระยะเวลาการรับรองคาร์บอนเครดิต ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2560 - 30 มิถุนายน 2569 และกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของขยะเปียกในระดับครัวเรือน โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนซึ่งนับเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตขยะ อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของประชาชน จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีและปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างสะสมตามมา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนและสภาพความเป็นอยู่ในครัวเรือน ทำลายทัศนียภาพ เกิดเป็นความไม่สวยงามของบ้านเมือง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหนะนำโรคต่างๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน แมลงสาบ เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน สร้างความรำคาญและอาจบั่นทอนสุขภาพของคนในชุมชนในที่สุด ดังนั้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการขยะของกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนเป็นการจัดการขยะต้นทางเพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน การสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี พร้อมทั้งสามารถเผยแพร่ให้ประชาชนได้นำหลักการคัดแยกขยะ RS (Reduce Reuse Recycle) มาใช้ในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านคลองนุ้ย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง
  1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง
0.00
2 2. เพื่อให้ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีถังขยะเปียกและสามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคและพาหะนำโรคต่างๆ
  1. ร้อยละ 100 ของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีถังขยะเปียกและสามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคและพาหะนำโรคต่างๆ
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง 2. ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์และจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อนให้กับแกนนำและประชาชนที่สนใจ

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง 2. ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์และจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนลดโลกร้อนให้กับแกนนำและประชาชนที่สนใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน 4 ชม.ๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ 60 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท รวมเป็นเงิน 4,500 บาท
  • ค่าถังพลาสติกแบบมีฝาปิด เจาะท้าย จำนวน 60 ถังๆละ 100 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  • แผ่นพับ จำนวน 100 ใบๆละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 7,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถขับเคลื่อนการลดปริมาณและการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน
2. แกนนำและประชาชนที่สนใจในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนและมีความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
3. มีปริมาณขยะที่ต้องฝังกลบ ขยะตกค้างที่ทำให้เกิดมลภาวะจากขยะชุมชนลงได้
4. สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคและพาหะนำโรคต่างๆ
5. ประชาชนหมู่ที่ 5 บ้านคลองนุ้ยมีสุขภาวะที่ดี


>