กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ

นายไพศาล บาเหะตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน

หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทำนบ ได้แก่ หมู่ที่ 3,4,5,6,8,9 และหมู่ที่ 10

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกกลายเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและการแพทย์ของประเทศเพราะแต่ละปีมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจเข้าสู่ภาวะช็อก และทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง จากข้อมูกทางระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – 2547 ได้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างรุนแรงที่สุด ซึ่งน่าสังเกตว่าในปัจจุบันการระบาดมิได้เกิดเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น แต่ยังควรมีการระบาดได้ทุกฤดูกาล จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง โดยการควบคุมพาหนะนำโรคไข้เลือดออกทั้งที่บ้าน โรงเรียน และในชุมชน ซึ่งวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการควบคุมจำนวนลูกน้ำยุงลาย โดยการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนและความร่วมมือจากหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จังหวัดยะลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ได้รับรายงานพบผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกจำนวนทั้งสิ้น 19 ราย อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก 3.50 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต และจากรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกปี พ.ศ. 2565 ของ รพ.สต.บ้านทำนบ พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในเขตพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ มีผู้ป่วยจำนวน 1 ราย ซึ่งคิดเป็นอัตราป่วยด้วยโรคเท่ากับ 12.20 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ.2564 มีผู้ป่วยจำนวน 0 ราย ซึ่งคิดเป็นอัตราป่วยด้วยโรคเท่ากับ 0.0 ต่อประชากรแสนคน และค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ 109.76 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยและการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มระบาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ทำให้มีการแพร่ระบาดและมีผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
จากปัญหาดังกล่าว การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของคนในชุมชน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลาที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกทุกปีดังนั้น การจัดทำโครงการขึ้น เพื่อเป็นการการควบคุมยุงลายในชุมชนไม่ให้มีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น รวมทั้งการให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกกับตนเองได้อย่างถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.และทีมควบคุมโรคสามารถพ่นหมอกควันได้ทันท่วงที

 

0.00
2 เพื่ออัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

 

0.00
3 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 64
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พ่นหมอกควัน ให้สุขศึกษาเรื่องโรคไข้เลือดออก แจกทรายอะเบท สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควัน ให้สุขศึกษาเรื่องโรคไข้เลือดออก แจกทรายอะเบท สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะปูเต๊ะ  ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 20,904 บาท รายละเอียด ดังนี้ จำนวนโรงเรียน 9 โรง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 ศูนย์ มัสยิดโรงเรียนตาดีกาจำนวน 19 หลัง รวมทั้งหมด 32 หลัง พ่นจำนวน 2 ครั้งต่อปี ใช้น้ำมันเบนซินพ่น 100 ตารางเมตรต่อน้ำมันเบนซิล 2 ลิตร คิดเปีนจำนวน 64 ครั้ง = 124 ลิตร ใช้น้ำมันดีเซล 100 ตารางเมตรต่อน้ำมัน 6 ลิตร คิดเป็นจำนวน 64 ครั้ง = 384 ลิตร - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซิน 124 ลิตร x ลิตรละ 36  บาท เป็นเงิน 4,464  บาท - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล 384 ลิตร x ลิตรละ 35 บาท เป็นเงิน 13,440 บาท - ค่าตอบแทนในการพ่นหมอกควันจำนวน 1 คน 300 บาท x 10 ครั้ง เป็นเงิน 3,000  บาท     หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายถั่วเฉลี่ย

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อสม.และทีมควบคุมโรคสามารถพ่นหมอกควันได้ทันท่วงที
  2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
  3. ประชาชนมีความรู้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก มีพฤติกรรมที่ดีในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน ชุมชน หมู่บ้าน โดยประชาชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23904.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,904.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.และทีมควบคุมโรคสามารถพ่นหมอกควันได้ทันท่วงที
2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ20 จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
3. ประชาชนมีความรู้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก มีพฤติกรรมที่ดีในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน ชุมชน หมู่บ้าน โดยประชาชน


>