กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

๑. นางหัสดีช่วยราชการ ๒. นางพัชนาช่วยชุมชาติ ๓. นางพรทิพย์หนูวุ่น ๔. นางปิยภรณ์ชูทอง ๕. นางสาวอัมรา ปานป้อง

๑. นางหัสดีช่วยราชการ
๒. นางพัชนาช่วยชุมชาติ
๓. นางพรทิพย์หนูวุ่น
๔. นางปิยภรณ์ชูทอง
๕. นางสาวอัมรา ปานป้อง

หมู่ที่ 12 บ้านนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยชมรมคนรักสุขภาพ หมู่ที่ 12 (บ้านนา) ได้เล็งเห็นความสำคัญการดูแลสุขภาพป้องกันปัญหาซึ่งเกิดจากพฤติกรรม ซึ่งเป็นที่มาของการเกิดโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคมะเร็ง เป็นต้น
การค้นหาและการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุต่างๆ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเป็นภารกิจในการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มุ่งเน้นให้ประขาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถดูแลตนเองทางด้านสุขภาพได้มากขึ้น โดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพและถือว่าสุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน สำหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆ ได้แก่ วัยทำงาน วัยทอง และวัยสูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด ทั้งนี้จากการสำรวจและคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงพบว่าประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแลรักษาโรคมากกว่าร้อยละ 50
ซึ่งนโยบายระดับชาติเพื่อควบคุมโรคเหล่านี้ คือ การคันหา การตรวจคัดกรองสุขภาพของประชาชน และการควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนยังไม่ตระหนักถึงการดูแลและตรวจสุขภาพเพราะคิดว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีอาการของโรคและจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า การตรวจคันหาคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังต่าง ๆ ของสถานบริการสาธารณสุขในชุมชน ประชาชนยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือหรือไม่เห็นความสำคัญ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดเป้าหมายไว้ คือ ร้อยละ 80 ของประชาชนอายุ 25 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง แก่ประชาชนอายุ 25 ปีขึ้นไป โดยชุมชนและแกนนำสุขภาพในชุมชน
  1. ร้อยละ 90 ของประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
0.00
2 2 เพื่อให้ประชาชนอายุ 25 ปีขึ้นไป มีความรู้ เกิดความตระหนักและมีบทบาทในการจัดการการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน
  1. ประชาชนอายุ 25 ปีขึ้นไป มีความรู้ เกิดความตระหนักและมีบทบาทในการจัดการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน
0.00
3 3 เพื่อให้ผู้ที่เริ่มมีภาวะเสี่ยง ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม
  1. ผู้ที่เริ่มมีภาวะเสี่ยง ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม
0.00
4 4 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อให้แพทย์วินิจฉัย รับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง เหมาะสม
  1. ผู้ที่รับการประเมินผลการตรวจคัดกรองและมีผลอยู่ในภาวะเสี่ยง สูงทุกคนได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่อง อาหาร การออกกำลังกายและวิธีการตรวจคัดกรองโดยการฝึกใช้เครื่องวัดความดันพร้อมการอ่านค่าที่ถูกต้องและสามารถประเมินความเสี่ยงจากการอ่านค่าได้ถูกต้อง เหมาะสม 2.กิจกรรมออกให้บริการตรวจคัดกรองในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่อง อาหาร การออกกำลังกายและวิธีการตรวจคัดกรองโดยการฝึกใช้เครื่องวัดความดันพร้อมการอ่านค่าที่ถูกต้องและสามารถประเมินความเสี่ยงจากการอ่านค่าได้ถูกต้อง เหมาะสม 2.กิจกรรมออกให้บริการตรวจคัดกรองในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 45 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 45 คน เป็นเงิน 1,125 บาท
  • ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 4 ช.ม. เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม (แฟ้ม,สมุด,ปากกา ฯลฯ) ชุดละ 30 บาท จำนวน 45 ชุด เป็นเงิน 1,350 บาท รวมเป็นเงิน 8,175 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 45 คน เป็นเงิน 1,125 บาท สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มารับการตรวจคัดกรองและอสม.ผู้ให้บริการ
    รวมเป็นเงิน 1,125 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ที่รับการประเมินผลการตรวจคัดกรองและมีผลอยู่ในภาวะเสี่ยงสูงทุกคนได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง


>