2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าในปี 2566 จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีอยู่ราว 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมดกล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือ เมื่อประเทศใดมีประชากร อายุ 60ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 10 หรือ ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (AgingSociety) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบรูณ์ (Aged Society)ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2557 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบรูณ์ในปี 2567 หรืออีก 9 ปีข้างหน้า เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง หรือภาวะโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคมรวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกายอวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอ และเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลงรวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และสังคม โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลตูหยง ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพผู้สูงอายุรวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุตำบลปากบางสุขภาพดี ชีวีมีสุขขึ้นและจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุโดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ
ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตูหยง ในปีงบประมาณ 2566 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 409 คน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตูหยงได้ประเมินและสำรวจแบบคัดกรองผู้สูงอายุ จำนวน 409 คน พบผู้สูงอายุติดสังคม 385 คน คิดเป็นร้อยละ 94.13 ผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 5.62 ติดบ้าน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.24
ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพกาย เช่นการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ อุบัติเหตุ โรคข้อเสื่อม ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหลอดเลือดในสมอง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่เรื่องออกกำลังกาย อาหาร
อารมณ์ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยง่าย การเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตในผู้สูงอายุอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความเศร้าใจกังวลใจน้อยใจเสียใจและการอยู่ร่วมในสังคมของผู้สูงอายุบุตรหลานมักปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยวขาดความยอมรับและความเชื่อถือด้านการพัฒนาสังคมเพื่อให้การดำเนินการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรมและเกิดการร่วมใจกัน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
2.เพื่อให้ผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์ผู้สูงอายุที่พึงประสงค์ ร้อยละ 80
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2023
กำหนดเสร็จ 30/09/2023
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.เพื่อจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในชมรมผู้สูงอายุ 2.ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงได้รับการติดตามการเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 100