กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยฟันสวย ยิ้มใสใส่ใจฟันดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสิริธร

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสิริธร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
สุขภาพช่องปากมีความสำคัญยิ่งต่อประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย มักพบปัญหาทางด้านทันตสุขภาพเสมอ และปัญหาที่พบมาก คือ โรคฟันผุ ซึ่งสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก ทั้งนี้ อัตราการเกิดโรคฟันผุมักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี ก่อให้เกิดโรคฟันน้ำนมผุอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ส่งผลต่อน้ำหนักตัว การเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของเด็ก ทำให้เด็กเป็นโรคขาดอาหารได้
นอกจากนี้การเกิดฟันน้ำนมผุ ยังมีผลเสียตอฟันแท้ของเด็กในอนาคตอีกด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่ถูกถอนหรือหลุดไปก่อนเวลาที่เหมาะสม จะทำให้ฟันล้มเอียงเข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิดหมุน ซ้อนเก ซึ่งจะส่งผลต่อความสวยงามเกิดเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก นอกจากนั้นยังพบว่าเด็กส่วนใหญ่ มีการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม อาจเนื่องมาจากผู้ปกครองยังขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพ ตลอดจนยังมีทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของเด็กบางเรื่องยังไม่ถูกต้อง และทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ยังไม่มีสถานที่แปรงฟันจึงทำให้กิจกรรมการแปรงฟันหลังการรับประทานอาหารกลางวันไม่ต่อเนื่อง ขาดอุปกรณ์ในการแปรงฟัน ไม่มีที่เก็บอุปกรณ์การ แปรงฟัน
การแก้ปัญหาทันตสุขภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และได้รับความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย ดังนั่น ข้าพเจ้าจึงคิดจัดทำโครงการ “หนูน้อยสุขภาพฟันดี” ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการส่งเสริมทันตสุขภาพแก่เด็กนักเรียน โดยการมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง อันส่งผลต่อสุขภาพและสุขภาพช่องปากที่ดีของนักเรียนต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กนักเรียนมีอุปกรณ์การแปรงฟัน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีที่เก็บอุปกรณ์การแปรงฟัน

 

0.00
2 2. เพื่อใช้ในกิจกรรมการแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
3 3. เพื่อให้เด็กนักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน

 

0.00
4 4. เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้เด็ก ครู บุคลากร และผู้ปกครองมีความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับทันตสุขภาพและการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง และเด็กสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 58
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 68 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน1,700.-บาท
-ค่าอุปกรณ์จัดบอร์ดเรื่องการแปรงฟัน และการดูแลสุขภาพช่องปาก เป็นเงิน1,242.- บาท -ค่าแปรงสีฟัน จำนวน 58 ด้ามๆละ 30 บาท เป็นเงิน1,740.- บาท -ค่าแก้วน้ำ จำนวน 58 ใบๆละ 25 บาท เป็นเงิน1,450.- บาท -ผ้าเช็ดมือ จำนวน 58 ผืนๆละ 15 บาทเป็นเงิน870.- บาท -ผ้าเช็ดหน้า จำนวน 58 ผืนๆละ 25 บาทเป็นเงิน1,450.- บาท -ยาสีฟัน จำนวน 58 หลอดๆละ 34 บาทเป็นเงิน1,972.- บาท -ค่าอุปกรณ์ที่จัดเก็บแปรงสีฟัน จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน1,200.- บาท -โมเดลฟันเพื่อสาธิตการแปรงฟัน จำนวน 2 ชุดเป็นเงิน 3,000.- บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน เวลา 3 ชั่วโมงเป็นเงิน 1,800.- บาท - ค่าป้ายโครงการ“หนูน้อยสุขภาพฟันดี”ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร เป็นเงิน 576.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กมากขึ้น และมีการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กมากขึ้น
2. นักเรียนมีอุปกรณ์การแปรงฟันและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมี่ที่เก็บอุปกรณ์การแปรงฟัน
3. เด็กนักเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี
4. นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสิรินธร มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น


>