กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการครอบครัวอบอุ่น วัยรุ่นวัยใส เข้าใจเรื่องเพศเรียนรู้ป้องกันเอดส์ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลยะหา

1. นางรอคายะ แก้วเกาะสบ้า
2.นางฮาบีเบาะ มะมิง
3. นางรอหมะดูซง
4. นางแวนะ ซือรี
5. นางคอรีเยาะแดวอสนุง

เขตตำบลยะหา หมู่ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 เเละ9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี

 

50.00

ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหา “วัยรุ่นหญิง”ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร “เพิ่มสูงขึ้น” และอัตราการตั้งครรภ์ของหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี จากเป้าหมายของประเทศไม่เกินร้อยละ 10 จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งในจำนวนนี้ ร้อยละ 80 เป็นการตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจ ซึ่งนำไปสู่การทำแท้งสูงถึงร้อยละ 30 ซึ่งปัจจุบันนี้วัยรุ่นมีอัตราการมีเพศสัมพันธ์สูงมาก แต่มีการคุมกำเนิดน้อย เมื่อรู้ว่าท้อง เด็กหลายคนเครียดถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย อยากทำแท้ง เพื่อหนีปัญหา ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ส่วนหนึ่งของปัญหามาจากการเปิดกว้างอย่างไร้การควบคุมของการสื่อสารและเทคโนโลยี ทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อต่างๆได้อย่างไม่จำกัด รวมทั้งผู้ปกครองเอง ไม่มีเวลาดูแลหรือขาดความสามารถในการดูแลเนื่องจากไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีรวมทั้งขนบธรรมเนียม ของท้องถิ่นเองที่มองเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอาย ทำให้ครอบครัวไม่สามารถให้การดูแลให้คำปรึกษาได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้น
ทั้งนี้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลยะหา องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ “โครงการครอบครัวอบอุ่น วัยรุ่นวัยใส เข้าใจเรื่องเพศ เรียนรู้ป้องกันเอดส์ ประจำปี 2566” ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบถึงปัญหาและผลกระทบของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

-ร้อยละ 80 ของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์
-ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องเพศศึกษา

50.00 0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ปกครอง แกนนำในหมู่บ้าน ได้เข้าใจปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น และร่วมกันหาแนวทางป้องกันและแก้ไขอย่างเข้าใจ

-ร้อยละ 80 ของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์
-ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องเพศศึกษา

0.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มเด็กและวัยรุ่นได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

-ร้อยละ 80 ของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์
-ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องเพศศึกษ

0.00
4 3. เพื่อให้กลุ่มเด็กและวัยรุ่นได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

-ร้อยละ 80 ของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์
-ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องเพศศึกษ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ - ให้ความรู้เรื่อง ปัญหาและผลกระทบของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร - ให้ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และวิธีการคุมกำเนิด - แบ่งกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้กรอบแนวคิด “วัยรุ่น” ครอบครัว ชุมชน ช่วยแก้ไขปัญหาท้องก่อน

ชื่อกิจกรรม
1. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ - ให้ความรู้เรื่อง ปัญหาและผลกระทบของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร - ให้ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และวิธีการคุมกำเนิด - แบ่งกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้กรอบแนวคิด “วัยรุ่น” ครอบครัว ชุมชน ช่วยแก้ไขปัญหาท้องก่อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

- ให้ความรู้เรื่อง ปัญหาและผลกระทบของการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร - ให้ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และวิธีการคุมกำเนิด - แบ่งกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้กรอบแนวคิด “วัยรุ่น” ครอบครัว ชุมชน ช่วยแก้ไขปัญหาท้องก่อนวัยอันควรได้อย่างไร (1)ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท (2) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50บาทเป็นเงิน2,000 บาท (3) ค่าวัสดุ (สมุด ปากกา กระดาษ ปากกา ปากกาเคมี แฟ้มเอกสาร ) 40ชุด× 40บาทเป็นเงิน 1,600 บาท (4) ค่าป้ายไวนิล 1 ป้าย × 3 เมตร เป็นเงิน 800 บาท (4) ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน × 300 บาท ×6 ชม.× 1วันเป็นเงิน1,800 บาท 2.อบรให้ความความรู้ในแกนนำผู้ปกครองและ อสม. - สัมพันธภาพที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับครอบครัว (1)ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท (2) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50บาทเป็นเงิน2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อัตราการตั้งครรภ์ในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่เกินร้อยละ 10 (เปรียบเทียบกับข้อมูลการฝากครรภ์ที่หน่วยบริการศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองยะหา)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราการตั้งครรภ์ในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่เกินร้อยละ 10 (เปรียบเทียบกับข้อมูลการฝากครรภ์ที่หน่วยบริการศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองยะหา)


>