กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุตำบลแพรกหา ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกหา

ชมรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลแพรกหา

กลุ่มหรือองค์กรประชาชนตั้งแต่ 5 คน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแพรกหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ประเทศไทยพบผู้ป่วยมากกว่า 6 ล้านคน ผู้สูงอายุที่อ่ยุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป พบได้ถึงร้อยละ 50 อัตราความชุกของโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุในประเทศไทย พบปัญหาปวดข้อเข่าเสื่อมเป็นอันดับ 1 ผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดข้อ ปวดตึง กล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่า บางครั้งมีอาการบวมแดงร่วมด้วย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากน้ำหนักตัวที่มาก การใช้ข้อเช่ามาก อาจใช้นานกว่าปกติหรือผิดท่า ผู้ที่มีภาวะข้่อเข่าเสื่อมมากๆ จะมีอาการเจ็บหรือปวด ข้อเข่าผิดรูป ข้อผิด หรือข้อติด เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติภารกิจประจำวันต่างๆ ทำได้ไม่สะดวก ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้า่นร่างกายและจิตใจ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง เป็นอุปสรรคในการเข้าสังคม ทำให้สูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมากและส่งผลต่อร่างกายจากการใช้ยาแก้ปวดหรือวิธีการจัดการอาการปวดที่ไม่เหมาะสม ความเจ็บปวดส่งผลให้ผู้สูงอายุ ต้องหาวิธีการที่จะจัดการกับอาการโดยการซื้อยากินเองถึงร้อยละ 3.9 ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจมีอาการปวดท้อง และเลือดออกได้ อาการปวดข้อเข่าสามารถที่จะบรรเทาได้โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด เช่น การพอกสมุนไพร การบริหารแบบไทยด้วยท่าฤาษีดัดตน ที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของข้อเข่าได้
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลแพรกหา จึงได้จัดทำโครงการดูแลโรคข้่อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุตำบลแพรกหา ปี 2566 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแบลตนเองของโรคข้อเข่าเสื่อม กายบริหาร การส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อลดอาการปวดเข่า โดยการพอกเข่าสมุนไพร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมนำความรู้ที่ได้ปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ สาเหตุ อาการ และการดูแลสุขภาพของโรคข้อเข่าเสื่อม

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีอาการปวดเข่าลดน้อยลง

ร้อยละ 70 ผู้เข้าร่วมอบรมมีอาการปวดเข่าลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 240
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคข้อเข่าเสื่อมและวิธีการดูแลตนเองแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 240 คน หมู่ละ 30 คน (8 หมู่บ้าน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคข้อเข่าเสื่อมและวิธีการดูแลตนเองแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 240 คน หมู่ละ 30 คน (8 หมู่บ้าน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 240 คน ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 6,000  บาท -คู่มือเอกสารประกอบความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและวิธีการดูแลตนเอง จำนวน 240 คน ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท -หัวไพลสด จำนวน 60 กิโลกรัมๆละ 70 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท -หัวขิงสด จำนวน 20กิโลกรัมๆละ 70 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท -หัวข่าสด จำนวน 20กิโลกรัมๆละ 70 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท -แป้งข้าวเจ้า จำนวน 60 กิโลกรัมๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท -เมนทอล จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 1,400 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท -พิมเสน จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 1,100 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท -การบูร จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลตนเอง
2.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความสามารถในการป้องกัน อาการปวดข้อเข่า และปวดเมื่อยจากการทำงาน
3.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ มีอาการปวดเข่าลดลงจากเดิม


>