กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สายใยครอบครัวล้อมรั้วรักก่อนวัย ปีงบประมาณ 2566 สสอ.ตะโหมด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตะโหมด

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เนื่องจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากร ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จากการรายงานขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ประมาณ 16 ล้านคนในวัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปีและ 2.5 ล้านคนในวัยรุ่นหญิงที่อายุต่ำกว่า 16 ปี มีการตั้งครรภ์คลอดในแต่ละปีในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งในประเด็นความตั้งใจที่จะตั้งครรภ์หรือไม่นั้น จากผลการสำรวจ 80 ประเทศทั่วโลก พบว่ามีหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น 208 ล้านคน ประมาณร้อยละ 41 เป็นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบไม่ตั้งใจ (unintended teenage pregnancy) ถึงแม้ในภาพรวมจะพบว่าอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแบบไม่ตั้งใจลดลง ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาแต่หากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นความพลาดพลั้งหรือเป็นการตั้งครรภ์แบบไม่ตั้งใจก็มักจะหาทางออกด้วยการทำแท้งผิดกฎหมาย หรือหากดำรงครรภ์ต่อไป มารดาวัยรุ่นอาจต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน เนื่องจากเกิดภาวะบีบคั้นทางสังคม และอาจจะเป็นมารดาที่ต้องเลี้ยงลูกตามลำพังเนื่องจากฝ่ายชายปฏิเสธการรับผิดชอบและอาจตามมาด้วยปัญหาด้านสภาพจิตใจต่อไป
สภาพปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ ๒๕62 – ๒๕๖4 พบว่า อัตราคลอดมีชีพในหญิงอายุ 14 – 19 ปี คิดเป็น 19.72, 24.7, และ 20.40 ต่อประชากรหญิง 15 – 19 ปีพันคนตามลำดับ (ที่มา:โปรแกรม HDC ณ วันที่ 30 กันยายน 2564) โดยอำเภอตะโหมดพบว่าปีงบประมาณ 2562 – 2564 อัตราคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 – 19 ปี เท่ากับ 18.69, 20.94 และ 12.20 ต่อประชากรหญิง 15-19 ปี พันคนตามลำดับ ปีงบประมาณ 2562 – 2564 ร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี เท่ากับ 23.30, 32.00 และ 27.00 ตามลำดับ จากสถานการณ์ดังกล่าวปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ ดังนั้นการป้องกันปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น จึงเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับวัยรุ่นในอนาคตสำนักงานสาธารณสุขอำเภอตะโหมด จึงจัดโครงการสายใยครอบครัวล้อมรั้วรักก่อนวัยเทศบาลตำบลตะโหมดปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์และเพศศึกษาให้วัยรุ่นมีภูมิคุ้มกันและทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องเพศและส่งเสริมความรักความผูกพันในครอบครัว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้วัยรุ่นได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักวิธีปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
  1. กลุ่มเป้าหมายมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จักวิธีปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยและป้องกันโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอชไอวี (HIV) ซิฟิลิส เป็นต้น ฯลฯ

 

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อส่งเสริมความรักความผูกพันธ์ในครอบครัว

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1 รุ่น รุ่นละ 100 คน (นักเรียน ม.3 และ ม.4 โรงเรียนมุสลิมวิทยาและ อสม.ในเขตเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง)

ชื่อกิจกรรม
1.จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1 รุ่น รุ่นละ 100 คน (นักเรียน ม.3 และ ม.4 โรงเรียนมุสลิมวิทยาและ อสม.ในเขตเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม คณะวิทยากร และผู้จัดการอบรม  จำนวน 1 มื้อๆละ  60 บาท  จำนวน  115 คน   เป็นเงิน  6,900 บาท
2.ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้ารับการอบรม คณะวิทยากรและผู้จัดการอบรม  จำนวน  2  มื้อ ๆ ละ   25   บาท จำนวน  115 คน   เป็นเงิน 5,750 บาท
3.ค่าวัสดุในการอบรม          เป็นเงิน 2,000 บาท 4.ค่าป้ายไวนิลโครงการ  จำนวน  1  ผืน(ขนาด 1.2X 2.4 ม.)                เป็นเงิน   576  บาท 5.ค่าสมนาคุณวิทยากร  ชั่วโมงละ 300 บาท X 6 ชั่วโมง X 5 คน                  เป็นเงิน  9,000 บาท
รวมเป็นเงิน  24,226  บาท(สองหมื่นสี่พันสองร้อยยี่สิบหกบาทถ้วน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24226.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,226.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.วัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และมีทักษะการ
ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น
2.อัตราการตั้งครรภ์และตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีลดลง
3.ผู้ปกครองและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถให้คำปรึกษาและให้การช่วยเหลือปัญหาเรื่องเพศแก่วัยรุ่นในชุมชนได้ในเบื้องต้น


>