กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

รพ.สต.ร่มเกล้าพยาบาล

1…………นายณัฐภณเดชพงษ์โชติ……………………
2…………นางสาวกมลทิพย์หลีเจริญ………………
3…………นางสุภนิดานิลบุตร………………………..
4…………นางสาวพรสุดาเดชพงษ์โชติ…………….
5…………นางพัสดาใจแก้ว……………………………

หมู่ 8 ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจประชากรในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่มเกล้าพยาบาลในปี๒๕65 พบว่ามีประชากรอายุมากกว่า ๓๕ ปี เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังจำนวน 2 ราย จากจำนวนประชากรอายุ ๓๕ ปี ทั้งหมด 155 คน ร้อยละ 1.29 และพบว่าในประชากรที่เป็นโรคเรื้อรังอยู่แล้วไม่สามารถควบคุมโรคให้อยู่ในระดับปกติได้ จำนวน4 คน ร้อยละ 2.58
จากปัญหาดังกล่าวที่พบในข้างต้นพบว่าหากปล่อยให้ภาวะโรคเรื้อรังคุกคามประชากรอยู่สิ่งที่จะตามมาคือโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases; CVDs) ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (peripheral arterial disease) เป็นโรคของความผิดปกติ ของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงแขนและขา ส่งผลให้เกิดแผลตามปลายมือปลายเท้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อค้นหากลุ่มป่วยรายใหม่ส่งต่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานความดันทุกราย

0.00
2 เพื่อลดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังในผู้ป่วยรายใหม่

กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่และให้ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังสามารถควบคุมโรคให้อยู่ในระดับปกติได้

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยดูจากผลดัชนีมวลกาย และน้ำหนักตัวที่ลดลง ร้อยละ 10

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 นัดกลุ่มเป้าหมาย เจาะปลายนิ้วหลังงดน้ำ งดอาหาร เพื่อแยกกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และ กลุ่มป่วยที่ควบคุมโรคได้ และควบคุมโรคไม่ได้

ชื่อกิจกรรม
นัดกลุ่มเป้าหมาย เจาะปลายนิ้วหลังงดน้ำ งดอาหาร เพื่อแยกกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และ กลุ่มป่วยที่ควบคุมโรคได้ และควบคุมโรคไม่ได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป 1.1 กิจกรรมย่อย มีการชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดรอบสะโพก ผู้เข้าร่วมคัดกรองทุกราย
1.2 กิจกรรมย่อย เจาะตรวจค่าน้ำตาลปลายนิ้วและแจ้งผลการตรวจให้แต่ละรายทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 เมษายน 2566 ถึง 21 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 2 นำกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยจำนวน 30 คนเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
นำกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยจำนวน 30 คนเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกำลังกาย นัดกลุ่มเป้าหมายชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอวรอบสะโพก วัดความดันโลหิต และเจาะระดับน้ำตาล ก่อนทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นัดกลุ่มเป้าหมายเดือนละครั้งเพื่อติดตามผลดัชนีมวลกาย BMI บันทึกผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยดูจากผลดัชนีมวลกาย และน้ำหนักตัวที่ลดลง ร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3150.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผลกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นัดกลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งชี้แจงผลการปฏิบัติงานและผู้ที่มีดัชนีมวลกาย BMI ลดลง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยดูจากผลดัชนีมวลกาย และน้ำหนักตัวที่ลดลง ร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาทันทีร้อยละ ๑๐๐
๒.ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นจากฐานข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่เกินร้อยละ ๕
๓.กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้โดยดูจากดัชนีมวลกายและน้ำหนักตัวที่ลดลงร้อยละ ๑๐


>