กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตำบลแพรกหา ประจำปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตำบลแพรกหา ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลแพรกหา

พื้นที่ตำบลแพรกหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานคุ้มครองผู้บริโภค มีความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยรวมเพราะทุกคนล้วนเป็นผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญปี 2560 ได้ให้ความสำคัญกับผู็บริโภค โดยมาตรา 46 ได้บัญญัติว่าสิทธิผู้บริโภค ย่อมได้รับความคุ้มครองบุคคลย่อมมีสิทธิรวมกัน จัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ในส่วนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพมีกฎหมายที่ให้หน่วยงานหลายนฝ่ายที่ดำเนินการเพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภค ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพที่ปลอดภัย ไม่ให้มีอันตรายหรือถูกเอาเปรียบจากผู้ผลิตหรือจำหน่ายและให้มีกลไกเฝ้าระวังอันตรายจากผลิตภัณฑ์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
ตำบลแพรกหามีความร่วมมือของเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งแกนนำภาคประชาชน ประชาสังคมร่วมกับเทศบาลตำบลแพรกหา รพ.สต.บ้านแพรกหา โรงเรียนและภาคเครื่อข่ายอื่นๆ ร่วมขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานต่างๆ และสังคมทั่วไป ในปี พ.ศ.2561 ได้มีการจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพในชุมชน โดยมี อสม.ผ่านการอบรม เป็น อสม. นักวิทย์จำนวน 5 คน และในปี พ.ศ2566 มีการประสานความร่วมมือกัน เพื่อการพัฒนาศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพในชุมชน โดยจะมีการอบรม อสม. ทุกคน ให้มีความรู้และผ่านการทดสอบ อสม.นักวิทย์ เพื่อขับเคลื่อนงาคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ให้เป็นพื้นที่ตำบลคุ้มครองผู้บริโภคเข้มข้น เพื่อสร้างความปลอดภัยให้ผู้บริโภคในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลแพรกหา

มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80  มี อสม. นักวิทย์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20

0.00
2 เพื่อไม่ให้ประชาชนในตำบลแพรกหาได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์ที่มีการควบคุม

ไม่มีผู้ได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพตำบลแพรกหา

0.00
3 เพื่อคุ้มครองประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่มีอันตราย จากการรับบริการสถานประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

-ไม่พบตัวอย่างที่ไม่ปลอดภัยจาการสุ่มตัวอย่างตรวจ -ไม่มีเหตุร้องเรียนจากผู้บริโภคที่รับบริการสถานประกอบการในตำบลแพรกหา

0.00
4 เพื่อพัฒนากลไกผู้บริโภคตำบลแพรกหาให้มีความเข้มแข็ง

-กลไกคุ้มครอง มีการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพในชุมชน จัดอบรม อสม.ให้เป็น อสม.นักวิทย์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาศูนย์แจ้งเตือนภัยสุขภาพในชุมชน จัดอบรม อสม.ให้เป็น อสม.นักวิทย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 134 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 6,700 บาท -ค่าอาหารว่าง จำนวน 134 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 6,700 บาท -ค่าป้ายไวนิลโครงการ  จำนวน 1 ป้าย (ขนาด 1 เมตร x 3 เมตร) ป้ายละ 540 บาท เป็นเงิน 540 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการตรวจร้านค้า ร้านขายของชำ ร้านขายอาหารสด ร้านอาหาร/แผงลอย ตลาดนัด และตู้น้ำหยอดเหรียญ

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินการตรวจร้านค้า ร้านขายของชำ ร้านขายอาหารสด ร้านอาหาร/แผงลอย ตลาดนัด และตู้น้ำหยอดเหรียญ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอุปกรณ์ชุดทดสอบ 1.ชุดทดสอบยาฆ่าแมลงในอาหาร (TV-kit) 20 ตัวอย่าง 1 กล่อง  กล่องละ 1,926 บาท เป็นเงิน 1,926 บาท 2.ชุดทดสอบสารบอแรกซ์ในอาหารและสารเคมี (ผงกรอบ) จำนวน 50 ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่องๆละ 214 บาท เป็นเงิน 214 บาท 3.ชุดทดสอบโซเดียมดฮโดรซัลไฟต์ในอาหาร (สารฟอกขาว) 100 ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่องๆละ 185 บาท เป็นเงิน 185 บาท 4.อาหารตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรีย เฉพาะน้ำยาไม่มีอุปกรณ์ 20 ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่องๆละ 1,284 บาท เป็นเงิน 1,284 บาท 5.ชุดทดสอบโพล่าในน้ำมันทอดซ้ำ 25 ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่องๆละ 900 บาท เป็นเงิน 900 บาท 6.ชุดทดสอบสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ กล่องละ 20 กล่อง จำนวน 1 กล่องๆละๆ 2,800 บาท 7.ชุดทดสอบปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภค 80 ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่องๆละ 128 บาท เป็นเงิน 128 บาท 8.ชุดทดสอบดฮโดรควิโนน 20ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่องๆละ 480 บาท เป็นเงิน 480 บาท 9.ชุดทดสอบสารปรอทแอมโมเนียในเครื่องสำอาง 10 ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่องๆละ 480 บาท เป็นเงิน 480 บาท 10.กระดาษโคลีนเอสเตอเรส 100 ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่องๆละ 842 บาท เป็นเงิน 842 บาท 11.ชุดทดสอบความกระด้างของน้ำ 30 ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่องๆละ 535 บาท เป็นเงิน 535 บาท 12.ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิคในอาหาร (สารกันรา) 50 ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่องๆละ 240 บาท เป็นเงิน 240 บาท 13.ชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดง 20 ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่องๆละ 1,284 บาท เป็นเงิน 1,284 บาท 14.ชุดทดสอบฟอร์มมาลีน 10 ตัวอย่าง จำนวน 1 กล่องๆละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท 15.ค่าป้ายร้านอาหารปลอดภัย ไม่มีสารโพล่าในน้ำมันทอดซ้ำ (ขนาด 21 ซม.x30ซม.) จำนวน 20 ป้ายๆละ 140 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28538.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,538.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยปราศจากสารเคมีและ สิ่งปนเปื้อน
2.ไม่พบอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นอันตรานในร้านขายของชำและตลาดในเขตพื้นที่ตำบลแพรกหา
3.อสม.ทุกพื้นที่ได้รับการอบรม เป็น อสม. นักวิทย์
4.ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง อันจะส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรง และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ


>