กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองแรต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝากครรภ์คุณภาพ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ต่อเนื่อง งบปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองแรต

รพ.สต.หนองแรต

ตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัด ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด

 

30.00
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการในขณะที่ตั้งครรภ์

 

50.00
3 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

 

50.00

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ครั้งแรกการตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยาการเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับ การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้น ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่พบในทุกภูมิภาคของประเทศโดยเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเป็นสาเหตุการตายของมารดาและทารกที่พบบ่อย จากการศึกษาพบว่าสาเหตุการตายของดามีความสัมพันธ์กับการมีภาวะโลหิตจางร่วมด้วยถึงร้อยละ ๔๐ (ธีระ ทองสงและชเนนทร์ วนาภิรักษ์ : ๒๕๓๕ ) ซึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะส่งผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์โดยในช่วงแรกทำให้อัตตราการตายของมารดาและทารกระหว่างการคลอดสูง การตั้งครรภ์จะทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและทารกแรกเกิดคลอดน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้เด็กที่เกิดมามีพัฒนาการทางสมองลงลง เกิดผลเสียต่อการเรียนรู้ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์นั้นเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด อุบัติการณ์พบได้สูงถึงร้อยละ ๓๐ ในบางพื้นที่ (WHO 1989) จากการรายงานพบว่าปี ๒๕63 , 2564, 2565 พบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในตำบลหนองแรต คิดเป็นร้อยละ 11.5 , 12.5 , 33.0 ตามลำดับ ซึ่งพบว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่าไม่เกินร้อยละ ๑๐

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์จากการตรวจเลือดครั้งที่ 2 ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

หญิงตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการตรวจเลือดครั้งที่ 2 ร้อยละ 100

60.00 100.00
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการในขณะที่ตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์มีความรู้เพิ่มขึ้น

50.00 80.00
3 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด

30.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงทีมงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงทีมงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 เตรียมบุคคล (ประชุมเจ้าหน้าที่ประจำ รพสต.หนองแรตร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อชี้แจงโครงการวางแผนดำเนินการ ค้นหาและสำรวจ กลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่รับผิดชอบ)
1.2 จัดตั้งแกนนำ ทีม ANC เคลื่อนที่ สำรวจข้อมูลหญิงมีครรภ์ ณ ปัจจุบันเพื่อวางแผนการให้ความรู้ 1.3 ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างความสนใจ และนัดหมายเข้าร่วมกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รูปแบบการดำเนินงาน เกิดทีมงาน MCH ในตำบล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะที่ตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะซีด

ชื่อกิจกรรม
การให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะที่ตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะซีด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงหญิงตั้งครรภ์ทุกราย
  2. ซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 3 เดือน แนะนำให้ทานกรดโฟลิกก่อน
  3. เจาะเลือดในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มาฝากครรภ์ก่อนและหลังร่วมโครงการเจาะHct
  4. ดำเนินการสอนตามแผนโรงเรียนการ สอน พ่อ-แม่ 1 ครั้ง สอนครั้งที่ 1 ตั้งแต่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์-28 สัปดาห์
  5. ในรายที่ผลเลือด - HCT < กว่า 36 % ให้ยาเสริมธาตุเหล็ก 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง พร้อมสมุดบันทึกการกินยาและอาหารแต่ละมื้อ โดยให้สามีหรือญาติเป็นผู้บันทึก - HCT < กว่า 33 % ให้ยาเสริมธาตุเหล็ก 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง พร้อมสมุดบันทึกการกินยาและอาหารแต่ละมื้อ โดยให้สามีหรือญาติเป็นผู้บันทึก
  6. อบรมให้ความรู้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางพร้อมสาธิตเมนูอาหารเสริมธาตุเหล็กแก่กลุ่มหญิงมีครรภ์พร้อมสามี ทีม ANC เคลื่อนที่และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน


- งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 50 คน ๆ ละ 50 บาท/มื้อ เป็นเงิน2,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อๆละ25บาท เป็นเงิน 1,250 บาท 3. ค่าไวนิล ขนาด 3 เมตรๆละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์และปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ได้เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัสดุในการส่งเสริมโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะโลหิตจาง มีดังนี้ 1. นมผงพร่องมันเนยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ คนละ 300 บาท/เดือน ๆ ละ 5 คน จำนวน 3 เดือนเป็นเงิน 4,500 บาท 2. ค่าเมนูอาหารสำหรับสาธิตอาหารแก่ผู้เข้ารับการอบรม เป็นเงิน 2,500 บาท 3. ส่งเสริมการปลูกผักริมรั้วกินเอง พร้อมแจกเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการตรวจภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการตรวจภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.นัดหญิงตั้งครรภ์มาตรวจ เจาะเลือดดูผล HCT
2. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงหญิงตั้งครรภ์ทุกราย
3. ติดตามการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างหญิงตั้งครรภ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 1 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อตกลงร่ามกันในการป้องกันการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์และได้คลอดในโรงพยาบาล
2 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ ทราบอันตรายต่อแม่และบุตรได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
3 หญิงมีครรภ์มีการตื่นตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองไปในทางที่ถูกต้อง
4 ผลการตรวจเลือดของหญิงตั้งครรภ์อยู่ในช่วงปกติ
5. เกิดข้อตกลงของกลุ่มในการป้องกันการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์


>