กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการเหตุผล
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายสนับสนุนการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกให้เป็นที่รู้จักเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย และใช้บริการอย่างแพร่หลายมากขึ้น ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข โดยการพัฒนาระบบงานบริการงานแพทย์แผนไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการให้บริการสำหรับประชาชนทั่วไป โดยมีการให้บริการแพทย์แผนไทยพร้อมทั้งเพิ่มความหลากหลายในการให้บริการการแพทย์แผนไทยมากขึ้น
เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย อาทิ เบาหวานขึ้นตา โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง และการสูญเสียเท้าจากแผลเบาหวาน หากได้รับการดูแลไม่ถูกต้อง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง เนื่องจากเมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เมื่อเวลาผ่านไปเบาหวานสามารถก่อให้เกิดพยาธิสภาพของหลอดเลือด และเส้นประสาท ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณเท้าได้ไม่ดี เส้นประสาทรับความรู้สึกมีความผิดปกติ ทำให้เกิดอาการชาและการับรู้ที่เท้าเสียไป เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย หากได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสมอาจเกิดการลุกลามของแผลจนต้องสูญเสียเท้าในที่สุด นับเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและภาวะเศรษฐกิจของผู้เป็นเบาหวานและครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติด้วย ผู้เป็นเบาหวานและครอบครัวได้รับความรู้ รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นไปตามเป้าหมายการรักษา ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ดังนั้นเพื่อสนับสนุนโยบายของรัฐบาลและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการในการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ จึงได้จัดทำโครงการการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อให้ประชาชนได้มีทางเลือกในการดูแลอาการชาปลายเท้าในผู้ป่วยเบาหวานมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงของผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานเข้าถึงการบริการทางการแพทย์แผนไทยมากขึ้น

 

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดมากขึ้น

 

0.00
3 3.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการชามือและเท้าลดลง

 

0.00

1.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานเข้าถึงการบริการทางการแพทย์แผนไทยมากขึ้น
2.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดมากขึ้น
3.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการชามือและเท้าลดลง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/07/2023

กำหนดเสร็จ 14/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรมวิทยากรและผู้จัดการอบรมฯ จำนวน 77 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท            เป็นเงิน 3,850 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรม วิทยากรและผู้จัดการอบรมฯ จำนวน 77 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท            เป็นเงิน 4,620 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร (ทฤษฎี+ปฏิบัติ) จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท          เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่ากะละมังแช่เท้า จำนวน 36 ใบๆละ 30 บาท      เป็นเงิน 1,080 บาท
  • ค่าผ้าขนหนู จำนวน 6 โหลๆละ 110 บาท            เป็นเงิน 660 บาท
  • ค่าตัวยาสมุนไพรแช่เท้า (สด)
    1.ขมิ้นชั้น จำนวน 2 กิโลกรัมๆละ 120 บาท    เป็นเงิน 240 บาท 2.มะกรูด จำนวน 2 กิโลกรัมๆละ 120 บาท        เป็นเงิน 240 บาท 3.ไพล จำนวน 2 กิโลกรัมๆละ 100 บาท      เป็นเงิน 200 บาท 4.การบูร จำนวน 2 กิโลกรัมๆละ 900 บาท        เป็นเงิน 1,800 บาท 5.เกลือ จำนวน 2 กิโลกรัมๆละ 40 บาท          เป็นเงิน 80 บาท 6.ตะไคร้ จำนวน 2 กิโลกรัมๆละ 40 บาท    เป็นเงิน 80 บาท                         รวมเป็นเงิน 2,640 บาท
  • ค่าตัวยาสมุนไพรแช่เท้า (แห้ง)
    1.ขมิ้น จำนวน 5 กิโลกรัมๆละ 150 บาท    เป็นเงิน 750 บาท 2.มะกรูด จำนวน 5 กิโลกรัมๆละ 150บาท    เป็นเงิน 750 บาท 3.ไพล จำนวน 5 กิโลกรัมๆละ 150 บาท      เป็นเงิน 750 บาท 4.ตะไคร้ จำนวน 5 กิโลกรัมๆละ 150 บาท        เป็นเงิน 750 บาท 5.เถาเอ็นอ่อน จำนวน 5 กิโลกรัมๆละ 150 บาท  เป็นเงิน 750 บาท 6.การบูร จำนวน 2 กิโลกรัมๆละ 800 บาท        เป็นเงิน 1,600 บาท รวมเป็นเงิน 5,350 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กรกฎาคม 2566 ถึง 14 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยเบาหวานเข้าถึงการบริการทางการแพทย์แผนไทยมากขึ้น
2.ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด
3.ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการชามือและเท้าลดลง


>