กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการห่วงใยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุตำบลกายูคละ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

ชมรมผู้สูงอายุตำบลกายูคละ

1.นายอับดุลฮามิ ดอเล๊าะ
2.นายอาแว เจ๊ะบือซา
3.นายลีเป็ง มูดอ
4.นายมหามุ อาแซ
5.นางอามีเนาะ เจ๊ะโก๊ะ

พื้นที่ในตำบลกายูคละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุความเสื่อมของร่างกายจะมีมากกว่าความเจริญ ทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายทั่วไป อ่อนแอและเกิดโรคง่าย

 

450.00

ในปัจจุบันผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากคนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อมีอายุมากขึ้น ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงไป ในวัยเด็กจะมีความเจริญมากกว่าความเสื่อม กล่าวคือร่างกายจะขยายขนาดทั้งความสูงและน้ำหนักตัว ส่วนผู้สูงอายุความเสื่อมของร่างกายจะมีมากกว่าความเจริญ ทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายทั่วไป อ่อนแอและเกิดโรคง่าย แต่อย่างไรก็ตามความเสื่อมหรือการเปลี่ยนแปลงจะแตกต่างกันในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ กรรมพันธุ์ วิถีการดำรงชีวิต อาหารการกิน สภาพเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และอายุมากกว่า 80 ปี มีดังนี้ ความเสื่อมของสติปัญญา สาเหตุสำคัญได้แก่ ภาวะสับสน สมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้า อาการซึมเศร้า เกิดได้ 5-10 % ของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย เช่น อัมพาต ผู้สูงอายุที่ไม่มีใครดูแล การแยกหาสาเหตุจำเพาะเป็นสิ่งสำคัญ แต่บางครั้งทำได้ยากเนื่องจากมักจะพบสาเหตุร่วมกันได้บ่อย ดังนั้นจึงต้องคอยสอดส่องและแก้ไขปัญหาทุกประการที่อาจเป็นสาเหตุพฤติกรรมที่อันตรายรวมทั้งผู้สูงอายุมีความจำกัดทางด้านร่างกายอยู่หลายประการ ทั้งเรื่องสุขภาพ สายตา การได้ยิน พละกำลัง เป็นต้น แต่ผู้สูงอายุก็สามารถมีสุขภาพแข็งแรงสมวัยได้
ชมรมผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับในทุกๆ ด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการห่วงใยใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตนเองได้ ช่วยทำให้การมีอายุยืนยาวมีความสุขทั้งทางกาย ใจ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้าน โภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ

ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้าน โภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ร้อยละ 100

450.00 1.00
2 เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุ มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ

ผู้สูงอายุ มีกำลังใจและทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพ ร้อยละ 100

450.00 1.00
3 เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ร้อยละ 80

450.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 540
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองความดัน,เบาหวาน และตรวจสุขภาพเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองความดัน,เบาหวาน และตรวจสุขภาพเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองความดัน,เบาหวาน และตรวจสุขภาพเบื้องต้น โดยทีมแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาล

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 ตุลาคม 2565 ถึง 22 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพ ตวรวจคัดกรองภาวะสุขภาพเบื้องต้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ เรื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้าน โภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม  จำนวน 540 คนๆละ 1 มื้อ มื้อละ 70 บาท เป็นเงิน  37,800  บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 540 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน 37,800  บาท
4.ค่าป้ายไวนิล  จำนวน  1 ผืน (ขนาด 3.5 x 2.5) เป็นเงิน  3,400  บาท
5.ค่าวัสดุ เครื่องเขียน อุปกรณ์ จำนวน 540 ชุดๆละ 100 บาท (กระเป๋าผ้า+สมุด+ปากกา) เป็นเงิน 54,000  บาท
6.ค่าจัดสถานที่ (ค่าเช่าโดม) เป็นเงิน 30,000  บาท
7.ค่าเช่าเครื่องเสียง 1 วันๆละ เป็นเงิน 5,000 บ
8.ค่าแผ่นพับให้ความรู้เรื่องสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 540 ใบๆละ 10 บาท เป็นเงิน 5,400  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มิถุนายน 2566 ถึง 22 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้าน โภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
177000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 177,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพทำให้สุขภาพแข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ผู้สูงอายุในตำบลกายูคละมีขวัญและกำลังใจในการประกอบคุณงามความดีให้แก่สังคมต่อไป
3. หน่วยงานราชการ และประชาชนในพื้นที่ได้มีการบูรนาการกิจกรรมผู้สูงอายุร่วมกันทำให้เกิดความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ และเกิดความสันติสุขต่อไป
4. ผู้สูงอายุมีองค์ความรู้ในเรื่องการควบคุมอารมณ์ และสามารถจัดการกับสภาวะอารมณ์ของตนเองได้อย่างมีความสุข และเหมาะสมกับวัย
5. ผู้สูงอายุมีองค์ความรู้ในเรื่องโภชนาการที่เหมาะสมแก่วัย ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น
6. ผู้สูงอายุในตำบลกายูคละความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ


>