กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิดล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีตำบลลิดลรู้เท่าทันมะเร็ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิดล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดล

ตำบลลิดล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามรายงานแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ. 2561-2565) ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า โรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โรคมะเร็งจึงถือเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศ
สำหรับข้อมูลสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทย พบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชากรไทยมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2542 แล้ว อีกทั้งยังมีแนวโน้มการตายสูงขึ้นในทุกปี โดย 5 อันดับโรคมะเร็งที่เป็นปัญหาสำหรับคนไทยได้แก่มะเร็งตับ(79.37%) มะเร็งลำไส้ใหญ่ ( 76.36% ) มะเร็งปากมดลูก ( 71 .58 %) มะเร็งเต้านม ( 63.99% ) และมะเร็งปอด (63.73%)
ตำบลลิดล อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30 – 60 ปีปีจำนวน 1,011 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจำนวน 141 คน (ร้อยละ 13.95 ) สาเหตุที่กลุ่มเป้าหมายไม่มารับบริการตรวจเนื่องจากขาดความตระหนัก และขาดการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน
การเพิ่มความครบคลุมในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง จึงควรพัฒนาศักยภาพให้ภาคประชาชน มีบทบาทในการรณรงค์สร้างความตระหนักให้ชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดลจึงได้จัดทำโครงการ สตรีลิดลรู้เท่าทันโรคมะเร็ง ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและปากมดลูก ร้อยละ 20
  1. เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี ที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และทักษะในการป้องกันโรคมะเร็ง     อย่างน้อยร้อยละ 80
  2. เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน อย่างน้อยร้อยละ 70
  3. เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อย่างน้อยร้อยละ 20
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้มีศักยภาพในการป้องกันโรคมะเร็ง รวมถึงสามารถในคำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไปได้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้มีศักยภาพในการป้องกันโรคมะเร็ง รวมถึงสามารถในคำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไปได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย  เพื่อให้มีศักยภาพในการป้องกันโรคมะเร็ง รวมถึงสามารถในคำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไปได้
  2. สนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายนำความรู้ไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในชุมชน
  3. ร่วมกับ อสม.ในการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเองในชุมชน
  4. ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมาย
  5. ประชุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อติดตามผลการดำเนินงานป้องกันโรคมะเร็งในชุมชน
  6. มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ที่มีผลการดำเนินงานดีเยี่ยม
  7. สรุปผลโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30 – 60 ปี ที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และทักษะในการป้องกันโรคมะเร็ง 2.สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน อย่างน้อยร้อยละ 70
  2. สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อย่างน้อยร้อยละ 20
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80 ของสตรีอายุ 30 – 60 ปี ที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้และทักษะในการป้องกันโรคมะเร็ง
2.สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน อย่างน้อยร้อยละ 70
3. สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อย่างน้อยร้อยละ 20


>