กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านตันหยงละไน้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

โรงเรียนบ้านตันหยงละไน้

1. นางสาวขนิษฐา สะอา ครู รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
2. นางสาวจริญญา ปากบารา ผู้ประสานงาน คนที่ 1
3. นางจีราวรรณ ตีกาสม ผู้ประสานงาน คนที่ 2
4. นายอับดุลรอศักดิ์ จิเหม

โรงเรียนบ้านตันหยงละไน้ ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พระราโชวาทในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีเนื่องในพิธีเปิดการประชุมโภชนาการแห่งเอเชีย ครั้งที่ 4 เมื่อวันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2526 ความตอนหนึ่งว่า “...แม้ในประเทศไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าว อู่น้ำของเอเชีย ก็ยังมีปัญหาของการขาดอาหาร ปัญหาทางสุขภาพอนามัย การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆที่น่าจะรักษาหรือป้องกันได้ โดยการปฏิบัติให้ถูกต้องในเรื่องอาหารการกิน ความสะอาด สุขลักษณะสิ่งแวดล้อม เหล่านี้เป็นต้น นอกจากนั้น เด็กมีจำนวนไม่น้อยมีสภาพการขาดอาหาร เนื่องจากพ่อแม่ไม่ทราบถึงวิธีการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ปฏิบัติกันไปตามความเคยชิน หรือขนบธรรมเนียมที่ได้รับการสั่งสอนมาชั่วลูกหลานแสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจว่าอาหารและโภชนาการเป็นรากฐานสำคัญของสุขภาพอนามัยตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา...”(กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา, 2559)นโยบายด้านการพัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ สถานศึกษา จะต้องปรับปรุงอาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก สนามเด็กเล่นให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย สามารถจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดหาสื่อ อุปกรณ์ ที่มีคุณภาพเหมาะสม มีมาตรฐานและความปลอดภัย การอภิบาลเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาวะที่ดี ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรค ภัย ไข้ เจ็บ (สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2563) การดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูลในการขับเคลื่อนมาตรการสู่การปฏิบัติ นโยบายที่ 1 การศึกษาเพื่อความมั่นคง มาตรการที่ 5 ส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้เรียน ส่งเสริมสถานศึกษาให้มีการพัฒนานักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล, 2563) อีกทั้งจุดมุ่งหมายสูงสุดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีมีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552)
จากการผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนตามแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนสำหรับโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ พบว่าผลการประเมินโดยภาพรวมในระดับ ร้อยละ 58.49 อยู่ในระดับปรับปรุง และการประเมินตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารที่ดี โดยคณะกรรมการประเมินมาตรฐานการพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารที่ดี พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมในระดับร้อยละ 41 อยู่ในระดับปรับปรุง (โรงเรียนบ้านตันหยงละไน้, 2565)
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านตันหยงละไน้ จึงจัดทำโครงการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านตันหยงละไน้เพื่อส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ รวมทั้งพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. นักเรียน ร้อยละ 100 ได้รับการส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ
2. นักเรียน ร้อยละ 95 ที่มีสุขภาพช่องปากอยู่ในเกณฑ์ปกติ
3. นักเรียน ร้อยละ 95 ที่มีสมรรถภาพทางกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ข้อที่ 2 เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากร โรงเรียนมีความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของเด็ก และทันตสุขภาพ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. นักเรียน ครูและบุคลากร ร้อยละ 100 มีความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของเด็ก และทันตสุขภาพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 45
กลุ่มวัยทำงาน 7
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน 1.1 กิจกรรมย่อย คัดกรองสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน เป้าหมาย นักเรียน จำนวน 45 คน จำนวนเงิน 2,180บาท
รายละเอียดกิจกรรม 1) ดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง นักเรียน 2) ดำเนินการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนตามแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนสำหรับโรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ 3) ดำเนินการตรวจสุขภาพช่องปากของนักเรียน 4) ดำเนินการทดสอบสมรรถภาพทางกายประจำปีของนักเรียน 5) จัดทำทะเบียนสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพนักเรียน

งบประมาณ
งบประมาณดำเนินงานประกอบด้วย - ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก แบบดิจิตอลจำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 580 บาท - ค่าที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 อัน เป็นเงิน 1,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียน ร้อยละ 100 ได้รับการส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ
  2. นักเรียน ร้อยละ 95 ที่มีสุขภาพช่องปากอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  3. นักเรียน ร้อยละ 95 ที่มีสมรรถภาพทางกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  4. นักเรียน ครูและบุคลากร ร้อยละ 100 มีความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของเด็ก และทันตสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2180.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมสุขภาพ 2.1 กิจกรรมย่อย คัดเลือกนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ
เป้าหมาย- นักเรียนจำนวน 10 คน ครูที่ปรึกษา 2 คน รายละเอียดกิจกรรม 1) รับสมัครนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ 2) คัดเลือกนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ 3) แต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพ 2.2 กิจกรรมย่อย อบรมให้ความรู้เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของเด็ก และทันตสุขภาพให้แก่ นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา เป้าหมาย จำนวน 52 คน จำนวนเงิน 6,620 บาท - นักเรียนจำนวน 45 คน - ครูและบุคลากรจำนวน 7 คน รายละเอียดกิจกรรม - อบรมให้ความรู้ เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของเด็ก และทันตสุขภาพ - พฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของเด็ก - การดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กวัยเรียน - การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของเด็ก - ความเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ - ทันตสุขภาพ สำหรับเด็กวัยเรียน - กิจกรรมสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีแก่นักเรียน

งบประมาณ
งบประมาณดำเนินงานประกอบด้วย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 52 คน จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท (52 คน x 2 มื้อ x 25 บาท) เป็นเงิน 2,600 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 52 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 60 บาท (52 คน x 1 มื้อ x 60 บาท) เป็นเงิน 3,120 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท

2.3 กิจกรรมย่อย จัดกิจกรรมทางกายเพื่อการเรียนรู้และทักษะกีฬาที่ชอบเป้าหมายนักเรียนจำนวน 45 คนจำนวนเงิน 700 บาท รายละเอียดกิจกรรม 1) ปรับปรุงสนามวอลเลย์บอลและสนามตะกร้อ 2) นักเรียนออกกำลังกายยามเช้า 3) หนึ่งคนหนึ่งกีฬาที่ชอบ

งบประมาณ
งบประมาณดำเนินงานประกอบด้วย 1. ค่าวัสดุ – อุปกรณ์ปรับปรุงสนามวอลเลย์บอลและสนามตะกร้อ - ค่าสีน้ำพลาสติกคละสี จำนวน 3 กระป๋อง กระป๋องละ 180 บาท เป็นเงิน 540 บาท - แปรงทาสี 4 อัน อันละ 40 บาท เป็นเงิน 160 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7320.00

กิจกรรมที่ 3 รายงานผลโครงการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ 3.2 จัดทำรูปเล่มรายผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ จำนวน 2 เล่ม งบประมาณ
งบประมาณดำเนินงานประกอบด้วย - ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 2 เล่ม เล่มละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านตันหยงละไน้ทุกคนได้รับการส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ
2. เด็กนักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านตันหยงละไน้ มีความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของเด็ก และทันตสุขภาพ
3. เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านตันหยงละไน้สามารถปฏิบัติตามพฤติกรรมสุขภาพนักเรียนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ
4. เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านตันหยงละไน้มีสุขภาพ สมบูรณ์ แข็งแรงตามเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ


>