กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทรายขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตำบลทรายขาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทรายขาว

ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 5 ตำบลทรายขาว

ตำบลทรายขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน พบว่ามีความซับซ้อนมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและแบบแผนการดำเนินชีวิตส่งผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ และป้องกันไม่ได้รวมทั้งโรคพื้นฐานที่ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้โรคบางอย่างเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึ่งประสงค์เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีการจัดการความเครียด จากการสำรวจชุมชนพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ มีปัญหาการออกกำลังกาย และขาดการรับผิดชอบต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งส่งผลต่อภาวะสุขภาพของประชาชน
จากผลการวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขของตำบลทรายขาว ปัจจุบัน พบว่าโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นปัญหาสำคัญลำดับต้นที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จากการสำรวจข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลปี 2565 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 738 คน รายใหม่เพิ่มขึ้น 28 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน282 คน รายใหม่เพิ่มขึ้น 33 คน เป็นทั้งความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 218 คน รายใหม่เพิ่มขึ้น 51 คน ผลการคัดกรองความเสี่ยงประชาชนอายุ35 ปีขึ้นไปในปี 2566 มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 234 คน และโรคเบาหวาน จำนวน 54 คน (ที่มา: HDC (health data center 10 กุมภาพันธ์ 2566) สาเหตุสำคัญคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องและการออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. ยังขาดความต่อเนื่องในการให้การบริการในเชิงรุกลงไปถึงระดับ ครอบครัวชุมชน ทำให้การแก้ปัญหาได้แค่ระดับหนึ่ง จึงมีความจำเป็นที่ต้องคิด และใช้วิธีการที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
จากสภาพปัญหาดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลทรายขาว ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการ“โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ห่างไกลโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง”ตำบลทรายขาวปี พ.ศ. 2566 อย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยง และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของตนเองโดยการดำเนินงานกิจกรรมต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อให้มีการเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตมีความรู้ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง มีความห่วงใหญ่ต่อสุขภาพ ครอบครัว และชุมชน อย่างถาวร ส่งผลให้กลุ่มเสี่ยงและประชาชนมีสุขภาพที่ดี มุ่งให้เกิดการพึ่งตนเองทางสุขภาพเป็นสำคัญ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพการออกกำลังกายที่ถูกต้อง

 

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง สามารถลดระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติกับกลุ่มเสี่ย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติกับกลุ่มเสี่ย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติกับกลุ่มเสี่ยงระยะเวลา 2 วัน

- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 65 คน x 60 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 7,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คน x 25 บาท x 4 มื้อเป็นเงิน 6,500 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร ชม. ละ 600 บาท จำนวน 9 ชม./คน จำนวน 5 คน
เป็นเงิน 27,000 บาท
2. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรมตามโครงการ - ค่าสมุดประจำตัวผู้มีภาวะเสี่ยงฯ เล่มละ 20 บาท x 60 เล่ม เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าแบบประเมินความรู้และพฤติกรรมฯ ก่อนและหลัง แผ่นละ 1 บาท x 120 แผ่น เป็นเงิน 120บาท - ค่าแบบประเมินความพึงพอใจฯ แผ่นละ 1 บาท x 60 แผ่นเป็นเงิน 60บาท - ค่าแผ่นพับความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง แผ่นละ 2 บาท x 60 แผ่น เป็นเงิน 120บาท 3. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ ป้ายละ 500 บาท จำนวน 1 ป้าย และไวนิลให้สุขศึกษาโครงการฯป้ายละ 500 บาท จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 1,000 บาท 4.ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม ดังนี้ - ค่าถุงผ้า ถุงละ 20 บาท x 60 ใบ เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าสมุด เล่มละ 10 บาท x 60 เล่ม เป็นเงิน600 บาท - ค่าปากกา เล่มละ 10 บาท x 60 เล่ม เป็นเงิน600 บาท

รวม(เงินสี่หมื่นหกพันสองร้อยบาทถ้วน) เป็นเงิน46,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองในการป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชนได้
2. แกนนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน และถ่ายทอดความรู้สู้ชุมชนได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง
4. อัตราการตรวจพบโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชนลดลง


>