กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า

ตำบลเกาะสะบ้าอำเภอเทพาจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 13(3)มาตรา 18(4)(8) (9) และมาตรา 47 ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรือพื้นที่มีความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่บุคลในพื้นที่ กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบส่งเสริมสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม และส่งเสริมให้เกิดการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ 10 (4) กำหนดให้มีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ประจำปีงบประมาณ 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อขออนุมัติแผนงานหรือโครงการ/กิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า และตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

1.00
2 เพื่อสนับสนุนการทำงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า

 

1.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า

 

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 31

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 บริหารและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า

ชื่อกิจกรรม
บริหารและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมวางแผนปรึกษาหารือ กำหนดแนวทางการดำเนินโครงการประจำปี

    1. กำหนดการประชุมในปีงบประมาณ พ.ศ.2566
    2. ประสานงานกับคณะกรรมการ และคณะทำงาน
    3. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การดำเนินงานของสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล
      เกาะสะบ้า
    4. จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนคณะกรรมการ อาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม
    5. จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม/ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
    6. จัดประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า 4
      ครั้ง/ปี สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะทำงาน
    7. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
  2. ค่าตอบแทนคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานเป็นเงิน 40,000บาท

  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 8 มื้อ ๆละ 25 บ. เป็นเงิน 5,000บาท
  4. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ/อนุกรรมการกองทุนฯเป็นเงิน 55,000บาท
  5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ใช้ในสำนักงานเลขากองทุนฯ เป็นเงิน 4,000บาท รวมเป็นเงิน(-หนึ่งแสนสี่พันบาทถ้วน-) 104,000.- บาท หมายเหตุ สามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บริหารและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
104000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 104,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ดำเนินโครงการ/กิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนในพื้นที่ และตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561
2. กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้ามีความพร้อมในการดำเนินงาน
3. คณะกรรมการ อนุกรรมการ และคณะทำงานเจ้าหน้าที่ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า มีศักยภาพ และความรู้ในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่


>