กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกายสบายชีวี ด้วยวิธีเต้นแอโรบิก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ชมรมแอโรบิกสนามกีฬากลาง

ชื่อองค์กร ชมรมแอโรบิกสนามกีฬากลาง
1. นางวราภรณ์ จีระเสถียร ประธานชมรมแอโรบิกสนามกีฬากลาง
2. นางกัลยา หวันเหล็ม รองประธานชมรม
3. นางสาวฐิติมา วงศ์ฤทธิ์ ผู้ช่วยเหรัญญิก
4. นางสาวศรัญญา สุวรรณรัตน์ เลขานุการชมรม
5. นางวิภา สว่างแข ผู้ช่วยเลขาชมรม

สนามกีฬากลางจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

52.00

ปัจจุบันสังคมของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไปจากอดีต ดังจะเห็นได้จากบริบทการทำงาน เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป มีการแข่งขันทั้งทางด้านข่าวสารสารสนเทศและเทคโนโลยี ทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคมต้องเร่งรีบและแข่งขันตามกลไกเศรษฐกิจ แต่ในความเจริญนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่างๆเกิดขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอาชญากรรม สุขภาพทั้งร่างกายจิตใจ แต่ระบบเศรษฐกิจนั้นยังคงดำเนินไปเรื่อยๆ โดยที่ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรมนุษย์นั้นไม่ยั่งยืนและพัฒนาขึ้น เพราะร่างกายมนุษย์เสื่อมลงตามกาลเวลา ประกอบกับมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น แต่เวลาในการดูแลสุขภาพของตนเองกลับน้อยลง เกิดปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนหันไปพึ่งพาสินค้าที่จะทำให้สุขภาพดีจากสื่อต่างๆ เช่น ยาลดความอ้วน น้ำสมุนไพรต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นและมีราคาแพง และประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยลงมีผลทำให้ร่างกายอ่อนแอ
ซึ่งในปัจจุบันนี้ ปัญหาโรคไม่ติดต่อได้กลับกลายมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน 5 อันดับแรก ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างและไขมันอุดตันในเส้นเลือด จากข้อมูลรายงานผู้มารับบริการในเขตเทศบาลตำบลคลองขุด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553-25๖5 มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน และกลุ่มผู้สูงอายุ จากการสอบถามพบว่าผู้ป่วยขาดการออกกำลังกาย และบริโภคอาหารไม่ถูกต้องก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้
ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลคลองขุดมีสุขภาพที่ดี แข็งแรงและมีอายุยืนยาวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรณรงค์และส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายกันมากขึ้นพัฒนาพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนให้เป็นพฤติกรรมเคยชินไม่ใช่เพียงกระแสหรือแฟชั่นเท่านั้นแต่เป็นการสร้างพฤติกรรมถาวรหรือเป็นการสร้างวัฒนธรรมสุขภาพที่ดีและเพื่อให้การออกกำลังกายเป็นไปอย่างยั่งยืนจึงจำเป็นต้องมีแกนนำในการออกกำลังกายเพื่อเป็นแกนนำในการส่งเสริมการออกกำลังกายให้กับประชาชนในชุมชนนั้นได้มีการออกกำลังการกันมากขึ้นและสม่ำเสมอ
ชมรมแอโรบิกสนามกีฬากลางเล็งเห็นความสำคัญเรื่องสุขภาพของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลคลองขุด ที่ลดน้อยลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ จึงได้มีโครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกายสบายชีวีด้วยวิธีเต้นแอโรบิก โดยได้จัดทำโครงการดังกล่าวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 มีผู้เข้าร่วมโครงการเพียง 20 คน และมีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันปี 2565 มีผู้เข้าร่วมออกกำลังกายแบบแอโรบิก จำนวน 50 คน ประชาชนลดลงเนื่องจากสถานการณ์โควิดแต่ประชาชนยังมีความตระหนักถึงการออกกำลังกาย เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องทุกวัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

52.00 56.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดให้มีการออกกำลังกายต่อเนื่องทุกวัน

ชื่อกิจกรรม
จัดให้มีการออกกำลังกายต่อเนื่องทุกวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดให้มีการออกกำลังกายต่อเนื่องทุกวัน
    จัดให้มีการออกกำลังกายทุกวันจันทร์ - อาทิตย์  เวลา 18.00 น - 19.00 น. โดยมีผู้นำออกกำลังกายในแต่ละวัน จำนวน  1  คน
  2. ประเมินผล
    2.1 นับจำนวนสถิติการมาเข้าร่วมออกกำลังกายของประชาชนในแต่ละวัน ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมออกกำลังกายมีการออกกำลังกายทุกวันหรืออย่างน้อย 3 วัน / สัปดาห์
    2.2 ประเมินดัชนีมวลกายและรอบเอว
  3. สรุปและประเมินผลโครงการ พร้อมรายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลคลองขุด
    งบประมาณ
  4. ค่าจ้างเหมาบริการวิทยากรนำเต้น สัปดาห์ละ 3 วัน จำนวน 27 สัปดาห์ 81 วันๆ ละ 300 บาท      เป็นเงิน        24,300 บาท
  5. ค่าไวนิล 1.5 x 3.00 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท จำนวน 1 ผืน    เป็นเงิน             675 บาท
  6. ค่าไมค์ลอย อุปกรณ์ในการสอน 1 ชุด จำนวน              เป็นเงิน          4,950 บาท
  7. ค่าถ่ายเอกสาร + เข้าเล่ม                    เป็นเงิน             500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีประชาชนมาร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 3 วัน อย่างน้อยร้อยละ 50
2.ประชาชนที่เข้าร่วมออกกำลังกายมีค่าดัชนีมวลกายและรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 70 โดยดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 18.5 – 24.9 และรอบเอวชายไม่เกิน 90 เซนติเมตร หญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร หรือมีค่าดัชนีมวลกายลดลงจากเดิม อย่างน้อยร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30425.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,425.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน) มีความตระหนักถึงการออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งมีแกนนำในการออกกำลังกายทุกวัน


>