กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองเฝ้าระวังดูแลสตรีไทย ปลอดภัยจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส

1. นางชนิศาไชยประดิษฐ
2. นางมยุรา เบญจมามาศ

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัส- พื้นที่ หมู่ที่ 2,4,5,8 ตำบลปาเสมัส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งและมะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับสองของประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและการควบคุมโรคมะเร็งเต้านมโดยการตรวจคัดกรองและมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ PAP SMEARในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓o –๖o ปีทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้(สถานการณ์ในจังหวัดนราธิวาส มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม ทั้งหมด จำนวน ๓๙๕ รายและผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ทั้งหมด จำนวน ๓๑๕ ราย ตำบลปาเสมัส ในเขตรับผิดชอบ ดูแลประจำหมู่บ้านที่ ๒,๔,๕ และ ๘ พบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม หมู่ที่ ๕ จำนวน ๕ ราย และหมู่ที่ ๘ จำนวน ๑ ราย ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก พบหมู่ที่ ๕ จำนวน ๑o ราย หมู่ที่ 4 จำนวน 1 ราย หมู่ที่ 8 จำนวน 1 ราย

กิจกรรม ๒๕63 ๒๕๖4 ๒๕๖5
คัดกรองมะเร็งเต้านม 91.02 89.76 94.93
คัดกรองมะเร็งปากมดลูก 11.39 18.11 19.32

จากข้อมูลสถานะสุขภาพดังกล่าวสามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่ไม่สามารถคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเขตได้ตามเป้าหมายนั้นสาเหตุหลักสำคัญเกิดจากสตรีกลุ่มเป้าหมายยังขาดความตระหนัก ทั้งยังมีความรู้สึกอายเมื่อต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก จึงมีการเข้ารับบริการน้อย บางส่วนไปรับบริการในคลินิกแพทย์ โรงพยาบาลเอกชนซึ่งไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครอบคลุม จึงต้องมีการดำเนินการร่วมกันของชุมชนในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์หาแนวทางในการสร้างความเข้าใจในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จากข้อมูลการศึกษาวิจัยที่ประสบความสำเร็จพบว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของมะเร็งที่พบบ่อยสามารถป้องกันได้และ 2 ใน 3 ของสาเหตุโรคมะเร็ง มีส่วนสัมพันธ์กับบุหรี่ อาหาร โรคอ้วน ขาดการออกกำลังกายและมลพิษที่ได้จากการประกอบอาชีพ รวมทั้งจากสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้น เพื่อชีวิตที่มีความสุข มีคุณภาพที่ดีและปลอดจากการเป็นโรคมะเร็ง แนะนำให้ศึกษาหาความรู้และติดตามข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับโรคมะเร็งที่มีรายงานอยู่ตามสื่อต่างๆ และดูแล เอาใจใส่สุขภาพของตนเองเป็นสำคัญ

ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปาเสมัสจึงได้จัดทำโครงการสตรี ใส่ใจ ร่วมกันเฝ้าระวังภัยมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกปีงบประมาณ 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงอายุ ๓0-๗0 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จำนวน 1,889 คน

 

0.00
2 เพื่อให้หญิงอายุ ๓0-๖0 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 378 คน

 

0.00
3 เพื่อให้หญิงอายุ ๓0-๗0 ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน จำนวน 2 มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน 4 รุ่น   
    เป็นเงิน  10,000  บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน จำนวน 1 มื้อๆละ ๕0 บาท จำนวน 4 รุ่น 
                                                                                             เป็นเงิน  10,000  บาท   - ค่าสัมมนาคุณวิทยากรบรรยาย  จำนวน 1 คน ชม.ละ 400 บาท จำนวน 6 ชม. X 4 รุ่น                                                                                          เป็นเงิน  9,600  บาท
  • ไวนิลประชาสัมพันธ์ (ติดในหมู่บ้าน) ขนาด 1 x 2 ม. จำนวน 5 แผ่นๆละ 500 บาท
                                                                                         เป็นเงิน    2,500  บาท                 รวมเป็นเงิน  32,100  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่องเป็นประจำ
  2. พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  3. ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32100.00

กิจกรรมที่ 2 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 378 คน

ชื่อกิจกรรม
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 378 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าผ้าถุงสำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ จำนวน 200 คนๆละ 1 ผืนๆละ 120 บาท                               เป็นเงิน 24,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่องเป็นประจำ
  2. พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  3. ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่องเป็นประจำ
2. พบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
3. ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น


>