กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กระเสาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรุ้เกี่ยวกับบการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กระเสาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระเสาะ

ตำบลกระเสาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันพบว่าอัตรความชุกของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในเขตเครือข่ายบริการสุขภาพตำบลกระเสาะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากยอดประชากรของตำบลกระเสาะในกลุ่มอายุ 35-70 ปี ขึ้นไปมีจำนวน 1,078 คน เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน 17 คนเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 235 คน และโรคเบาหวานร่วมด้วยความดันโลหิตสูงจำนวน 296 คน เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน 17 คน รวมผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งหมดในตำบลกระเสาะ 548 คน คิดเป็นร้อยละ 50.83 ของประชากรอายุ 35-70 ปีขึ้นไป ถึงแม้ว่าโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่ทำให้เสียชีวิตทันที แต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เกิดความสูญเสียทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตในวัยอันควร ดังนั้นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตด้วยการใช้ยาอย่างต่อเนื่องมีคามสำคัญในการควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน การปรับเปลี่นพฤติกรรมตนเองโดยกิจกรรม 3อ2ส ตลอดจนการทานยาและการพบแพทย์ตามนัด จึงเป็นวิธีการสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงสามารถดูแลตนเองและควบคุมโรคได้
ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระเสาะ พบผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื่้อรังทั้งหมด 548 คน เป็น case referback เพื่อรับยาที่รพ.สต. จำนวน 70 คน จากจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทั้งหมดนี้จะมีบางกลุ่มที่รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง ทานยาไม่ต่อเนื่อง ทานยาสมุนไพรและหยุดยาไปโดยไม่รับการรักษาใดๆ เนื่องจากมีความเชื่อว่าทานยาโรคเรื้อรับเยอะไปจะทำให้กลายเป็นโรคไตได้
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระเสาะ มีอัตราป่วยที่สูง ซึ่งและป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระเสาะ จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการให้ความรู้เกี่ยวกัยการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพตนเองได้ดี และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นสาเหตุการเสียชีวิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานยาที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ผู้ป่วย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานยาทีถูกต้อง

0.00
2 ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการซื้อยาทานเองหรือจากการทานยาสมุนไพรจากสื่อ

ร้อยละ 80 ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรับไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการซื้อยาทานเองหรือจากการทานยาสมุนไพรจากสื่อ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจในการรับประทานยาโรคเรื้อรัง
2.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่ซื้อยาทานเองและไม่ทานยาสมุนไพรตามสื่อโฆษณา
3.ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรับยาจาก รพ. หรือรพ.สต.และทานยาอย่างต่อเนื่อง และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
4.ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการที่ผู้ป่วยซื้อยากินเอง หรือทานยาสมุนไพรตาสื่อโฆษณา


>