กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

รพ.สต.บ้านลำสินธุ์

หน่วยงานราชการ

1. โรงเรียนวัดเกษตรนิคม 2. โรงเรียนบ้านโตน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

6.77

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่พบมากในโรงเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกัน นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียน แล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียน และพัฒนาการของเด็ก เกิดการสูญเสียทั้งสุขภาพร่างกาย และจิตใจ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถป้องกันและแก้ไขไม่ให้ลุกลามได้โดยการให้ความรู้ สร้างทัศนคติ เพื่อให้เด็กนักเรียนปฏิบัติตนในการดูแลทันตสุขภาพของตนเองอย่างถูกวิธี และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก
จาการสำรวจสภาวะช่องปากเด็กประถมศึกษาในจังหวัดพัทลุง ปีงบ ประมาณ 2565 พบว่าช่วงอายุ 6 ปี มีฟันแท้ผุ ร้อยละ 6.43 และในช่วงอายุ 9 ปี มีฟันแท้ผุ ร้อยละ 21.35และพบว่าในเขตอำเภอศรีนครินทร์ ช่วงอายุ 6 ปี มีฟันแท้ผุ ร้อยละ 5.63 ช่วงอายุ 9 มีฟันแท้ผุ ร้อยละ 22.22 ซึ่งในเขตตำบลลำสินธุ์ พบว่า ในเด็กช่วงอายุ 6 ปี มีฟันแท้ผุ ร้อยละ 4.55ช่วงอายุ 9 ปี มีฟันแท้ผุ ร้อยละ 9.09 แสดงให้เห็นว่า ในกลุ่มเด็กวัยเรียนมีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ยังไม่เหมาะสม อัตราการเกิดฟันผุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่ได้รับการส่งเสริมป้องกัน ดังนั้นการส่งเสริมและป้องกันฟันผุในเด็กที่สำคัญในช่วงวัยนี้ได้แก่ การควบคุมอาหารหวานและการแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่ส่วนผสมของฟลูออไรด์ อย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันโรคฟันผุอื่นๆ เช่น การใช้ฟลูออไรด์ชนิดทา ร่วมกับการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ และการให้ทันตสุขศึกษา การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันฟันผุในเด็ก
ดังนั้นทางกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์จึงได้เห็นความสำคัญใน
การส่งเสริมป้องกันโรคฟันผุ และการดูแลทันตสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและป้องกันฃสุขภาพช่องปากในเด็กวัยเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะฟันผุของเด็กวัยเรียน (6 ขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

6.77 5.22
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก

1.นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก

45.00 70.00
3 เพื่อให้นักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองสภาวะสุขภาพช่องปาก

นักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองสภาวะสุขภาพช่องปาก อย่างน้อยร้อยละ 90

80.00 90.00
4 เพื่อให้นักเรียนฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างถูกต้อง

นักเรียนมีทักษะดูแลสุขภาพช่องปากถูกต้อง

90.23 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 188
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและให้บริการตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและให้บริการตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและให้บริการตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์ จำนวน 188 คน โดยแบ่งอบรมเป็น 4 รุ่น มีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 วันๆละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,600บาท

2.ค่าจัดจ้างทำป้ายชื่อโครงการ ขนาด 1x3 เมตรๆ ละ 200 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 600 บาท

3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 4รุ่นๆ

-รุ่นที่ 1 จำนวน 26 คน

-รุ่นที่ 2 จำนวน 44 คน

-รุ่นที่ 3 จำนวน 58 คน

-รุ่นที่ 4 จำนวน 60 คน

รุ่นละ 1 วันๆ ละ 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 188 คน เป็นเงิน 4,700 บาท

4.ค่าวัสดุทางการแพทย์เป็นเงิน 6,400บาท

  • ฟลูออไรด์วานิช 4 หลอดละ 1,250 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

  • พู่กันทาฟลูออไรด์ 4 กล่องๆละ 150 บาท เป็นเงิน 600 บาท

  • เม็ดย้อมสีฟัน 4 แผงๆละ 200 บาท เป็นเงิน 800 บาท

5.. ค่าจัดซื้อโมเดลสอนการดูแลสุขภาพช่องปาก เป็นเงินจำนวน 2,700 บาท

  • โมเดลตุ๊กตาฟันแท้ 1 ชุดๆละ 2,700 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท

รวมเป็นเงินจำนวน18,000 บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2566 ถึง 13 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 188 คน
2.นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก 3.กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการทันตกรรม ส่งเสริม ป้องกัน การเกิดโรคฟันผุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายทราบถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของตนเองได้

2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก

3.กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการทันตกรรม ส่งเสริม ป้องกัน การเกิดโรคฟันผุ


>