กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม. พลังชุมชน รู้ตน ลด เสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม ต้านภัยโรคเรื้อรัง ตำบลปูยุด ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

1.นางสาวแวบีเดาะ เจะอุบง
2.นางสาวดรุณีจูนิ
3.นางสาวแวฮาลีเมาะกอแล
4.นางสาวซูมัยยัมย์ กะลูแป
5.นางสาวแวอาซีซะห์แวเด็ง

ตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการพัฒนาด้านสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ
ต่อการดำรงชีวิตที่ดี เกิดความทั่วถึง เท่าเทียมของประชาชนทุกคน โดยให้ประชาชนได้รับรู้สถานะของตนเองและเข้าถึงการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัยให้มีความครอบคลุมในมิติทางด้านสุขภาพทั้ง 4 มิติ คือ มิติด้านการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพมาก กว่าการซ่อมสุขภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักด้านสุขภาพ จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินให้เป็นพฤติกรรมที่ลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค และลดโรคที่เป็นแล้วให้เป็นน้อยลง หรือหายเป็นปกติ โดยเฉพาะ 3อ คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และ 2ส คือ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา เป็นการ “ปรับก่อนป่วย” เพราะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตการส่งเสริมสุขภาพจึงเน้นให้ “ประชาชนสุขภาพดี เริ่มต้นที่สร้างนำซ่อม” โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้เป็นพลังชุมชนที่สำคัญในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Change Agent) โดยมีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะด้านสุขภาพให้แก่คนในชุมชน โดยมีเป้าหมายในการเป็น “คู่หูสุขภาพ (Buddy Healthy)” ร่วมรู้สถานะสุขภาพ ร่วมปรับพฤติกรรม ต้านภัยโรคเบาหวานแลความดันโลหิตสูง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ได้รับการพัฒนาจากหลักการและกลวิธีสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งประเทศไทยได้มีการนำมาใช้ ร่วมกับการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศกว่า 3 ทศวรรษ ซึ่งเป็นการพัฒนา โดยเน้นหลักการมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผลสำเร็จ และปัจจุบันพบว่า อสม.ได้รับการพัฒนาทั้งในด้านปริมาณ โดยมีจำนวนกว่า 1,040,000 คน และด้านสุขภาพ โดย อสม จะได้รับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้และทักษะด้านสุขภาพ สามารถเป็นนักสื่อสารสุขภาพ เป็นต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถถ่ายทอดความรู้ทักษะด้านสุขภาพให้กับบุคคลอื่น ๆ ในชุมชนได้ อีกทั้งมีการบริหารจัดการองค์กรในรูปแบบของ ชมรม อสม. ตั้งแต่ระดับตำบล อำเภอ จังหวัดเขต ภาค และประเทศดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของ อสม. ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปุยุด จึงได้จัดทำโครงการ อสม.พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม ต้านภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดย อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกันดำเนินการตรวจสุขภาพ ดำเนินกิจกรรมลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อให้ อสม. และชาวบ้าน และชุมชนพัฒนาเป็นองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคได้อย่างยั่งยืนสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ในสถานะสุขภาพของตนเอง และ คนรอบข้าง

กลุ่มเป้าหมายมีความกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ในสถานะสุขภาพของตนเอง และ คนรอบข้าง ร้อยละ 80

80.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง ในทางที่ดี

กลุ่มเป้าหมาย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง ในทางที่ดี ลดภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง ร้อยละ 50

50.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นบุคคลต้นแบบ ให้คนรอบข้างเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง

กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นบุคคลต้นแบบ ให้คนรอบข้างเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ร้อยละ 20

20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม ตรวจและประเมินสุขภาพ อสม.และชาวบ้าน จำนวน 130 คน โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ รพ สต.ปุยุด กลุ่มงานบริการ

ชื่อกิจกรรม
อบรม ตรวจและประเมินสุขภาพ อสม.และชาวบ้าน จำนวน 130 คน โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ รพ สต.ปุยุด กลุ่มงานบริการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 300 บ. * 2 คน * 4 ชม. = 2,400 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 70 บ. * 130 คน = 9,100 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 30 บ.* 130 คน = 3,900 บาท
  • ค่าวัสดุ แฟ้ม สมุด ปากกา กระดาษ a4 ชุดละ 50 บ. * 130 ชุด = 6,500 บาท
  • ค่าไวนิล ขนาด 3x1.5 ม.* 300 บ. = 1,350 บาท

รวมเป็นเงิน 23,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 เมษายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมี ความรู้ ความเข้าใจ ในสถานะสุขภาพของตนเอง และ มีแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง ให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23250.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดำเนินกิจกรรม “อสม.พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม ต้านภัยโรคเรื้อรัง ”

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดำเนินกิจกรรม “อสม.พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม ต้านภัยโรคเรื้อรัง ”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 300 บ. * 1 คน * 4 ชม. = 1,200 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 70 บ. * 130 คน = 9,100 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 30 บ.* 130 คน = 3,900 บาท

    รวมเป็นเงิน 14,200 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกลุ่มเป้าหมายด้วยกัน เพื่อเพิ่มความเข้าใจ และ แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสร้างแรงจูงใจในการมีสุขภาพดีโดยการประกวดและมอบรางวัลให้กับ “องค์กร อสม.สร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมดีเด่นระดับตำบล ”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างแรงจูงใจในการมีสุขภาพดีโดยการประกวดและมอบรางวัลให้กับ “องค์กร อสม.สร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมดีเด่นระดับตำบล ”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดการประกวด “องค์กร อสม.สร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมดีเด่นระดับหมู่บ้าน”
    • ค่าเกียรติบัตร ผู้เข้าร่วมประกวด จำนวน 20 คน ๆละ 20 บาทเป็นเงิน 600 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน และเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 70 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 3500 บาท
    • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาทเป็นเงิน 3000 บาท
  • ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการของชมรมระดับตำบล
  • สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล
    รวมเป็นเงิน 7100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สร้างแรงจูงใจ แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ เพิ่มเป็นต้นแบบให้บุคคลรอบข้างมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทุกคนได้รับการตรวจประเมินสุขภาพและจำแนกกลุ่มโดยใช้ปิงปองจราจร 7 สี
2. มีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การปรับพฤติกรรมสุขภาพของ อสม. ตามการจำแนกกลุ่มด้วยปิงปองจราจร 7 สี


>