กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการศูนย์การเรียนรู้สุขภาพดี ด้วยการอบสุมนไพรวัดควนแพรกหา ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกหา

วัดควนแพรกหา

พื้นที่ตำบลแพรกหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกได้เข้ามามีบทบาทที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของประชาชนให้ดีขึ้นโดยใช้วิธีการรักษาควบคู่กับการแพทย์แผนไทยปัจจุบัน การให้บริการแพทย์แผนไทยเพื่อรักษา ส่งเสริม ป้องกันโรค ป้องกันโรค และฟื้นฟูสุขภาพด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยโดยวิธีการอบสมุนไพร เพราะตัวยาสมุนไพรที่นำมาใช้ในการอบจะกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและทำให้การหายใจโล่งขึ้น ปอดขยายตัวได้ดี ระบบหายใจปลอดโปร่ง บรรเทาอาการหอบหืดเรื้อรัง ภูมิแพ้ได้เป็นอย่างดี
การส่งเสริมสุขภาพด้วยวิธีการอบสมุนไพรช่งยบรรเทาอาการหวัด คัดจมุก ช่วยบรรเทาอาการหอบหืดเรื้อรังทำให้ปอดขยายตัวได้ดี ระบบหายใจปลอดโปร่้ง มีความคล่องตัวมากขึ้น ไม่อึดอัด ช่วยลดความดันโลหิตสูง คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น ช่วยแก้อาการเหน็บชา อาการชาตามปลายเท้า ปลายนิ้วมือ แขน ขา บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เส้น และเอ็นให้เบาบางลงจนกระทั่งเป็นปกติ ช่วยลดไขมันส่วนเกินของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไขมันส่วนเกินบริเวณหน้าท้อง และส่วนอื่นๆของร่างกาย
จะเห็นได้ว่าคุณประโยชน์ในการอบสุมนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเสริมสุขภาพที่ดีได้เหมาะสมต่อผู้ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายเป็นประจำ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้คณะวัดควนแพรกหา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เล็งเห็นถึงความสำคัญการอบสมุนไพร จึงจัดกิจกรรมให้ความรู้และ ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรที่มีสรรพคุณที่เหมาะสมการอบสมุนไพร มาปลูกเพ่อเป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาพของวัดควนแพรกหาขึ้น เพื่อให้ประชาชนในตำบลแพรกหาใส่ใจสุขภาพมาเรียนรู้และให้บริการเป็นการลดรายจ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาาบาลอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการอบสมุนไพรเพื่อการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องวิธีการอบสมุนไพรเพื่อการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพร

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสมุนไพร

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการอบสมุนไพรและสมุนไพรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยอบรมให้ความรู้ จำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการอบสมุนไพรและสมุนไพรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยอบรมให้ความรู้ จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 ตนนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 3.ค่าอุปกรณ์การปลูกพืชสมุนไพร ดังนี้ 3.1 ป้าย 1 อันๆลละ 1000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 3.2 ป้ายชื่อสมุนไพรอะคริลิค 10 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 3.3 ค่าพันธุ์ไม้สมุนไพร จำนวน 50 ต้นนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 3.4 ค่าดินถุง ๆละ 20 บาท จำนวน 40 ถุง เป็นเงิน 800 บาท 4.ปรอทอุณห๓ูมิจำนวน 2 แท่งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท 5.กระดิ่ง จำนวน 2 อันๆละ 100 บาท เป็นเงิน 200 บาท 6.เครื่องทำน้ำร้อน-น้ำเย็น 1 เครื่องๆละ 5,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 7.ป้ายให้ความรู้ เรื่อง การอบสมุนไพร จำนวน 1 ป้ายๆละ 3,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 8.หม้อตุ่นยาสมุนไพร จจำนนวน 1 หม้อๆละ 1,500 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท 9.พิมเสน จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 1,100 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท 10.การบูร จำนวน 1 กิโลกรัมๆละ 550 บาท เป็นเงิน 550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ศูนย์เรียนรู้กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสุขภาพด้วยสมุนไพรในการอบสมุนไพร
2.ประชาชนมีความรู้ เรื่องการอบสมุนไพร และสมุนไพร ในการส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูสุขภาพในชุมชนแพรกหา


>