แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส รหัส กปท. L2535
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นายพิชิตชัยเจ๊ะมะ
2. นางสาวอาซูรา มาหามะ
ผู้สูงอายุนับเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ โดยข้อมูลปีพ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 12.๒ ล้านคนจากจำนวนประชากรรวม 66 ล้านคน โดยคิดเป็นร้อยละ 18.3 ของประชากรรวม และคาดว่า ในปีพ.ศ. 2566 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ สุขภาพช่องปากถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญกับสุขภาพทางด้านร่างกาย อาทิ การสูญเสียฟันจำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหาร ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร การดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพจิต เป็นต้น ดังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ความว่า “เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุขจิตใจก็ไม่สบายร่างกายก็ไม่แข็งแรง” จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา พ.ศ. ๒๕๖๕ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ ๖๐-๗๔ ปี มีฟันถาวรใช้งานอย่างน้อย ๒๐ ซี่ เฉลี่ย ๖.๒๓ ซี่/คน คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๔ มีฟันหลังสบกันอย่างน้อย ๔ คู่สบ และลดลงในผู้สูงอายุตอนปลายอายุ ๘๐-๘๕ ปี มีเพียงร้อยละ ๑๘.๖ ที่มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย ๒๐ ซี่ เฉลี่ย ๔.๗๖ ซี่/คน และมีฟันหลังสบกัน ๔ คู่สบ เพียงร้อยละ ๙.๒ ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวลดลงอย่างชัดเจน แม้ว่ากลุ่มผู้สูงอายุตอนต้น จำนวนมากกว่าครึ่งที่มีฟันถาวรใช้งานได้ ๒๐ ซี่ แต่ฟันถาวรที่เหลืออยู่นั้น ยังมีปัญหารอยโรคและความผิดปกติในช่องปากที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลุกลามที่นำไปสู่ความเจ็บปวดและการสูญเสียฟัน ซึ่งปัญหาสำคัญ ได้แก่ การสูญเสียฟัน โดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปาก ในผู้สูงอายุ ๖๐-๗๔ ปี พบร้อยละ ๑๒.๗ แต่เมื่ออายุ ๘๐-๘๕ ปี เพิ่มสูงถึงร้อยละ ๕๖.๒ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการบดเคี้ยวอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาร้อยละ ๕๒.๕ รากฟันผุที่สัมพันธ์กับเหงือกร่นในวัยสูงอายุร้อยละ ๑๗.๔ โรคปริทันต์อักเสบที่มีการทำลายของเนื้อเยื่อและกระดูกรองรับรากฟันร้อยละ ๓๖.๗ โดยร้อยละ ๑๘.๒ เป็นโรคปริทันต์อักเสบที่อยู่ในระดับรุนแรงมาก (มีร่องลึกปริทันต์ตั้งแต่ ๖ มม. ขึ้นไป) ซึ่งนอกจากจะเสี่ยงต่อการอักเสบ ปวดบวม ติดเชื้อ และสูญเสียฟันแล้ว ยังสัมพันธ์กับความรุนแรงของเบาหวานด้วย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ทางกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีราจึงเล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคในช่องปากในกลุ่มดังกล่าว โดยการให้ความรู้และพัฒนาทักษะแก่ตัวบุคคล เพื่อขยายความรู้และพัฒนาทักษะให้แก่กลุ่มผู้ป่วยต่อไป นอกจากนี้คณะผู้ดำเนินงานได้ยึดแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวาในการเพิ่มความสามารถของตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของผู้ป่วยเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มผู้ป่วยตระหนักถึงการดูแลทันตสุขภาพพร้อมทั้งได้ปรับระบบบริการสุขภาพเชิงรุกเน้นการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเพื่อลดปัญหาโรคในช่องปาก และทำให้ผู้สูงอายุ มีทันตสุขภาพที่ดีต่อไป
-
1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง และมีสุขภาพช่องปากที่ดีตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง และมีสุขภาพช่องปากที่ดีร้อยละ 80ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีทักษะการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธีและสะอาดตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีทักษะการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธีและสะอาด ร้อยละ 90ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงบริการทันตกรรมและได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุได้เข้าถึงบริการทันตกรรมและได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากร้อยละ 90ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. การส่งเสริมและป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มผู้สูงอายุรายละเอียด
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 400 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 400 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 2 รุ่นๆละ 40 คน รวม 80 คน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน รวมทั้งหมด 95 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 9,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 2 รุ่นๆละ 40 คน รวม 80 คน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน รวมทั้งหมด 95 คน จำนวน ๒ มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 9,500 บาท
- ค่ากระดาษโฟโต้ใช้สำหรับปริ้นเรื่อง การแปรงฟัน เพื่อแปะที่บ้านผู้สูงอายุ จำนวน 80 แผ่นๆละ
5 บาท เป็นเงิน 400 บาท - ค่าถุงผ้าลดโลกร้อนขนาด 12 x 14 นิ้ว จำนวน 80 ใบๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม เรื่อง การประเมินความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคในช่องปากของผู้สูงอายุ (แบบทดสอบก่อน-หลังให้ความรู้) จำนวน 160 แผ่นๆละ ๐.๕๐ สตางค์
เป็นเงิน 80 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม (แผ่นพับเรื่อง การป้องกันโรคฟันผุและดูแลสุขภาพช่องปาก) จำนวน 80 แผ่นๆละ 1 บาท (หน้า-หลัง)
เป็นเงิน 80 บาท - ค่าคู่มือ และสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปาก สำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 80 เล่มๆละ 60 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 750 บาท - ค่าป้ายไวนิลให้ความรู้ ขนาด 80 ซม. x 180 ซม. จำนวน 2 ผืนๆละ 360 บาท เป็นเงิน 720 บาท
รวมเป็นเงิน 34,630 บาทงบประมาณ 34,630.00 บาท - 2. กิจกรรมการประดิษฐ์นวัตกรรมแปรงสีฟันด้ามโต และสาธิตฝึกปฏิบัติการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันที่ถูกวิธี โดยใช้เม็ดสีย้อมฟันรายละเอียด
- ค่าแปรงสีฟันสำหรับผู้สูงอายุในการฝึกปฏิบัติการแปรงฟัน จำนวน 80 ด้ามๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่ายาสีฟันสำหรับผู้สูงอายุในการฝึกปฏิบัติการแปรงฟัน ขนาด 40 กรัมจำนวน 12 กล่องๆละ 30 บาท เป็นเงิน 360 บาท - ค่าน้ำยาบ้วนปากสำหรับผู้สูงอายุขนาด ๔๕ มิลลิลิตร จำนวน 80 ขวดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท- ค่าไหมขัดฟันแบบสอดใต้เหงือก จำนวน 80 อันๆละ 60 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท - ค่าเม็ดสีย้อมฟัน จำนวน 2 กระปุกๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าแก้วพลาสติกใสลอนสำหรับแปรงฟัน จำนวน 80 ใบ จำนวน 2 แพ็คๆละ 50 บาท เป็นเงิน 100 บาท - ค่าแฮนด์ยางจักรยานสำหรับทำแปรงสีฟันด้ามโต จำนวน 80 อันๆละ 39 บาท
เป็นเงิน 3,120 บาท รวมเป็นเงิน 15,780 บาทงบประมาณ 15,780.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
รวมงบประมาณโครงการ 50,410.00 บาท
๑. อัตราการเกิดโรคฟันผุของผู้สูงอายุลดลง ๒. ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ประชาชน ในชุมชนได้ 3. ผู้สูงอายุสามารถตรวจฟันด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง และได้รับบริการทางทันตกรรมอย่างทั่วถึง 4. เกิดการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีภายในชุมชน
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส รหัส กปท. L2535
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส รหัส กปท. L2535
อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................