กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพสูงวัย ชีวีมีสุข ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่

ชมรมผู้สูงอายุ อบต.วังใหญ่

นายชำนาญ วาจาสุจริต
นายชัชวาลย์ยกกระบัตร
นางสุมาลีล่องแก้ว
นางเล็กยกกระบัตร
นางสวาท นวลเพชร

ตำบลวังใหญ่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

 

20.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

50.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

30.00

ตำบลวังใหญ่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา แบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน มีประชากรรวมทั้งหมด 6,210 คน มีผู้สูงอายุ รวม 1,275 คน คิดเป็นร้อยละ 20.53 ของประชากรทั้งหมด มีกลุ่มผู้สูงอายุ 60 -69 ปี จำนวน 716 คน คิดเป็นร้อยละ 56.16 ของผู้สูงอายุทั้งหมด มีกลุ่มผู้สูงอายุ70 – 79 ปี จำนวน 357 คน คิดเป็นร้อยละ 28.00 ของผู้สูงอายุทั้งหมด มีกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 80 – 84 ปี จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 8.47 และผู้สูงอายุที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป จำนวน 94 คน คิดเป็นร้อยละ 7.37 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด และข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลวังใหญ่ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังใหญ่ ในปี 2566 พบว่า มีผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง จำนวน 25 คน ความดันโลหิตสูง 809 ราย เบาหวาน 78 ราย เป็นทั้งความดันโลหิตสูงและเบาหวาน 310 รายจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลวังใหญ่เพิ่มขึ้นทุกปี และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society)ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ควรพัฒนาสุขภาพในด้านร่างกาย ได้แก่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพ การบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง การพัฒนาทางด้านอารมณ์ ได้แก่ การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแนวคิดไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย หรือ 4 AMRTได้แก่ 1. Smart Walk ออกกำลังกายสมำ่เสมอเพื่อร่างกายที่แข็งแรง ไม่หกล้ม โดยผู้สูงอายุออกกำลังอายอย่างน้อย สัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 30 นาที2.) Smart Brain&Emotional ดูแลฝึกทักษะสมอง ส่งเสริมสุขภาพจิตและอารมณ์ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมในชมชรมผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุ รณรงค์ส่งเสริมพฤติการไม่สูบบุหรี่ 3.) Smart Sleep คือ นอนหลับอย่างเพียงพออย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง และ 4.) Smart Eat กินอาหารตามหลักโภชนาการ ครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม เน้นผัก ผลไม้ เลือกอาหารที่โปรตีนคุณภาพสูง เช่น ปลาทะเล ซึ่งมีโอเมก้า 3 สูง ช่วยบำรุงประสาท สายตา และสมอง ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี เพื่อความสามารถในการบดเคี้ยวอาหาร มีฟันใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ 4 คู่สบ ตลอดจนการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ความรอบรู้สำหรับประชาชนจึงจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุในพื้นที่ให้มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี การจัดกิจกรรมที่เป็นเหมือนสวนสาธารณะทางอารมณ์ที่จะเอาความเหงา ความเศร้า ความทุกข์มาปลดปล่อยและให้ผู้สูงอายุมารับรอยยิ้มจากเพื่อนวัยเดียวกัน ซึ่งบางครั้งผู้สูงอายุต้องการกำลังใจ ต้องการความอบอุ่น ต้องการพูดคุย จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าว ชมรมผู้สูงอายุอบต.วังใหญ่ จึงได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพสูงวัย ชีวีมีสุข ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

30.00 60.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

50.00 60.00
3 เพือลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

ลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

30.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการให้ความรู้เรื่องสุขภาพและตรวจสุขภาพเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการให้ความรู้เรื่องสุขภาพและตรวจสุขภาพเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการให้ความรู้เรื่องสุขภาพและตรวจสุขภาพเบื้องต้น 1. 11 อ.ให้สูงวัยแบบสตรอง 2.โรคมี่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 3.สิทธิในผู้สูงอายุและสถานการณ์ควรรู้เมื่อเข้าสู่สูงวัย 4.การปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อผู้สูงอายุ 5.การสร้างสุข 5 มิติ 6.การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและภาวะฉุกเฉินที่ควรพบแพทย์ 7.สมองเสื่อมในผู้สูงอายุและ

ค่าตอบแทนวิทยากรในการให้ความรู้ จำนวน 6 ครั้ง ๆละ 1 ชั่วโมงๆละ 500 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน 3,000 บาท

  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 6 ครั้งเป็นเงิน 10,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง  ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการอาหารแปรรูปสร้างรายได้ (คัดเฉพาะกลุ่มที่สนใจ/กลุ่มด้อยโอกาส)

-ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง x 300 บาท X 2 คน x1 ครั้ง= 1,200 บาท

-ค่าอุปกรณ์ทำอาหาร เช่น แป้ง น้ำมัน น้ำตาลทราย กะทะ กะละมัง เตาถ่าน ถ่าน และวัสดุอื่นๆ 5,000 บาท

1.วัสดุแปรรูปอาหาร

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x 25 บ. x 1 มื้อ x 1ครั้ง= 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ส่งเสริมรายได้ ลดรายจ่าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสัมพันธ์ผู้สูงอายุวังใหญ่ สุขภาพดี ชีวีมีสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสัมพันธ์ผู้สูงอายุวังใหญ่ สุขภาพดี ชีวีมีสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดแข่งขันกีฬามหาสนุกภายในชมรมโดยแบ่งเป็น 3 สี

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม 80 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 4,000 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม80 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 4,000 บาท

  • ค่าอุปกรณ์กีฬา ดังนี้
    1.แชร์บอลและตะกร้า 2 ชุด ๆละ400 บาท เป็นเงิน 800 บาท
    2.ลูกเปตอง พร้อม ลูกแก่น เปตอง 1 ชุดๆละ 1,500 บาท
    3.ตารางเก้าช่อง 4 แผ่นๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

-ค่าป้ายไวนิล 1 แผ่น ขนาด 1 เมตร x2 เมตร เป็นเงิน 300 บาท

-ป้ายกีฬาสี แดง เหลือง ฟ้าจำนวน 3 ป้ายๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตและสุขภาพกายดี สร้างเสริมความสามัคคี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,700.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองใช้ชีวิตตามรอยแห่งความพอเพียงมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและส่งเสริมสุขภาพสูงวัย ให้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตดี ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย


>