กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ โรงเรียนอนุบาลพงบูโล๊ะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

โรงเรียนอนุบาลพงบูโล๊ะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันนี้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการจมน้ำในเด็กปฐมวัยมีจำนวนมาก กลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า6ปีที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ มักเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมการจมน้ำ นับเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในเด็กปฐมวัยสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากระดับพัฒนาการของเด็กเอง เช่นเป็นวัยที่ชอบสำรวจวิ่งเล่น แต่ความสามารถในการทรงตัวยังไม่ค่อยดีนัก พลัดตกหกล้มได้ง่ายส่วนความเสี่ยงอื่นๆเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น บ้านอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่ไม่มีรั้วกั้นอย่างถูกต้องผู้ดูแลไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงหรือผู้ดูแลต้องดูแลเด็กหลายคนในเวลาเดียวกันแม้กระทั่งในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ถึงแม้จะไม่มีทะเล แม่น้ำ แหล่งน้ำตามธรรมชาติก็ตาม ยังมีเหตุการณ์เกิดจากการจมน้ำแต่อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการจมน้ำมักเป็นสาเหตุที่ป้องกันได้ การจัดให้มีพื้นที่เล่นที่เหมาะสมให้แก่เด็ก และการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครู ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และเด็กปฐมวัย การสอนให้เด็กใช้ชูชีพเมื่อต้องเดินทางทางน้ำ สอนการเลี้ยงตัวเมื่อตกน้ำ เพื่อให้โผล่พ้นน้ำชั่วขณะ และสอนให้ว่ายน้ำระยะสั้นๆเพ่อให้ตะกายเข้าฝั่งได้การช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้การจมน้ำ ฝึกทักษะการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัย
จากข้อมูลดังกล่าวทำให้โรงเรียนอนุบาลพงบูโล๊ะ กองการศึกษาเทศบาลเมืองสะเตงนอก ได้เห็นถึงความจำเป็นในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการบรรจุเรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยของสถานศึกษา โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กได้สอนให้เด็ก ซึ่งครูและผู้ปกครองถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องมีความรู้ ในการดูแลและสอนบุตรหลาน ให้รู้จักการช่วยเหลือตนเอง และหากเด็กจมน้ำต้องมีความรู้ความเข้าใจในการกู้ชีพหรือปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพงบูโล๊ะ จึงได้จัดทำ “ โครงการหนูน้อยปฐมวัยว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ” เพื่อฝึกทักษะเสริมประสบการณ์การว่ายน้ำและเล่นน้ำอย่างปลอดภัยให้กับเด็กปฐมวัย และการอบรมให้ความรู้ ป้องกัน และการช่วยเหลือที่ถูกต้อง หากพบเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ให้กับครูและผู้ปกครอง ขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการฝึกอบรมและปฏิบัติให้ความรู้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของประเด็นปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ

 

0.00
3 เพื่อสร้างทักษะให้กับเด็กในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายโครงการ
(ขนาด 1×3 เมตร จำนวน 1 ผืน)                         เป็นเงิน   900      บาท 2.ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในโครงการ - ค่าจัดทำแผ่นพับ                                                                                       เป็นเงิน   600       บาท
- ค่าป้ายวิธีการ/ขั้นตอนช่วยเหลือคนจมน้ำ
  (ขนาด   1×3 เมตร จำนวน 1 ผืน)                                     เป็นเงิน   900      บาท
- ค่าเข้าเล่มและจัดทำรูปเล่มหลักฐานเอกสาร,ค่าถ่ายเอกสาร,ค่าปริ้นรูป    เป็นเงิน   600      บาท 3. ค่าวิทยากร  1 วัน
- จำนวน 1 วัน วันละ 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 500 บาท)          เป็นเงิน   2,500    บาท 4. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ
(ผู้ปกครองจำนวน 48 คน  จำนวนบุคลากรในสถานศึกษา จำนวน 7 คน) - จำนวน 55 คน คนละ ๗๕ บาท                         เป็นเงิน   4,125    บาท
5.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
(ผู้ปกครองจำนวน 48 คน  จำนวนนักเรียน 60 คน จำนวนบุคลากรในสถานศึกษา จำนวน 7 คน) - จำนวน  115 คน คนละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ                    เป็นเงิน  8,050  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17675.00

กิจกรรมที่ 2 สาธิตการฝึกทักษะช่วยเหลือตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
สาธิตการฝึกทักษะช่วยเหลือตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร  1 วัน
    • จำนวน 1 วัน วันละ 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 500 บาท)          เป็นเงิน     2,500    บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ
    (จำนวนบุคลากรในสถานศึกษา จำนวน 7 คน)

- จำนวน 7 คน คนละ ๗๕ บาท                           เป็นเงิน        525   บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
(จำนวนนักเรียน 60 คน จำนวนบุคลากรในสถานศึกษา จำนวน 7 คน) - จำนวน  67 คน คนละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ                   เป็นเงิน     4,690   บาท 4.ค่าเสื้อชูชีพ (สำหรับเด็กปฐมวัย) ประกอบการสาธิต
- จำนวน  10  ตัว  ตัวละ 290 บาท                            เป็นเงิน      2,900   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10615.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,290.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครอง นักเรียน และบุคลากร ในสถานศึกษาได้รับความรู้ ความเข้าที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังป้องกันจมน้ำ
2. ผู้ปกครองสามารถเห็นความสำคัญของประเด็นปัญหาเดเกเสียชีวิต จากการจมน้ำ
3. เด็กนักเรียนได้รับทักษะในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
กับเด็ก สามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้


>