กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

รพ.สต.บ้านนาปะขอ

ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ ๒ บ้านพน(ประชุมเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงหมู่ที่ ๒ บ้านพน และหมู่ที่ ๗ บ้านวัดโตนด) ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ ๔ บ้านนาปะขอ ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ ๕ บ้านช่างทอง และศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ ๑๒ บ้านทุ่งเศรษฐี ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการเหตุผล
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมาเช่นโรคมะเร็งโรคต่อมไร้ท่อโรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอ ซึ่งมีเขตรับผิดชอบ จำนวน 5 หมู่บ้านได้แก่หมู่ที่ 2 บ้านพน หมู่ที่ 4 บ้านนาปะขอหมู่ที่ 5 บ้านช่างทอง หมู่ที่ 7 บ้านวัดโตนด และหมู่ที่ 12 บ้านทุ่งเศรษฐี ซึ่งทั้ง 5 หมู่บ้านประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมโดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการทำเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพาราทำสวนผลไม้และปลูกผักผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้างและยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่และจากการตรวจเลือดเกษตรกรปี 2565 พบว่า เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการประกอบอาชีพได้รับการตรวจคัดกรอง อยู่ในเกณฑ์ ไม่ปลอดภัย ไม่ปลอดภัย 0.83% (3 คน) มีความเสี่ยง4.97% (18 คน)ปลอดภัย32.87% (119 คน) และอยู่ในเกณฑ์ระดับปกติ 61.33% (222 คน)(จำนวนผู้เข้ารับการเจาะเลือด จำนวน 362 คน)
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงว่าเกษตรกรมีระดับความไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งนี้เนื่องจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้จึงส่งผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรงดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอจึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและผู้บริโภคได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพผู้มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

 

0.00
2 2. เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

 

0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ

 

0.00

1. เพื่อประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพผู้มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2. เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3. เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/07/2023

กำหนดเสร็จ 21/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โดยใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาปะขอโดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาปะขอ จำนวน 47,500 บาท (ห้าหมื่นสองพันสี่ร้อยบาทถ้วน) รายละเอียดดังนี้            1. การอบรมให้ความรู้และเจาะเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงแบ่งเป็น 4 รุ่น ดังนี้ 1.1. รุ่นที่ 1 วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 หมู่ที่ 2 บ้านพนและหมู่ที่ 7 บ้านวัดโตนด - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ 70 คน x 1 มื้อ x 60 บาท  เป็นเงิน 4,200 บาท             - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ 70 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท 1.2. รุ่นที่ 2 วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 หมู่ที่ 4 บ้านนาปะขอ - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ 90 คน x 1 มื้อ x 60 บาท  เป็นเงิน 5,400 บาท             - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ 90 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท 1.3. รุ่นที่ 3 วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 หมู่ที่ 5 บ้านช่างทอง             - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ 140 คน x 1 มื้อ x 60 บาท  เป็นเงิน 8,400 บาท             - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ 140 คน  x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท 1.4. รุ่นที่ 4 วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ 80 คน x 1 มื้อ x 60 บาท  เป็นเงิน 4,800 บาท             - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ 80 คน  x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท           2. ค่าไวนิลโครงการขนาด 1.5x3 เมตร ตารางเมตรละ 200 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 900 บาท           3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน x 1 ชม. x 600 บาท/วัน x 4 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท 4. ค่ากระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 4 กล่อง กล่องละ 1,050 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท 5. ค่าหลอด Micro Haematicrit tube (red) จำนวน 4 หลอด หลอดละ 260 บาท เป็นเงิน 1,040 บาท 6. ค่ารางจืดชนิดแคปซูล จำนวน 10 กล่อง กล่องละ 96 บาท เป็นเงิน 960 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 51,300 บาท (ห้าหมื่นหนึ่งพันสามร้อยบาทถ้วน) หมายเหตุ:ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กรกฎาคม 2566 ถึง 21 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชร้อยละ 80
2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชร้อยละ 80
3. ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้รับตวามรู้ด้านการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษร้อยละ 80


>