กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

ชมรมผู้สูงวัย ห่วงใยสุขภาพ

1. นายกอเฉ็มบูเดียะ
2. นายอาหมาดผลาอาด
3. นายกอเฉ็มเกปัน
4. นายสะมะแอมุหมีน
5. นายอับดุลเลาะห์บูเดียะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ขณะนี้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาวะพึ่งพิง หรือภาระโดยร่วมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยที่ยังมิได้คำนึงถึงเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูซึ่งสูงขึ้นตามอายุ ซึ่งขณะที่อัตราส่วนภาวะพึ่งพาของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้นปลายของชีวิต เป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลานเพราะมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆ ทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อยๆ ในผู้สูงอายุ ได้แก่ เกิดภาวะกระดูกหักง่าย สายตาไม่ดี หูตึง ฟันไม่ดี เป็นลมบ่อย เรอบ่อย ท้องผูก เบาหวาน หลงลืมบ่อย หัวใจและหลอดเลือด และปัญหาทางอารมณ์ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่พึ่งพาตนเองได้น้อยลง มีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตามระยะของการพัฒนาการ ซึ่งมีภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยลง มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม สาเหตุเนื่องจากผู้สูงอายุและครอบครัวให้ความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพน้อยลง ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ การต่อยอด การพัฒนาผู้สูงอายุไปสู่เป้าหมาย ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป ชมรมผู้สูงวัย ห่วงใยสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการสูงอายุสุขภาพดี ชีวิีมีสุข เพื่อเป็นการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ การจัดการอารมณ์ของตนเอง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสได้พบปะพูดคุยกันอันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีิวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รู้จักวิธีการในการดูแลตัวเอง ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ในการจัดการอารมณ์ของตนเอง ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รู้จักวิธีการในการดูแลตัวเอง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมการอบรม

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย สามารถรู้จักวิธีการดูแลตัวเองได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการสูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข

ชื่อกิจกรรม
โครงการสูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุในการดูแลตัวเอง
1.1 กิจกรรมให้ความรู้ผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพดี 1.2 กิจกรรมเดินรณรงค์ออกกำลังกายและพบปะพูดคุยพร้อมรับประทานอาหารเช้า จำนวน 3 ครั้ง จำนวน 3 วัน











  1. ประเมินผลโครงการสรุปกิจกรรมการดำเนินงานเสนอต่อผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอ  -ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน 5 ชม.ๆละ 300 บาท
    = 1,500 บาท
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 4 มื้อๆละ 25 บาท สำหรับผู้เข้าร่วม 80 คน = 8,000 บาท
    -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 80บาทx80 คน = 6,400 บาท
    -ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.00x3.00 เมตร จำนวน 1 ป้าย = 450 บาท
    -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.00x3.00 เมตร จำนวน 1 ป้าย = 450 บาท -ค่าโต๊ะพร้อมเก้าอี้ จำนวน 1 วัน = 1,400 บาท
    -ค่าเอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์เรื่องผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพดี  จำนวน 100 ชุดๆละ 20 บาท = 2,000 บาท -กระเป๋าผ้า จำนวน 80 ใบๆละ 60 บาท = 4,800 บาท
    รวม 25,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุในการดูแลตัวเอง
1.1 กิจกรรมให้ความรู้ผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพดี 1.2 กิจกรรมเดินรณรงค์ออกกำลังกายและพบปะพูดคุยพร้อมรับประทานอาหารเช้า จำนวน 3 ครั้ง จำนวน 3 วัน











  1. ประเมินผลโครงการสรุปกิจกรรมการดำเนินงานเสนอต่อผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอ  -ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน 5 ชม.ๆละ 300 บาท
    = 1,500 บาท
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 4 มื้อๆละ 25 บาท สำหรับผู้เข้าร่วม 80 คน = 8,000 บาท
    -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 80บาทx80 คน = 6,400 บาท
    -ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.00x3.00 เมตร จำนวน 1 ป้าย = 450 บาท
    -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.00x3.00 เมตร จำนวน 1 ป้าย = 450 บาท -ค่าโต๊ะพร้อมเก้าอี้ จำนวน 1 วัน = 1,400 บาท
    -ค่าเอกสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์เรื่องผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพดี  จำนวน 100 ชุดๆละ 20 บาท = 2,000 บาท -กระเป๋าผ้า จำนวน 80 ใบๆละ 60 บาท = 4,800 บาท
    รวม 25,000 บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้สูงอายุได้รู้จักวิธีการในการดูแลตัวเอง
2. ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ในการจัดการอารมณ์ของตนเอง
3. ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันอันจะเป็นการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุ


>