กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหม่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านของชำปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค ปี2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาหม่อม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อม

นายวิทูร ชิตมณี
นางสาวศศิธร ส่งศรี

ตำบลนาหม่อม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่๑เป็นต้นมา ได้มีการพัฒนานโยบายสาธารณสุขที่เน้นในการให้บริการรักษาพยาบาลโดยมีการขยายบริการให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจนกระทั่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่๙ที่ผ่านมาที่มีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางสุขภาพทั้งด้านการรักษาพยาบาลการ ฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคอย่างได้มาตรฐานเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยกำหนดยุทธศาสตร์นโยบายและแผนเพื่อให้มีการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลสุขภาพคนไทยตื่นตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพออกกำลังกายการใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่ปลอดภัยลดความเครียด เพื่อลดโรคที่สำคัญได้แก่ โรคหลอดเลือด และหัวใจความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและมะเร็งเป็นต้น
ในปีงบประมาณ ๒๕65 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อม พบว่า การใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือก ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ และจำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหม่อม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้จัดทำโครงการร้านขายของชำปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภคเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการร้านขายของชำในด้านการค้าขายการประกอบอาหารให้ถูกสุขลักษณะและมีคุณภาพผู้ประกอบการร้านชำจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง และจำหน่ายยาเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน ได้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ จำหน่ายให้กับ ประชาชนในชุมชนได้

ร้อยละ 100 ของร้านขายของชำจำหน่ายอาหารและเครื่องสำอางที่ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยา แต่ละชนิด และสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้

ร้อยละ 100ของร้านขายของชำจำหน่ายยาเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ เรื่องอาหาร ยา เครื่องสำอาง แก่ผู้ประกอบการ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ เรื่องอาหาร ยา เครื่องสำอาง แก่ผู้ประกอบการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 1 คน x 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 35 บาท x 2 มื้อ x 70 คน เป็นเงิน 4,900 บาท
  • ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด  1.5 x 2 เมตร ตารางเมตรละ 120 จำนวน 1 แผ่น แผ่นละ 360บาท
  • แบบทดสอบ ก่อน-หลังการอบรม จำนวน 140 ชุด ชุดละ 1 บาท เป็นเงิน 140 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 เมษายน 2566 ถึง 21 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้ 2.ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยา แต่ละชนิด และสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้ 3.เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความรู้ และคำแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน และผู้ประกอบการได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 2 ออกประเมินเบื้องต้น ให้คำแนะนำ และคัดเลือกร้านขายของชำมาตรฐานของแต่ละพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ออกประเมินเบื้องต้น ให้คำแนะนำ และคัดเลือกร้านขายของชำมาตรฐานของแต่ละพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แบบประเมินร้านขายของชำ จำนวน 70 ชุด ชุดละ 2 บาท เป็นเงิน 140 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
140.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจประเมิน สรุปผลการอบรม เพื่อวางแผนการดำเนินงานออกตรวจร้านขายของชำตามเกณฑ์มาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมิน สรุปผลการอบรม เพื่อวางแผนการดำเนินงานออกตรวจร้านขายของชำตามเกณฑ์มาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์ และขอความร่วมมือในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ร้านขายของชำในเขตพื้นที่ต่างๆ อย่างเหมาะสม และมีมาตรฐาน

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ และขอความร่วมมือในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ร้านขายของชำในเขตพื้นที่ต่างๆ อย่างเหมาะสม และมีมาตรฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แผ่นประชาสัมพันธ์การปฏิบัติต่างๆของร้านชำ จำนวน 70 ชุด ชุดละ 5 บาท 350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
350.00

กิจกรรมที่ 5 ประกาศผล และมอบรางวัลให้แก่ร้านขายของชำที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จากการประเมินของกรรมการและเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
ประกาศผล และมอบรางวัลให้แก่ร้านขายของชำที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จากการประเมินของกรรมการและเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ป้ายร้านขายของชำมาตรฐาน/เกียรติบัตร/ป้ายอะคิริค(ขนาด A๔) 70 ป้าย ป้ายละ 100 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,690.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑ ผู้ประกอบการสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้
๒ ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องประเภทของยา แต่ละชนิด และสามารถเลือกจำหน่ายเฉพาะยาสามัญประจำบ้านได้
๓ เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความรู้ และคำแนะนำในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน และผู้ประกอบการได้


>