กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอสม.น้อย ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงมัส

่หน่วยงานบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลระแงะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การที่เด็กวัยเรียนจะมีสุขภาพดี ต้องเริ่มปลูกฝังวิธีชีวิตสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมตั้งแต่ วัยเยาว์ โดยได้รับการส่งเสริมจากครอบครัว โรงเรียนชุมชน และสังคม การส่งเสริมบทบาทให้เด็กวัยเรียน แสดงศักยภาพในการช่วยเหลือดูแลสังคมและคนรอบข้าง ให้มีความรู้และทักษะในการดำเนินชีวิตที่ดี โดยมีลักษณะงานที่เป็นอาสาสมัคร โดยเน้นการจัดการสุขภาพตามสุขบัญัติแห่งชาติ ให้มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง และรู้จักป้องกันตนเองจากโรคและภัยต่างๆ
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิโรงพยาบาลระแงะได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ และนำความรู้ไปถ่ายทอดในครอบครัวและชุมชน เนื่องจากเป็นกำลังสำคัญในอนาคตในการดูแลทางด้านสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการอสม.น้อยเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพทางด้านสาธารณสุขมูลฐานให้กับเยาวชนให้มีความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ต่อให้กับเยาวชนในโรงเรียน ชุมชน และหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อการสร้างเสริมสุขภาพได้

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อการสร้างเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมสามารถปฎิบัติงานและดำเนินกิจกรรมทางด้านสุขภาพเบื้องต้ได้

ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับปฏิบัติได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปถ่ายทอดคามรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิด ครอบครัว ชุมชนได้

ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้ารับการอรมมีทักษะการถ่ายทอดความรู้เพิ่มมากขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 350
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคลละ 25 บาท * 2 มื้อ จำนวน 350 คน เป็นเงิน 17,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน คนละ 50 บาท * 350 คน เป็นเงิน 17,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท วันละ 6 ชั่วโมง จำนวน 7 วัน เป็นเงิน 12,600 บาท
  • ค่าเอกสารและวัสดุในการประชุม 350 คน
    1. สมุดเล่มล่ะ 10 บาท จำนวน 350 เล่ม
    2. ปากกาด้ามละ 10 บาท จำนวน 350 ด้าม
    3. กระเป๋าผ้าใบละ 75 บาท จำนวน 350 ใบ เป็นเงิน 33,250 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ผืน* 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
81850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 81,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนที่เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อเพือน โรงเรียน และชุมชน ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง มีความรู้ความเข้าใจและทักษะด้านสุขภาพ ที่สามารถนำมาใช้กับตนเอง ครอบครัว และสังคม ได้ร่วมสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ สังคม และชุมชน และได้ค้นพบศักยภาพในตัวเอง สามารภเป็นผู้นำด้านสุขภาพได้ นอกจากนี้ยังได้รับการพัฒนาเป็นนักจัดการสุขภาพในโรงเรียนและชุมชนต่อไป


>