กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

เทศบาลเมืองควนลัง

งานส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายบริการสาธารณสุข

ตำบลควนลัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

50.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

90.00

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นการพัฒนาคุณภาพประชากรซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลก่อนตั้งครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพมารดาและทารกปลอดภัยได้รับการดูแลครอบคลุมทั้งร่างกายจิตใจสังคมและจิตวิญญาณตามคำกล่าวที่ว่าลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยอย่างมีคุณภาพซึ่งผลจากการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ในปีที่ผ่านมาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคที่สามารถป้องกันและดูแลได้หากได้รับการดูแลที่เหมาะสมซึ่งหากได้รับคำแนะนำในเรื่องการปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์การได้รับความรู้เรื่องโภชนาการที่เหมาะสมสามารถส่งเสริมพัฒนาการของทารกในครรภ์และยังสามารถลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของแม่ตลอดจนความฉลาดทางสติปัญญา ( IQ ) ของเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มลดลงซึ่งปัจจัยที่เกิดจากปัญหาสุขภาพของแม่ได้แก่ภาวะทุพโภชนาการเช่นขาดไอโอดีนภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์หรือปัจจัยอื่น ๆเช่นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภาวการณ์คลอดก่อนกำหนดภาวะโรคต่าง ๆโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครแกนนำสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง ในพื้นที่ในการประสานงานการติดตามการเฝ้าระวังของหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับความปลอดภัย
เทศบาลเมืองควนลังได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เพื่อแก้ไขปัญหาอนามัยแม่และเด็กในปีพ.ศ.2565มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ167คนจากจำนวนที่ตั้งเป้าหมายไว้200คนคิดเป็นร้อยละ83.5ของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานพบว่าอัตราหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์12สัปดาห์จำนวน53คนคิดเป็นร้อยละ51.45หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ5ครั้งตามเกณฑ์จำนวน90คนคิดเป็นร้อยละ53.89มีภาวะโลหิตจางจำนวน22คนคิดเป็นร้อยละ13.17หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า20ปีจำนวน 31คนคิดเป้นร้อยละ18.56มีภาวะคลอดก่อนกำหนดจำนวน2รายคิดเป็นร้อยละ1.19
ดังนั้นเพื่อให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลเมืองควนลังในการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเทศบาลเมืองควนลังจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่รับผิดชอบของการดูแลอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและมีการต่อเนื่องในการส่งเสริมสุขภาพจึงได้นำปัญหาจากการดำเนินงานมาพัฒนาและแก้ไขอย่างมีระบบเพื่อลดอันตรายจากการตั้งครรภ์และอัตราการคลอดก่อนกำหนดเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างถูกวิธีการคลอดรวมทั้งส่งเสริมให้อาสาสมัครแกนนำสุขภาพเทศบาลเมืองควนลังเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานแบบเชิงรุกติดตามเยี่ยมและส่งเสริมการให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมทุกระยะของการตั้งครรภ์ส่งเสริมด้านโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะปัญหาที่สามารถป้องกันได้เช่นภาวะคลอดก่อนกำหนดหากผู้ดูแลครอบครัวและหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเข้าใจจะสามารถป้องกันได้ดังนั้นงานส่งเสริมสุขภาพฝ่ายบริการสาธารณสุขจึงได้จัดทำ“โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ปีงบประมาณพ.ศ.25๖6”ขึ้นโดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลังเป็นเงิน342,000.-บาท(เงินสามแสนสี่หมื่นสองพันบาทถ้วน)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

50.00 200.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 200
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าชุดส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก(ก่อน28 สัปดาห์ )จำนวน200คน ๆ ละ1ครั้งรวม200ชุด ๆ ละ500.-บาทเป็นเงิน100,000.-บาท(เงินหนึ่งแสนบาทถ้วน) ประกอบด้วย -นม UHTรสจีดขนาด180ml. 4 กล่อง/แพ็คจำนวน9แพ็ค -กระเป๋าผ้าพร้อมสกรีนชื่อโครงการ จำนวน1ใบ -ค่าชุดส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์จำนวน200คน ๆ ละ 3 ครั้งรวม600ชุด ๆ ละ400.- บาทเป็นเงิน 240,000.-บาท( เงินสองแสนสี่หมื่นบาทถ้วน ) ประกอบด้วย -นม UHTรสจีดขนาด180ml. 4 กล่อง/แพ็คจำนวน9แพ็ค -ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นในการดำเนินงานเป็นเงิน2,000.- บาท(เงินสองพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.  สามารถประชาสัมพันธ์และการสร้างกระแสการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ให้กับประชาชนในพื้นที่ 2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้  ความเข้าใจและสามารถนำไปดูแลตนเองในการประเมินภาวะแทรกซ้อนตามระยะของการตั้งครรภ์ตลอดจนมีการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
342000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 342,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถประชาสัมพันธ์และการสร้างกระแสการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ให้กับประชาชนในพื้นที่
2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปดูแลตนเองในการประเมินภาวะแทรกซ้อนตามระยะของการตั้งครรภ์ตลอดจนมีการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
3.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมทารกแรกเกิดมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า2,500กรัม


>