กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำปำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ติดตามกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน หมู่ที่ 11 บ้านชายคลอง ตำบลลำปำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำปำ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 11 ตำบลลำปำ

1 นางวิมลรัตน์ แสงอุทัย
2 นางทัศนีผอมทอง
3 นางสาวกานดา ปราบปัญจะ
4 นางสุพินยา เขียวเล่ง
5 นายอนันท์พิจิตรรัตน์

หมู่ที่ 11 ตำบลลำปำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในประเทศไทย อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ซึ่งสาเหตุหลักๆเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไปในจังหวัดพัทลุงมีผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง อันได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงมีจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และต้องประสบกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค เช่น เส้นเลือดในสมองแตก อัมพฤกษ์ อัมพาต เข้าไปอยู่ในชุมชนให้เห็นกันมากขึ้น
หมู่ที่ 11 บ้านชายคลองตำบลลำปำอำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุงมีประชากรทั้งสิ้น 329คนและแบ่งเป็นกลุ่มที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 151คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยแล้วจำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 21.19 และจากออกคัดกรองของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากประ ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 11 บ้านชายคลองพบว่ามีกลุ่มเสี่ยง( ค่าความดันมากกว่า 121-139/81-89 มิลิเมตรปรอท) จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 8รายคิดเป็นร้อยละ 5.30 และกลุ่มสงสัยป่วย (ค่าความดันมากกว่า 140-179/90-99 มิลิเมตรปรอท)จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.65 ซึ่งเป็นปัญหาที่ค่อนข้างมากชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 11 บ้านชายคลอง ตำบลลำปำ จึงเห็นความสำคัญในการแก้ปัญหาโดยเน้นกิจกรรมการให้ความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง โดยการติดตามวัดความดันโลหิตของผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความรุนแรงของโรคและ ลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่ ตลอดจนการแนะนำส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้ดำเนินการและรักษาต่ออย่างทันท่วงที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อติดตามวัดความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิต

8.00 8.00
2 เพื่อให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรค

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

8.00 8.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างทันถ่วงที

ร้อยละ 100 ของกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง

4.00 4.00
4 เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ

ร้อยละ 100 ของกลุ่มผู้ป่วยได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

32.00 32.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 32
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 12
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมติดตามวัดความดันโลหิตสูงกลุ่มเสี่ยง ที่ได้จากการคัดกรองความดันโลหิต ประจำปี ในกลุ่ม 35 ปี ขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามวัดความดันโลหิตสูงกลุ่มเสี่ยง ที่ได้จากการคัดกรองความดันโลหิต ประจำปี ในกลุ่ม 35 ปี ขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กลุ่มเสี่ยง (ค่าความดันโลหิต 121-139/81-89 มิลลิเมตรปรอท) ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิต เดือนละ 2 ครั้ง อย่างน้อย 3 เดือน
- ค่าครุภัณฑ์การแพทย์ เครื่องวัดความดัน  โลหิตแบบ อัตโนมัติ 2 เครื่องๆละ 3,300 บาท =    6,600   บาท
- ค่าถ่าน ขนาด 2 A จำนวน 6 แพ็ค    (แพ๊คละ 4 ก้อน)ราคา แพ๊คละ 75 บาท =  450    บาท
1.2 กลุ่มสงสัยป่วย (ค่าความดันโลหิต 140 -179 /90 -99 มิลลิเมตรปรอท) ติดตามเดือนละ 3 ครั้ง อย่างน้อย 3 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิต เดือนละ 2 ครั้ง อย่างน้อย 3 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7050.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามวัดความดันโลหิตสูงในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามวัดความดันโลหิตสูงในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 2 ติดตามวัดความดันโลหิต ในกลุ่มผู้ป่วย อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมบันทึกลงสมุดประจำตัวผู้ป่วย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ในกลุ่มผู้ป่วย ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิต อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมบันทึกลงสมุดประจำตัวผู้ป่วย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 การให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมความดันโลหิต รายบุคคล

ชื่อกิจกรรม
การให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมความดันโลหิต รายบุคคล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 2ลงติดตามกลุ่มเสี่ยง ให้ความรู้ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง รายบุคคล
-เครื่องช่างน้ำหนักผู้ใหญ่ จำนวน 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 1,250 บาท = 1,250บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 1 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการชั่งน้ำหนัก ความรู้ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง รายบุคคล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงมีความดันโลหิตลดลงมาสู่กลุ่มปกติ
2. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้และสามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค
3. กลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิต ได้รับการส่งต่อให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากประ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
4. กลุ่มป่วยที่ไม่สามารถมารับยาเองได้ และได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านเพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องมากขึ้น


>