กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
พื้นที่ตำบลสะเตงนอก เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ข้อมูลอัตราป่วยด้วย
โรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู ย้อนหลัง 5 ปี (2560-2565) ดังนี้ ปี 2561
คิดเป็น 92.64 ต่อประชากรแสนคน ปี 2562 คิดเป็น 76.21 ต่อประชากรแสนคน และในปี 2563 คิดเป็น 147.76 ต่อประชากรแสนคน ปี 2564 คิดเป็น 46.21 ต่อประชากรแสนคน และในปี 2565 คิดเป็น 37.76
จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน กรกฎาคม – ธันวาคมของทุกปี ชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้ตระหนักดีในบทบาทหน้าที่การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนและเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทุกกลุ่มอายุ ไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร

 

0.00
2 เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชน และหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่เห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยของภัยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
3 เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคไข้เลือดออก

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน 104
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่แกนนำครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่แกนนำครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับอบรมแกนนำครอบครัว จำนวน 60 คน X 75 บาท x 1 มื้อ X 1 วัน เป็นเงิน 4,500 บาท
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มสำหรับอบรมแกนนำครอบครัว จำนวน 60 คน X 35 บาท x 2 มื้อ X 1 วัน  เป็นเงิน 4,200 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 500 บาท X 5 ชั่วโมง X 1 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการรณรงค์ในชุมชน โดย อสม.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการรณรงค์ในชุมชน โดย อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มในการเดินรณรงค์ จำนวน 44 คน X 35 บาท X 3 ครั้ง เป็นเงิน 4,620 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับให้ความรู้ จำนวน 3,000 แผ่นๆละ 50 สตางค์ เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับให้ความรู้ จำนวน 3,000 แผ่น x 1 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9120.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่แกนนำนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่แกนนำนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มสำหรับอบรมแกนนำนักเรียน จำนวน 60 คน X 35 บาท x 2 มื้อ X 1 วัน  เป็นเงิน 4,200 บาท
  • ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.2 x 3 เมตร เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทุกกลุ่มอายุลดลงจากเดิม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
2. ประชาชน นักเรียนและหน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของภัยโรคไข้เลือดออก
3. ชุมชนและโรงเรียนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก


>