แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่ รหัส กปท. L4141
อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในอนาคต เด็กที่มีคุณภาพ คือ เด็กที่มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ สังคม มีพัฒนาการสมวัย และสุขภาพช่องปากที่ดี หากเด็กไม่ได้รับการประเมินสุขภาพ ภาวะโภชนาการ พัฒนาการ และสุขภาพช่องปาก จะส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมและสติปัญญา ทั้งนี้รวมถึงการสร้างภูมิต้านทานโรคซึ่งเด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนพื้นฐานครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลดอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เพื่อที่เด็กจะได้มีประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างเต็มที่ ไม่เจ็บป่วยบ่อยหรือเป็นนาน บิดา มารดา และครอบครัว คือบุคคลที่มีบทบาท สำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก และสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่เด็ก หากบิดา มารดา และครอบครัว ขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก จะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของเด็กในอนาคต
จากสถานการณ์เด็กปฐมวัยในพื้นที่ตำบลลำใหม่ ในปี 2564 และ ปี 2565 ที่ผ่านมาพบว่าเด็กปฐมวัยได้รับการคัดกรองและสมวัยครั้งแรก ร้อยละ 78.8 และร้อยละ 71.24 สงสัยพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 10.43 และร้อยละ 23.10 ด้านโภชนาการมีภาวะสูงดีสมส่วนร้อยละ 74.73 และร้อยละ 62.50 ตามลำดับ ซึ่งเด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอจะมีผลกระทบต่อเด็กได้ ในด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กอายุ 0-3 ปีได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากในปี 2564 71 ราย พบฟันผุ 1 ราย และในปี 2565 ได้รับการตรวจ 28 ราย พบฟันผุ 2 ราย จะเห็นได้ว่าเด็กที่เข้ามารับบริการตรวจสุขภาพช่องปากลดลง แต่ มีฟันผุเพิ่มมากขึ้นจากผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ปี 2566 (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566) ที่ผ่านมาพบว่าเด็กอายุครบ 1 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 52.83 % เด็กอายุครบ 2 ปีมีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 62.90 %เด็กอายุครบ 3 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 76.79 % และเด็กอายุครบ 5 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 68.63 % ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานครอบคลุมจึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุ 0-5 ปี ในอนาคตต่อไป
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำการส่งเสริมสุขภาพของเด็กปฐมวัย เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ เพื่อให้เด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญผู้ปกครองและอสม.ที่อยู่ในชุมชน จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการตรวจประเมินพัฒนาการด้วยตนเองเบื้องต้นได้ การเลือกอาหารที่เหมาะสมของเด็กปฐมวัย การส่งเสริมดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง เข้าใจและสามารถแนะนำการรับวัคซีนตามวัยได้ด้วย
-
1. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปีได้รับการคัดกรองพัฒนาการ โภชนาการ ตามวัยตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการ พัฒนาการ และการดูแลสุขภาพช่องปาก ของเด็กปฐมวัย ร้อยละ 90ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และอสม. มีทักษะความรู้เรื่องการดูแลช่องปากที่ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประเมินภาวะโภชนาการ ตรวจพัฒนาการตามวัย และแปรงฟัน ได้ถูกต้อง ร้อยละ 90ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 5 ปีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ตัวชี้วัด : เด็กอายุ 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ 90ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. อบรมให้ความรู้และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์รายละเอียด
จัดอบรมผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และอสม. ในพื้นที่ตำบลลำใหม่ ในเรื่องพัฒนาการ โภชนาการ การดูแลสุขภาพช่องปาก และวัคซีนตามเกณฑ์ที่เด็ก 0-5 ปีควรได้รับ รวมทั้งประโยชน์ของการได้รับวัคซีนครบและโทษของการไม่ได้รับวัคซีน โดยจัดอบรมทั้งหมด 160 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 80 คน (แต่ละรุ่นประกอบด้วย ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก 30 คน เด็กอายุ 0-5 ปี 30 คน และ อสม. 20 คน) ตรวจประเมินพัฒนาการ โภชนาการ และตรวจสุขภาพช่องปาก เคลือบฟลูออไรด์วานิช รณรงค์ฉีดวัคซีนในกลุ่มเด็กที่ไม่มาฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ ติดตามความครอบคลุมวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายทุกเดือน ติดตามผลการกระตุ้นพัฒนาการ ในกรณีที่พบสงสัยล่าช้า
ทดสอบความรู้ก่อนเข้ารับการอบรม
-ตรวจสุขภาพช่องปาก
-ตรวจประเมินโภชนาการและพัฒนาการตามวัย -บรรยายเรื่องโภชนาการเด็กปฐมวัย
-บรรยายเรื่องการประเมินและส่งเสริมสุขภาพเด็ก โดยคู่มือ DSPM -ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกอบอาหาร การตรวจพัฒนาการโดยใช้วัตถุดิบและเครื่องมือที่มีในชุมชน -สาธิตการประเมิน และกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยตามวัย-บรรยายเรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฟัน -บรรยายเรื่องโรคฟันผุในเด็ก 0-5 ปี -บรรยายเรื่องการแปรงฟันที่ถูกต้อง -สาธิตการแปรงฟันเด็กพร้อมฝึกปฏิบัติโดยผู้ปกครอง และอสม.
-บรรยายเรื่องความหมายและความสำคัญของวัคซีน -บรรยายเรื่องประเภทของวัคซีน -บรรยายเรื่องตารางการได้รับวัคซีน -บรรยายเรื่องความสามารถในการป้องกันโรค บรรยายเรื่องข้อห้ามและอาการข้างเคียงของวัคซีน
ค่าใช้จ่าย
-ค่าอาหารกลางวัน 60 บ. * 100 คน * 1 มื้อ (ไม่รวมเด็ก) เป็นเงิน 6,000 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บ. * 160 คน * 2 มื้อ เป็นเงิน 9,600 บาท
-ค่าวิทยากร 300 บ. * 5 ชม. * 2 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท
-ชุดส่งเสริมสุขภาพช่องปากและพัฒนาการ 350 บ. * 100 ชุด เป็นเงิน 35,000 บาท
-ป้ายไวนิลโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท
งบประมาณ 54,600.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 11 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
พื้นที่ตำบลลำใหม่
รวมงบประมาณโครงการ 54,600.00 บาท
- ร้อยละ 100 ของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และอสม.ได้รับการฝึกการทำความสะอาดช่องปาก และประเมินภาวะโภชนาการและการกระตุ้นพัฒนาการเบื้องต้น
- ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็ก 0-5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
- ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก มีความตระหนักในการพาเด็กมารับบริการตรวจประเมินพัฒนาการ โภชนาการ ตรวจสุขภาพช่องปาก และฉีดวัคซีน
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่ รหัส กปท. L4141
อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่ รหัส กปท. L4141
อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................