กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาแกะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนตาแกะรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาแกะ

สภาเด็กเเละเยาวชนตำบลตาเเกะ

1. นางสาวอารีณี มูซา
2. นางสาวนุรมี เวาะหะ
3. นายมะรูดี เเซมา
4. นางสาวไซดาน ปูซู
5. นางสาวฟุดลาร์ โด

หมู่ที่ 1-4 ตำบลตาเเกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

 

50.00
2 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปี ในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด

 

20.00
3 จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

 

4.00
4 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

 

25.00
5 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

 

50.00
6 จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

 

20.00

ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การเผยแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขยาเสพติด เป็นแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก " ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม " ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชนและในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็ก เยาวชน และประชาชน จำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้คนกลุ่มนี้ โดยเฉพาะ เด็ก และเยาวชนมีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม สามารถช่วยปลูกฝังคุณธรรมให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังมีบทบาทหน้าที่และภารกิจอีกหลายด้าน รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการร่วมกัน และในสภาพปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดมาในรูปแบบ และวิธีต่างๆ มากมาย เข้าไปสู่เด็ก เยาวชน และประชาชน ในชุมชนและสถานศึกษา ต่างๆ มากยิ่งขึ้น สภาเด็กเเละเยาวชนตำบลตาเเกะจึงมีความจำเป็นที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายา เสพติดไม่ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนไทย ส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

50.00 20.00
2 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปี ในชุมชน ที่มีการใช้สารเสพติด

20.00 10.00
3 เพื่อลดจำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมในชุมชน

4.00 1.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

25.00 100.00
5 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

50.00 100.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

20.00 40.00

1. เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด
2. เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยใช้คุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศาสนาแก่เด็ก เยาวชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางเเผนเพื่อจัดโครงการ เยาวชนตาแกะรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางเเผนเพื่อจัดโครงการ เยาวชนตาแกะรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 25 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 750 บาท
ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 25 ชุด ชุดละ 60 บาท เป็นเงิน 1500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 1 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ทีมงานวางเเผนระดมความคิด เเละหารือ เกี่ยวกับการทำโครงการเพื่อให้งานบรรลุจนสำเร็จผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษเเละพิษภัยของยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษเเละพิษภัยของยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 80 ชุด ชุดละ 60 บาท เป็นเงิน 4800 บาท
ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 80 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 2400 บาท
ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บาท
ค่าตอบเเทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 1800 บาท
วัสดุอุปกรณ์(ชุดเครื่องเขียน) จำนวน 80 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 4000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2567 ถึง 10 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของเด็ก เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด เเละปฏิบัติตนตามหลักศาสนาเพื่อห่างไกลยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13720.00

กิจกรรมที่ 3 เดินรณรงค์ป้องกันยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
เดินรณรงค์ป้องกันยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายไวนิลเดินรณรงค์ต้านยาเสพติด ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บาท
ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 84 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 2,520 บาท
ค่าหมวกกันเเดด จำนวน 84 ใบ ใบละ 50 บาท เป็นเงิน 4200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤษภาคม 2567 ถึง 11 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้ชาวบ้านในตำบลตาเเกะได้รับทราบเกี่ยวกับการรณรงค์การป้องกันยาเสพติด เเละสามารถหาเเนวทางป้องกันเเละร่วมมือเพื่อความมั่นคงภายในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7440.00

กิจกรรมที่ 4 เเลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่

ชื่อกิจกรรม
เเลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกสถานที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเช่ารถตู้ไม่ประจำทาง จำนวน 2 คัน คันละ 5500 บาท เป็นเงิน 11000 บาท
ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 24 ชุด ชุดละ 80 บาท เป็นเงิน 1920 บาท
ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 24 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 720 บาท

ค่าอาหารเย็นพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 24 ชุด ชุดละ 80 บาท เป็นเงิน 1920 บาท

ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 พฤษภาคม 2567 ถึง 12 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้เยาวชนได้ศึกษาเกี่ยวกับหมู่บ้านต่างถิ่นที่เข้มเเข็งด้านยาเสพติด เเละสามารถนำเเบบอย่างนำไปปรับใช้ให้กับหมู่บ้านตนเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16280.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามและประเมินผลโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการบริหารงานสภาเด็กและเยาวชนตำบลตาแกะ  เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการฯว่าเป็นอย่างไรบ้าง  เด็กในพื้นที่ตำบลตาแกะได้นำความรู้ที่ได้รับมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลยาเสพติดอย่างไรบ้าง  เด็กและเยาวชนลดวามเสี่ยงที่อาจไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หันมาใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 พฤษภาคม 2567 ถึง 14 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการฯว่าเป็นอย่างไรบ้าง  เด็กในพื้นที่ตำบลตาแกะได้นำความรู้ที่ได้รับมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ห่างไกลยาเสพติดอย่างไรบ้าง  เด็กและเยาวชนลดวามเสี่ยงที่อาจไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หันมาใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,690.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

หลังจากกลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการนี้เเล้ว ทางผู้จัดโครงการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับยาเสพติดจะนำไปใช้ประโยชน์ให้กับตนเองเเละชุมชนไม่มากก็น้อย


>