กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก 6-12 เดือน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน

1นางสาวมารียัมแวซู
2นางสาวแวซำซียะปารามัล
3นางแวนูรีตาบูงอ
4.นายมะรูดิงยาโงะ
5.นางสาวอามีซะห์มะแอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่งทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านในด้วย
จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน – 12 ปี ระหว่างปีพ.ศ.2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุกร้อยละ 26โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นและ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อ ให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กมีมากในสมองเป็นส่วนประกอบของไมอีลินชีท นิวโรทรานสมิตเตอร์ และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรคดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดนเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยได้แนะนำให้จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กอายุ 6 เดือน-5 ปีและยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนั้นยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง เมื่อเด็กอายุ 6-12 เดือน 3-6 ปี และคัดกรองเพิ่มเติมสำหรับวัยรุ่นหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน ทั้งนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน และหญิงวัยเจริญพันธ์ ดังนั้นการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากธาตุเหล็กในเด็ก (จ่ายเพิ่มเติม) จะช่วยกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กปฐมวัยและเด็กโตให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผลการดำเนินงานดูแลสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2565 พบว่า1) งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 46.87 (ข้อมูลจากโปรแกรมHDC)2) งานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปีร้อยละ 85.64 (ข้อมูลจากโปรแกรมHDC)3)งานส่งเสริมพัฒนาการ เด็ก 0-5 ปีพบว่ามีเด็ก 0-5 ปี ทุกคนมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 98.96 (ข้อมูลจากโปรแกรมHDC) 4)การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันเด็ก 0-5 ปีพบว่ามีเด็กอายุ 3-5 ปี ฟันผุร้อยละ 36.00 (ข้อมูลจากโปรแกรมHDC)และ 5) ภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6 - 12 เดือน พบว่าเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 23.08 (ข้อมูลจากโปรแกรมHDC)อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศระดับภาคที่กำหนดไว้ว่า ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือแนปีแนเห็นความสำคัญการดูแลสุขภาพของเด็กเกี่ยวกับภาวะโลหิตจางในเด็ก จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อคัดกรองและให้ความรู้เรื่องดังกล่าวแก่ผู้ปกครองพร้อมทั้งจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 6-12 เดือน

ชื่อกิจกรรม
โครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 6-12 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลประจัน จำนวน 30,700 บาทรายละเอียด ดังนี้ 1. ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร ในราคาตารางเมตรละ 300 บาทเป็นเงิน900บาท 2.ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ สำหรับซื้อยาเสริมธาตุเหล็กแก่เด็ก อายุ 6 เดือน – 12 เดือนครั้งละ 50 บาท จำนวน 25 คน คนละ 8 ครั้งเป็นเงิน 10,000 บาท 3. ค่าจ้างเหมาบริการติดตามเป้าหมาย คนละ 50 บาท จำนวน 25 คน จำนวน 25 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท
4. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ปกครองเด็ก
-ค่าอาหารกลางวันจำนวน 25 คนๆละ 70 บาท x 1 มื้อ x 1 วันเป็นเงิน1,750 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ x 1 วันเป็นเงิน1,250 บาท
-ค่าวิทยากรผู้เข้าอบรม จำนวน 1 คนๆละ 300 บาท x 6 ชั่วโมง x 1 วันเป็นเงิน 1,800 บาท -ค่าวัสดุสำนักงานในการจัดอบรม เป็นเงิน 4,000 บาท 5.ส่งเสริมความรู้ 5 Smart ชุดละ 200 บาท จำนวน 25 คนเป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 30,700 บาท รวมเป็นเงินทั้งโครงการ30,700 บาท(เงินสามหมื่นเจ็ดร้อยบาทถ้วน) หมายเหตุทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กไทยช่วงอายุ 6-12 เดือน ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางและยาเสริมธาตุเหล็กได้อย่างทั่วถึง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กไทยช่วงอายุ 6-12 เดือน ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางและยาเสริมธาตุเหล็กได้อย่างทั่วถึง


>