กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ตามที่รัฐบาลได้นำการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลัก และกำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการ พัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ บนหลักการสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพตนเอง และเพื่อนบ้าน ในรูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขหรือ อสม. เพื่อเป็นแกนนำด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ด้วยมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกและศรัทธาใน การพัฒนาอันเป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปธรรมการสร้างสุขภาพ นำการซ่อมสุขภาพอย่างยั่งยืนที่แท้จริง
กระทรวงสาธารณสุขได้มีการพัฒนาศักยภาพ อสม.อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งภาวะวิกฤติและ ภาวะปกติ ในหลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของพื้นที่ รวมทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์ ของงานสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อสุขภาพชุมชนโดยชุมชน กระทรวงสาธารณสุขได้ ดำเนินนโยบายการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขด้วยการดำเนินการอบรมฟื้นฟูความรู้ อสม. โดยมุ่งหวัง ว่าหาก อสม.ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นกลไกหลักสำหรับสร้างสังคมใหม่ที่มีคุณภาพ และการขับเคลื่อนสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่ดีกว่า
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร สาธารณสุข (อสม.) ให้สามารถดูแล และมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดการ แก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของ อสม. ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมี เป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี ทั้งหมด ๔ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ บ้านกะลูบี จำนวน ๑๓ คน หมู่ที่ ๒ บ้านยาเด๊ะ จำนวน ๑๑ คน หมู่ที่ ๕ บ้านไอจือเราะ จำนวน ๑๒ คน และหมู่ที่ ๗ บ้านไอร์ปูลง จำนวน ๑๑ คน ให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ ให้บริการและประสานงานกับชุมชนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อส่งเสริมให้ อสม. มีโอกาสเรียนรู้ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย
๒. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการสาธารณสุขเพื่อให้ อสม. สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. เพื่อส่งเสริมให้ อสม. ที่ได้รับการพัฒนาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น คัดกรองผู้ป่วย และสามารถดำเนินงานสุขภาพชุมชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ได้อย่างเข้มแข็ง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 47
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)

ชื่อกิจกรรม
โครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินการ
๑. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชนและการพัฒนา ศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผนและกำหนดทิศทางการพัฒนาศักยภาพ อสม.
๒. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและจัดทำแผนการดำเนินงาน
๓. ประสานงานและติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔. ประชาสัมพันธ์โครงการ
๕. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ทุกหมู่บ้าน ๖. เตรียมเอกสาร วัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ
๗. จัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.
๘. สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

งบประมาณดำเนินการ
                ขอสนับสนุนกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพตำบลมาโมง จำนวน 15,950 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันเก้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
โดยมีรายละเอียดการใช้จ่าย ดังนี้
๑.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรม และวิทยากร
(จำนวน ๔๙ คน x ๒ มื้อ x มื้อ ๓๕ บาท)                                เป็นเงิน ๓,๔๓๐ บาท
๒.ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรม และวิทยากร
(จำนวน ๔๙ คน x ๒ มื้อ x มื้อละ๖๐ บาท)                                  เป็นเงิน ๕,๘๘๐ บาท
๓. ค่าตอบแทนวิทยากร (จำนวน ๒ คนๆ ๓ ชั่วโมงๆ ละ ๕๐๐ บาท)            เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท
๔. ค่าวัสดุอุปกรณ์ได้แก่ สมุด ปากกา แฟ้ม ชุดละ ๔๖.๕๐ บาท x ๔๗ คน    เป็นเงิน ๒,๑๘๕ บาท ๕. ค่าจัดทำป้ายไวนิล ขนาด ๑x๓ เมตร จำนวน ๑ ผืน                  เป็นเงิน ๗๕๐ บาท ๖. ค่าแผ่นพับ จำนวน ๔๗ แผ่นๆละ ๑๕ บาท                      เป็นเงิน ๗๐๕ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๕,๙๕๐ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันเก้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) สามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งในด้านการ บริหาร วิชาการ และการปฏิบัติเพื่อยกระดับการบริการประชาชนและมีหน้าที่ในการสร้างสุขภาพและบริการของ ชุมชนตนเอง เพื่อให้ประชาชนพึ่งตนเองได้อย่างมีรูปธรรม รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุข สามารถนำประสบการณ์ ที่ได้รับไปใช้ในการศึกษาต่อเนื่องด้วยตนเอง


>