แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู รหัส กปท. L5313
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นางสาวอัปสร สุติก
นางสาวิตรี โอมเพียร
นางสาวจรรยาหยีสอีด
นางสาววิชชุดาลาเย็น
นางสาวรุวัยดาจิ้วจวบ
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่คุ้มค่ามากที่สุด คือ การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเต็มศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตดี มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างระบบภูมิต้านทานโรคและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เพื่อแก้ปัญหาเด็กๆ ที่ต้องไปโรงเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเช้า อันเนื่องจาก พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ต้องออกไปทำงานตั้งแต่เช้า ไม่ได้เตรียมอาหารเช้าไว้ให้สำหรับเด็ก บางรายพ่อแม่ผู้ปกครอง ให้เงินไว้เพื่อซื้ออาหารเช้า แต่เด็กกลับนำไปซื้อขนมทานเล่นแทน บางครอบครัวเด็กขาดแคลนแหล่งอาหาร ไม่มีเงินซื้อ ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแล การบริโภคอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการ จะส่งผลต่อระบบสมองและสมาธิในการเรียนรู้ของเด็ก เด็กบางคนต้องดื่มน้ำให้มากและบ่อยๆ เพื่อประทังความหิว เพื่อรอรับประทานอาหารกลางวัน การสนับสนุนอาหารเช้าสำหรับเด็ก จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เมื่อเด็กได้รับประทานอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียน จะทำให้เด็กมีความพร้อมและสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตลอดทั้งวัน เด็กร่าเริง แจ่มใส และร่วมทำกิจกรรมในสถานศึกษาได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเป็นการแบ่งเบาภาระผู้ปกครองที่ไม่มีเวลาดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่ และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหารของครอบครัวเด็กที่มีฐานะยากจน ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับโครงการนี้จากหลายๆ แหล่งพบว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินโครงการ ทั้งในด้านร่างกาย ด้านจิตใจและอารมณ์ที่ร่าเริงแจ่มใส สามารถตอบสนองในการทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น และด้านสังคม เด็กได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะการกินอาหารร่วมกัน การแบ่งปัน ที่สำคัญคือ เด็กสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน คือกินอาหารเช้ามากขึ้น อีกทั้งผู้ปกครองให้ความใส่ใจเรื่องอาหารเช้ามากขึ้นเช่นกัน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุดมีเขตบริการของศูนย์ คือ หมู่ 5 (บ้านทุ่ง), หมู่ 9 (บ้านคลองขุด), หมู่ 10 (บ้านห้วยไทร), หมู่ 11 (บ้านห้วยมะพร้าว), หมู่ 13 (บ้านทุ่งพัฒนา) และหมู่ 16 (บ้านคลองน้ำเค็ม) ในปีการศึกษา 2565 มีเด็กทั้งหมด 142 คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและดำเนินการจัดโครงการ สมองสดใส จิตใจเบิกบาน เพื่อให้เด็กได้รับอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและเสริมสร้างพัฒนาการ จึงต้องการวิตามินเสริมอาหารให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด มีเด็กทั้งหมด 142 คน พบว่าเด็กมีภาวะทุพโภชนาการจำนวน 53 คน เด็กผอมจำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 22.7เด็กอ้วนจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3
จากปัญหาดังกล่าวศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุดจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
-
1. เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์ตัวชี้วัด : นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์ลดลงขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัด : นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้กินอาหารที่เหมาะสมตามกับวัยขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัยตัวชี้วัด : ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัยขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
4. เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายตัวชี้วัด : นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมากอย่างน้อยที่สุด 60 นาที/วัน)ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. 1. เตรียมความพร้อมรายละเอียด
ขั้นตอนที่ 1 สำรวจสภาพปัญหาเรื่องของเด็กที่มีน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์และเด็กที่มีน้ำหนักเกิน โดยดูจากแบบบันทึกพัฒนาการเด็ก เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวจึงหาสาเหตุถึงสภาพปัญหาดังกล่าวจากการสำรวจพบว่ามีเด็กที่มีปัญหาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เด็กที่น้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่เร่งรีบกับการไปทำงาน จึงไม่มีเวลาจัดเตรียมอาหารเช้าให้กับเด็ก บางครั้งมักจะซื้ออาหารสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยวให้รับประทานแทนอาหารเช้า สอดคล้องกับสภาพเด็กที่ไม่ชอบทานอาหารเที่ยง เนื่องจากไม่ชอบรสชาติอาหารที่ไม่เหมือนกับอาหารสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยว ทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ไม่เหมาะสมตามวัย จำนวน 43 คน
กลุ่มที่ 2 เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอโครงการต่อกองศึกษาเพื่อนำเข้าแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นและนำโครงการเข้าแผนพัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากนั้นนำโครงการดังกล่าวเข้าสู่แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยกำหนดงบประมาณขอสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช.) ตำบลละงู ขั้นตอนที่ 3 ประชุมคณะครูเพื่อนำเสนอของบประมาณจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช.) ตำบลละงูงบประมาณ 0.00 บาท - 2. 2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้รายละเอียด
- ครูผู้ดูแลเด็กตรวจประเมินน้ำหนัก ส่วนสูง เพื่อเป็นการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก
- จดบันทึกพฤติกรรมการทานอาหารเช้าของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- ประเมินภาวะโภชนาการ ทุก 1 เดือน งบประมาณ
- ที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 ชุดๆละ 1,500 บาท
เป็นเงิน 1,500 บาท
งบประมาณ 1,500.00 บาท - 3. 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคลรายละเอียด
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็ก ตามหลักโภชนาการและภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย แนวทางแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย
- ครู จำนวน 5 คน - ผู้ปกครอง จำนวน 137 คน งบประมาณ - ค่าป้ายโครงการขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย
เป็นเงิน 346 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท
เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 142 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 8,520 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 142 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 7,100 บาท 17,766 บาทงบประมาณ 17,766.00 บาท - 4. 4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์รายละเอียด
- ครูผู้ดูแลเด็กจัดเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสมและมีประโยชน์กับเด็กที่มีภาวะโภชนาต่ำกว่าเกณฑ์ ทุกวันทำการ
- ติดตามและประเมินผลเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงด้านโภชนาการทุกๆ ๑ เดือน งบประมาณ
- จัดทำอาหารสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 53 คนๆละ 20 บาท จำนวน 8๐ วัน
เป็นเงิน 84,800 บาท - คู่มือสำหรับติดตามเด็ก
งบประมาณ 84,800.00 บาท - 5. 5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัวรายละเอียด
ครูและเด็กช่วยกันปลูกผักภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายที่มีประโยชนให้กับเด็กและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กทุกคนภายในศูนย์ฯ โดยมีครูเป็นพี่เลี้ยงและให้เด็กมีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับผิดชอบในการดูแลผัก เมื่อผักสามารถรับประทานได้จึงมีการเก็บผักมาปรุงอาหาร เพื่อให้เด็กกินผักที่ปลอดสารพิษโดยการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน - กิจกรรมปลูกผักทุกวันๆละ 1 ชั่วโมง งบประมาณ - ค่ากระถางต้นไม้ ขนาดไม่น้อยกว่า 10 นิ้ว จำนวน 10๐ กระถางๆละ ๒๐ บาท
เป็นเงิน 2,0๐๐ บาท - ค่าดินปลูก ถุงละ ๒๕ บาท จำนวน 20๐ ถุง
เป็นเงิน 5,0๐๐ บาท - ค่าพันธุ์ผักบุ้ง 3 กิโลกรัมๆละ ๒๔๐ บาท เป็นเงิน 720 บาท - ค่าพันธุ์ผักแบบซอง จำนวน 3๐ ซองๆละ ๒๕ บาท
เป็นเงิน 7๕๐ บาท - ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ จำนวน 3 กระสอบๆละ ๘๕๐ บาท
เป็นเงิน 2,550 บาท - เปลือกมะพร้าวสับ จำนวน 1๕ กระสอบๆละ ๗๐ บาท
เป็นเงิน 1,050 บาท - ค่าสายยางรดน้ำ 5 หุน (1/2 นิ้ว)
ความยาว 15 เมตร กิโลกรัมละ 120 บาท จำนวน 3 กิโลกรัม เป็นเงิน 360 บาท - ค่าบัวรดน้ำ ขนาด 8x10 นิ้ว จำนวน 5 อันๆละ 95 บาท เป็นเงิน 475 บาท - ค่าท่อ pvc ขนาด 1 นิ้ว ความยาว 1 เมตร จำนวน 10 เส้นๆละ 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท - ท่อเหล็กกลม 4 หุน ความยาว 6 เมตร จำนวน 5 เส้นๆละ 230 บาท เป็นเงิน 1,150 บาท - พลาสติกโรงเรือนใส ความกว้าง 36 เมตร จำนวน 5 ม้วนๆละ 75 บาท
เป็นเงิน 375 บาทงบประมาณ 14,930.00 บาท - 6. 6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกายรายละเอียด
- จัดทำตารางการเต้นแอโรบิคขั้นพื้นฐานที่เหมาะสำหรับเด็ก
- จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเต้นแอโรบิคในตอนเช้าทุกวันๆละ 1 ชั่วโมง งบประมาณ
งบประมาณ 7,900.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูล
รวมงบประมาณโครงการ 126,896.00 บาท
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู รหัส กปท. L5313
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู รหัส กปท. L5313
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................