กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประจัน

1นางสาตีปะห์สาแม
2นางรอปีอ๊ะ ยี่งอ
3นางแวนูรีตาบูงอ
4นายมะรูดิงยาโงะ
5นางสาวอามีซะห์มะแอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประจัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรง การดูแลสตรีตั้งครรภ์ทั่วไปที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผลการศึกษาพบว่าการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อมารดาและทารก ยังช่วยลดจำนวนครั้งการฝากครรภ์เหลือเพียง 4 ครั้ง จากมาตรฐานที่กำหนดประมาณ 8- 12 ครั้ง ลดทรัพยากรที่ไม่จำเป็นของสตรีตั้งครรภ์ อีกทั้งการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่กับการดูแลตามมาตรฐานเดิมไม่มีความแตกต่างกัน ในเรื่องภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หรือทารกแรกเกิดน้าหนักน้อย สตรีตั้งครรภ์จะได้รับการประเมินภาวะเสี่ยง จึงจะได้รับการดูแลตามระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ จะนัดหมายการดูแล 4 ครั้ง ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ และครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 36-38 สัปดาห์ ในแต่ละครั้งของการนัดตรวจจะกำหนดบริการพื้นฐานที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อสตรีตั้งครรภ์ มีการคัดกรองปัญหาสุขภาพที่ส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ ให้การรักษาให้การแนะนาให้ตระหนักและเฝ้าระวังปัญหาฉุกเฉินระหว่างตั้งครรภ์และการแก้ไขมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ ที่สะดวกรวดเร็ว
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประจัน จึงได้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกปรับองค์ประกอบของระบบดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงเป็นจานวน 5 ครั้ง โดยเพิ่มอีกหนึ่งครั้งเมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการมาดูแลครรภ์อย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งเพิ่มกิจกรรมบริการที่สตรีตั้งครรภ์จะได้รับและได้ปรับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กให้เนื้อหาสอดคล้องกับการดำเนินงานต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการ ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
โครงการ ส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลประจัน  จำนวน 29,100 บาท  รายละเอียด  ดังนี้            กิจกรรมประชุมให้ความเข้าใจ     - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คน x 50 บาท x 1 มื้อ    เป็นเงิน  3,500 บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 25 บาท x 2 มื้อ     เป็นเงิน  3,500 บาท     - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน  3,600  บาท     - ค่าป้ายโครงการฯ จำนวน 5 ผืน x 900 บาท        เป็นเงิน  4,500  บาท     - ชุดประกอบการอบรม 70 ชุด x 100 บาท        เป็นเงิน  7,000  บาท

           กิจกรรมเยี่ยมบ้านและประเมินความเสี่ยงการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์     - ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาเชิงรุก (บริการเยี่ยมบ้านและประเมินความเสี่ยงการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์)จำนวน 70 คนๆ ละ 100 บาท              เป็นเงิน 7,000 บาท
ตามชุดกิจกรรมดังนี้         - สำรวจค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่
        - ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์ - ประเมินภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก     รวมเงินทั้งหมดเป็น  29,100 บาท (สองหมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อสำรวจค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ และกระตุ้นให้มาฝากครรภ์เร็วที่สุด (ท้องปุ๊บ ฝากปั๊ป) ร้อยละ 90
    1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคือ หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 70 คน และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเอง ขณะตั้งครรภ์
  2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคือ หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 70 คน ได้รับการประเมินภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ถูกต้อง
2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางได้รับการดูแลรักษาอย่างครบถ้วน


>