กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัยรุ่น วัยใส ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านนอก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก

ตำบลบ้านนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มวัยรุ่น ผู้ปกครองและครอบครัวมีความรู้เข้าใจเรื่องเพศศึกษา พัฒนาการของตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น การตั้งครรภ์และการคลอดก่อนวัยอันควร และการป้องกันตัวเองจากพฤติกรรมเสี่ยง 2.เพื่อให้กลุ่มวัยรุ่น ผู้ปกครองและครอบครัวมีความรู้และทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ 3.เพื่อให้เครือข่าย อสม.มีความรู้ มีทักษะในการประเมิน คัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นในชุมชน

1.ทำแบบทดสอบ ก่อนการอบรม 2.ทำแบบทดสอบหลังการอบรม ผ่านไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัยรุ่น อายุ 15-19 ปี ในพื้นที่ กิจกรรมที่ 2 อบรม/แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลี้ยงลูกวัยรุ่นของพ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่น อายุ 15-19 ปี ในพื้นที่ กิจกรรมที่ 3 อสม.รอบรู้ เฝ้าระวังพฤติกรรมวัยรุ่นในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัยรุ่น อายุ 15-19 ปี ในพื้นที่ กิจกรรมที่ 2 อบรม/แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเลี้ยงลูกวัยรุ่นของพ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่น อายุ 15-19 ปี ในพื้นที่ กิจกรรมที่ 3 อสม.รอบรู้ เฝ้าระวังพฤติกรรมวัยรุ่นในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากร ชม.ละ 500 บาท จำนวน
6 ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1500 บาท - ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆ ละ 25 บาท
จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,500 บาท -ค่าป้ายดำเนินโครงการ ขนาด 1 เมตร ×2 เมตร จำนวน 1 ผืน  เป็นเงิน 500 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์     - ค่าปากกาเคมี  10 แท่งๆละ 20 บาท
เป็นเงิน 200 บาท     - ค่ากระดาษชาร์ต 10 แผ่นๆละ 20 บาท เป็นเงิน 200 บาท
-ค่าสื่อการสอน ตุ๊กตา จีน่า จำนวน 3 ชุดๆละ 700 บาท เป็นเงิน 2100 บาท

-ค่าวิทยากร ชม.ละ 500 บาท จำนวน
5 ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆ ละ 25 บาท
จำนวน 30 คน เป็นเงิน 1,500 บาท

-ค่าวิทยากร ชม.ละ 500 บาท จำนวน
6 ชม. เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 20 คน เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆ ละ 25 บาท
จำนวน 20 คน เป็นเงิน 1,000 บาท รวมงบประมาณ 20,000.-  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมในด้านต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้พฤติกรรมและวิถีแห่งการดำรงชีวิตของบุคคลในแต่ละช่วงวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ประชากรในวัยแรงงานต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อเข้าสู่ระบบการทำงานที่แข่งขันกันสูงในโลก โลกาภิวัตน์ พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องทำมาหากินเลี้ยงชีพ เป็นผลให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเกิดความเหินห่าง บางครอบครัวไม่สามารถดูแลบุตรหลานให้เติบโตได้อย่างมีคุณภาพ เยาวชนจำนวนมากไม่สามารถ รับมือกับความเปลี่ยนแปลงของตนเองเมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่นได้ วัยรุ่นเป็นช่วงวัยทีเชื่อมต่อระหว่างความเป็นเด็กกับผู้ใหญ่ เป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากลอง อารมณ์เปลี่ยนแปลงอ่อนไหว จึงอาจซึมซับและจดจำค่านิยม รวมถึงเลียนแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก แหล่งยั่วยุ หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ หากขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ (Unintended Pregnancy) หรือการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้โดยพบว่า วัยรุ่นมีแนวโน้มในการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานมากขึ้น น.ร.ชั้น ม. 2 และนักศึกษาระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 2 มีอายุเฉลี่ยของการมีเพศสัมพันธ์ลดลง (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค,2554) ประเทศไทยมีแม่ตั้งครรภ์โดยยังไม่พร้อมจะเลี้ยงลูกที่คลอดอีกจำนวนมาก ประมาณปีละ 800 ราย โดยในบ้านพักฉุกเฉินมีแม่วัยรุ่นมากถึงร้อยละ 30 ของผู้หญิงที่มาพัก (สุขภาพคนไทย,2553)
จากการติดตามสถานการณ์อนามัยเจริญพันธ์ในวัยรุ่นของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราการคลอดของหญิงอายุ 15-19 ปีมีแนวโน้มลดลง จากอัตรา 31.3 ในปี พ.ศ 2562 เป็นอัตรา 28.7 ในปี 2563 แต่ก็ยังเกินเกณฑ์ที่กำหนดนำมาซึ่งปัญหาต่างๆที่ตามมาในภายหลัง นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไขเนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีอายุน้อยลงมาก วัยรุ่นเหล่านี้จึงขาดวุฒิภาวะในการจัดการกับปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้น วัยรุ่นบางคนไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ทำให้ไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกาย และไม่ได้รับอาหารเสริม บุตรของแม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักน้อย บางรายหาทางออกโดยวิธีการทำแท้ง ผลจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยอาจทำให้ตกเลือด ติดเชื้อรุนแรง จนอาจเสียชีวิตได้ บางรายก็ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากอับอายส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นในอนาคต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ วัยรุ่น วัยใส ใส่ใจสุขภาพ…โดยอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายแกนนำ อสม.ร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นโครงการที่สอดคล้องกับปัญหาตามบริบทของพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนตามยุทธศาสตร์การให้บริการด้านสุขภาพ อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนของโครงการต่อไป


>