กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดี ชีวีสดใส ด้วยกีฬาและกิจกรรมนันทนาการ ปีงบประมาณพ.ศ.2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

ชมรม อสม.ทต.ปะลุรู

1.นางจันทิมา สติรักษ์
2.นางฮายาตี สารีฟ
3.นางอาสนา ไชยสนธ์
4.นางสาวสูหัยลาบินมะ
5.นางสาวนอนรห๊ะสะมะแอ

ในเขตเทศบาลตำบลปะลุรู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญซึ่งมีผลกระทบและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ โดยในปัจจุบัน เด็กและเยาวชน เป็นเป้าหมายของกระบวนการยาเสพติด เนื่องจากเป็นวัยที่เอื้อต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งติดปัจจัยจากตนเอง คือ เป็นวัยที่ต้องเรียนรู้ อยากลอง ต้องการค้นหาสร้างตนเอง มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง กล้าทำสิ่งท้าทาย จากสื่อของภาครัฐและเอกชน ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติค้ายาเสพติด พบว่า เด็กและเยาวชนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเริ่มมีอายุน้อยลง ดังนั้น การเรียนรู้วิธีป้องกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชน อาจเป็นวิธีที่จะสามารถปกป้องเด็กและเยาวชนจากปัญหายาเสพติด แต่อาจไม่เพียงพอที่จะป้องกันได้ตลอดเวลา หากชุมชนไม่ได้วางมาตรการที่รัดกุมและเข้มแข็งหรือไม่ได้กำหนดกิจกรรมที่เหมาะสมให้กับกลุ่มเป้าหมายนี้ จากการทำประชาคม พบว่า ในกลุ่มเยาวชนและประชาชนในวัยทำงาน มักมีกิจกรรมได้น้อยมาก ทำให้เปิดช่องทางของการหลงมัวเมาในสิ่งเสพติดเพิ่มขึ้น ดังนั้น ชุมชนจึงควรเพิ่มกิจกรรมที่ทำให้เยาวชนและกลุ่มวัยทำงานได้หันมาทำกิจกรรมที่เสริมสร้างสุขภาพและสร้างความผูกพันในชุมชนมากขึ้น ได้แก่ การออกกำลังกายร่วมกัน ซึ่งการออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยผ่อนคลายความเครียด นอนหลับสบาย มีสุขภาพดีขึ้น อีกทั้งยังลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ทั้งนี้จะพบว่ากีฬาเพื่อนบ้านหลากหลายชนิด มักมีการนำมาจัดกิจกรรมในชุมชน ถือเป็นการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชน ย่อมเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเป็นอย่างมาก
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลปะลุรู ได้ตระหนักถึงความสำคัญต่อการติดสารเสพติดในกลุ่มเยาวชนและกลุ่มวัยทำงาน และเห็นประโยชน์ของการออกกำลังกาย จึงได้จัดทำโครงการ สุขภาพดี ชีวีมีสุข ลดโรค ลดปัญหายาเสพติดในชุมชน ปีงบประมาณ 2566 ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันในชุมชนและเพิ่มกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในชุมชน ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมความรู้ เรื่องการป้องกันสารเสพติดอย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เรื่องการป้องกันสารเสพติดอย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมทักษะความรู้การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมทักษะความรู้การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 240
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมการให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมการให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมการให้ความรู้     -   เรื่องการป้องกันสารเสพติดอย่างถูกต้อง     -  แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดในสภาพแวดล้อมกลุ่มเสี่ยง - ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 3 รุ่นๆละ 80 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 3 รุ่นๆละ 80 คนๆละ 25 บาท * 2 มื้อ เป็นเงิน 12,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร ภาคทฤษฎี จำนวน 1 คน * 6 ชมๆละ 300 บาท * 3 วัน เป็นเงิน 5,400 บาท
- ค่าไวนิล 750 บาท

รายละเอียดค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30150.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลและวอลเลย์บอลที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
ฝึกทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอลและวอลเลย์บอลที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 3 รุ่นๆละ 50 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 240 คนๆละ 25 บาท *2 มื้อ เป็นเงิน 12,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน 2  คนๆละ 6 ชมๆละ 300 บาท * 3 วัน เป็นเงิน 10,800 บาท

  • ค่าวัสดุในการจัดอบรม
       -  ลูกฟุตซอล ลูกละ 500 บาท * 4 ลูก เป็นเงิน 2,000 บาท    -  มาร์กเกอร์ฟุตบอล ชุดละ 500 บาท * 1 ชุด เป็นเงิน 500 บาท    -  ลูกวอลเล่ย์บอล ลูกละ 500 บาท *  ลูก เป็นเงิน 1,500 บาท   - ชุดตาข่ายวอลเล่ย์บอล 700 บาท * 1 ชุด เป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 69,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมการออกกำลังกาย
- กลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมความรู้เรื่องการป้องกันสารเสพติดอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น
- ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในชุมชนเพิ่มขึ้น
- ชมรมออกกำลังกายได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป


>