กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกผักสวนครัว ปลอดภัยจากสารพิษ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

กลุ่มสตรีเทศบาลตำบลปะลุรู

1 นางสาวอาซียะมุทานิ
2.นางสางสตรีสะมะแอ
3.นางสาวรอฮานามุทานิ
4.นางสีตีรอยะห์หะมะ
5.นางฮาบีบะห์รอนิง

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลปะลุรู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพมีสาเหตุสำคัญมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีสารเคมี/สารพิษปลอมปน เนื่องจากผู้ผลิตมีการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องในแปลงปลูก ทำให้สารเคมีตกค้างอยู่ในผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลต่อผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งผู้ผลิตเองด้วย และการซื้อผักจากท้องตลาดซึ่งมีราคาค่อนข้างแพงและอาจมีสารเคมีตกค้าง ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโภชนาการด้านสุขภาพ การดูแลรักษาเมื่อเกิดการเจ็บป่วยนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อรับประทานเองจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการบริโภคอาหารปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการได้รับสารเคมี นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต รวมทั้งเป็นการสร้างคลังอาหารของครัวเรือนและชุมชนกลุ่มสตรีเทศบาลตำบลปะลุรู เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของประชาชน ลดเสี่ยง ลดโรค จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยและการบริโภคผักเพื่อสุขภาพ โดยการส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวสำหรับบริโภคในครัวเรือน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี มีการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถทำได้เองในครัวเรือน และการบริโภคผักเพื่อสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักและใส่ใจในสุขภาพ ผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลโรค ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนได้อีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการปลูกผักสวนครัว ที่ปลอดสารพิษ

ชุมชนมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรในชุมชน ร้อยละ 80

50.00 50.00
2 เพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ในการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน

ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริโภคการจัดการแหล่งอาหารที่ถูกต้องและปลอดภัย ร้อยละ 50

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ เรื่อง ผักปลอดสารพิษกับประโยชน์ในการป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่อง ผักปลอดสารพิษกับประโยชน์ในการป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการปลูก ดูแลรักษา และประโยชน์ของผัก การปลูกผักที่ปลอดภัย
    • กิจกรรม ให้ความรู้พร้อมสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ ป้องกันโรค ในโรงเรือนตัวอย่าง

ดำเนินกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ ป้องกันโรค
- สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก เพื่อการบริโภคผักปลอดสารพิษ ลดการเกิดโรค 1.ค่าอาหารกลางวัน สำหรับจำนวน 50 คนๆละ 50 บาท * 1 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท * 2 มื้อ เป็นเงิน2,500 บาท 3.ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 300 บาท * 6 ชม. เป็นเงิน 1,800 คน 4. ค่าป้ายไวนิล 750 บาท 5. ค่าอุปกรณ์ปุ๋ยอินทรีย์ 30 บาท * 50 คนๆละ 2 กิโล เป็นเงิน 3,000 บาท 6. เมล็ดพันธ์ผัก 1 ชุดๆละ 20 บาท * 50 คนเป็นเงิน 2,250 บาท (ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2023 ถึง 31 กรกฎาคม 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12800.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการลดการใช้สารเคมี หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการลดการใช้สารเคมี หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2.ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมการลดการใช้สารเคมี หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์
- อบรมการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ การทำ EM ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ 1. หัวเชื้อ EM 5 ลิตรๆละ 100 บาท เป็นเงิน500 บาท
2. ค่ากากน้ำตาล จำนวน 5 ลิตรๆละ 150 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2023 ถึง 31 กรกฎาคม 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้น
2.ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการรับประทานอาหารปลอดสารพิษและมีภาวะสุขภาพที่ดี
3.ประชาชนมีการปลูกผักปลอดสารพิษ รับประทานเองในครัวเรือน


>