กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ตามหลักปลอดเชื้อ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ตุยง

หมู่ที่ 1-8 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็ก เยาวชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศ (คน)

 

60.00

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นแนวปฏิบัติที่ต้องกระทำเพื่อการรักษาความสะอาด รวมทั้งช่วยป้องกันและลดปัญหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อHIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมเกิดมะเร็งที่องคชาติได้(นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร) นอกจากนี้การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย
จากบริบทพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือ “คีตาล(ภาษาอาหรับ) หรือ “ทำสุนัต”(ภาษามลายู)มักทำกับหมอบ้าน หรือ “โต๊ะมูเด็ง”จากความเชื่อและประเพณีของชุมชน โดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่า “การทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง”“การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน” เป็นต้นซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก(bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อคหรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
ดังนั้นกองสาธารสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ได้เล็งเห็นความสำคัญชองการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้การดูแลสุขภาพหลังการขลิบ (การป้องกันโรคและการเกิดโรคติดเชื้อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค

เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และประชาชน ได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพหลังการขลิบ (Circumcision) การป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

128.00 102.40
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมุสลิมได้ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision) ที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์

เด็กและเยาวชนชายได้ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (Circumcision) ที่ถูกต้องตามหลักการแพทย์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

64.00 51.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 64
กลุ่มวัยทำงาน 64
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/04/2023

กำหนดเสร็จ 15/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมองค์ความรู้

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมองค์ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้การดูแลสุขภาพหลังการขลิบ (การป้องกันโรคและการเกิดโรคติดเชื้อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครองเพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค

งบประมาณที่ใช้ - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 178คนๆละ25 บาทเป็นเงิน4,450 บาท (เด็ก=64 คน , ผู้ปกครอง=64 คน , คณะทำงาน=50 คน ) - ค่าวิทยากรให้ความรู้ 1 ชม เป็นเงิน600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 1 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง  มีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคและการเกิดโรคติดเชื้อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5050.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำ หัตถกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)

งบประมาณ - ค่าตอบแทนบริการทางการแพทย์จำนวน 64 คนๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน76,800 บาท - ค่าผ้าเปลี่ยนสำหรับเปลี่ยนหลังขลิบอวัยวะเพศจำนวน64 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 1 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เยาวชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการขลิบ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และไม่มีการติดเชื้อ
  2. ผู้ปกครองได้รับความพึงพอใจ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
80000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามและประเมินอาการหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศและความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก

งบประมาณ - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2566 ถึง 15 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เยาวชนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจ
  2. สร้างสัมพันธภาพที่ดี ระหว่างหน่วยงานราชการในพื้นที่กับประชาชน
  3. มีสรุปผลการดำเนินงาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 85,050.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. กิจกรรมเตรียมความพร้อม
1.1 จัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ
1.2 ประชาสัมพันธ์ โครงการ
1.3 จัดทำแผนกำหนดการ การให้ความรู้ บริการขลิบ และติดตามเยี่ยมหลังขลิบแก่เยาวชน
2. ให้ความรู้การดูแลสุขภาพหลังการขลิบ (การป้องกันโรคและการเกิดโรคติดเชื้อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครองเพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค
3. ทำ หัตถกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)
4. การติดตามและประเมินเพื่อติดตามและประเมินอาการหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศและความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก
5. สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศสามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด(bleeding)
2. เยาวชนและครอบครัว ได้ทราบถึงปัญหาและพิษภัยของโรคติดต่อโดยเฉพาะติดเชื้อทางเลือด
3. สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็งในการป้องกันโรคติดเชื้อและสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค


>