กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน

หมู่ที่ 4 บ้านต้นสน หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ หมู่ที่ 13บ้านทุ่งนายพัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คน และอีก 2 คนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เป็นต้น สำหรับโรคทางจิตเวชประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคทางจิตทั้งหมดจำนวน 1,152,044 ราย ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยในช่วงปลายวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 15-35 ปี ซึ่งเป็นช่วงชีวิตของการทำงานและการสร้างครอบครัว และจากการศึกษาดัชนีวัดความสูญเสียทางสุขภาพ หรือ DALYs พบว่า ในปี พ.ศ. 25๖4 คนไทยสูญเสียสุขภาวะ (DALYs) ทั้งที่ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพดี โดย 10 อันดับแรกสำหรับเพศชายมีโรคซึมเศร้าอยู่ในอันดับที่ 10 และในเพศหญิงโรคซึมเศร้าอยู่อันดับที่ 3 การสำรวจระดับชาติล่าสุดในปี 2564 พบคนไทยร้อยละ 14 หรือ 9 ล้านกว่าคนมีปัญหาสุขภาพจิตและในภาวะวิกฤต เช่น ภัยธรรมชาติ แผ่นดินไหว จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยทำงาน เมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำ เนินชีวิต การประกอบอาชีพทั้งของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตเอง คนใกล้ชิดและครอบครัว ชุมชนหากมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีและมีแนวทางในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตก็จะช่วยลดสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบเหล่านี้ลงได้ การส่งเสริมสุขภาพจิตคือ การส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศวัยได้รับการดูแลทางสังคมจิตใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และอยู่ในสิ่งแวดล้อม ครอบครัว สังคม ชุมชน ที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเกิดจากการที่สังคมชุมชนดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกายจิตใจและการที่ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต คือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช โดยการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ความเครียดระยะยาว ความก้าวร้าวรุนแรง และเพิ่มปัจจัยปกป้อง เช่น การให้กำลังใจ การช่วยเหลือด้านการอาชีพ แก่ประชาชนทุกเพศวัย การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตดำเนินการในกลุ่มประชาชนทุกเพศวัยในกลุ่มปกติ เช่น การจัดโปรแกรมการออกกำลังกายในที่ทำงานเพื่อลดความเครียด การจัดค่ายป้องกันยาเสพติดสำหรับวัยรุ่นและกลุ่มเสี่ยง เช่น การดูแลทางสังคมจิตใจกลุ่มวัยรุ่นตั้งครรภ์ การคัดกรองและดูแลทางสังคมจิตใจในผู้ป่วยโรคเรื้อรังการดูแลทางสังคมจิตใจผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง เป็นต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายให้มีความรู้ สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และประชาชนในชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดี

1.จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 2.อสม.และประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ90

0.00
2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

ชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/07/2023

กำหนดเสร็จ 07/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เสวนา “ปัญหาสังคม เปลี่ยนไว ใส่ใจสุขภาพจิต”แก่อสม.และประชาชนทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
เสวนา “ปัญหาสังคม เปลี่ยนไว ใส่ใจสุขภาพจิต”แก่อสม.และประชาชนทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเสวนา “ปัญหาสังคมเปลี่ยนไว ใส่ใจสุขภาพจิต”แก่อสม.และประชาชนทั่วไป จำนวน  80 คน
ค่าวิทยากร 1,800บ.x1คน = 1,800  บ. ค่าอาหารกลางวัน75บx80คนx1วัน = 6,000 บ. ค่าอาหารว่าง25บ.x80คนx2มื้อ=4,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2566 ถึง 6 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) มีการจัดกิจกรรมเสวนา “ปัญหาสังคมเปลี่ยนไว ใส่ใจสุขภาพจิต”แก่อสม.และประชาชนทั่วไป ผลลัพธ์ (Outcome) อสม.และประชาชนทั่วไป รับทราบ ปัญหาสุขภาพจิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฝึกทักษะปฏิบัติติและนันทนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกทักษะปฏิบัติติและนันทนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมฝึกทักษะปฏิบัติติและนันทนาการ แก่อสม.และประชาชนทั่วไป จำนวน  80 คน
การฝึกทักษะการปฎิบัติ  เช่นการฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ  การฝึกการหายใจ การทำสมาธิเบื้องต้น กิจกรรมนันทนาการ 1.เกมส์จำควาย  เป็นเกมส์ที่ฝึกการใช้สมองและความจำ อุปกรณ์ ไม่มี 2.เกมส์แพ้โดนทุบ เป็นเกมส์ต้องใช้ไหวพริบ ใช้สติอย่างมาก เพื่อที่จะต้องโฟกัสสิ่งที่เราต้องทำ อุปกรณ์ -ค้อนของเล่นที่มีเสียง -กะละมัง 3.เกมส์ขนย้ายผงขาว  เป็นเกมส์ที่ต้องใช้สมาธิ ต้องข่มใจ และโฟกัสแค่สิ่งที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น ถ้าเผลอหายใจแรงหรือหัวเราะออกมาจะทำให้แป้งที่เราประคองอยู่หกหรือปลิวไปได้ อุปกรณ์ จาน -แป้งเด็กกระป๋อง -กระดาษแข็ง -เก้าอี้ หรือโต๊ะวาง 2 ตัว 4.เกมส์กางเกงวิเศษณ์ เป็นเกมส์ฝึกสมาธิ ความคล่องตัว  ความว่องไว
อุปกรณ์ - กางเกงผ้ายางยืด 5.เกมส์ของของฉัน  เป็นเกมส์ที่ต้องใช้การฟัง การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว เพื่อต้องแย่งชิงคะแนน ชิงของจากคนที่อยู่ตรงข้ามได้ อุปกรณ์  ผ้าขนหนู
6.เกมส์รวมเหรียญ เป็นเกมส์ที่ฝึกทักษะการคิดเลข การรวมกลุ่ม ปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง อุปกรณ์  ไม่มี 7.เกมส์ส่งลูกบอลลอดใต้ขา เป็นเกมส์นันทนาการคลายเครียด  ฝึกสมาธิ  ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตื่นตัวตลอดเวลา
อุปกรณ์ ลูกบอล วิธีการเล่น:
1.ยืนเรียงแถว 2.ส่งบอลลอดใต้ขา 3.ทีมไหนถึงก่อนชนะ

งบประมาณ
ค่าอาหารกลางวัน75บx80คนx1วัน = 6,000 บ. ค่าอาหารว่าง25บ.x80คนx2มื้อ=4,000 บ. ค่าวัสดุโครงการ  2,500 บาท ประกอบด้วย -  ค้อนของเล่นที่มีเสียง จำนวน 6 อันx50บ.=300 บ.
-กะละมัง จำนวน 6 ใบx50บ.=300 บ.
-จาน  จำนวน 6 ใบ x 20บ.=120 บ.
-แป้งเด็กกระป๋อง จำนวน 2 กระป๋อง x50บ.=100 บ.
-กระดาษแข็ง จำนวน 6 แผ่น x20บ.=120 บ.
- กางเกงผ้ายางยืด จำนวน 6 ตัวx100บ.=600 บ.
- ผ้าขนหนูจำนวน 6 ผืนx60บ.=360 บ.
- ลูกบอล จำนวน 6 ลูก x100บ.=600 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กรกฎาคม 2566 ถึง 7 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,300.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อสม. และประชาชนสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติใช้กับตนเองและสามารถดูแลสุขภาพของครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดี


>