กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสู้ภัยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสู้ภัยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน

หมู่ที่ 4 บ้านต้นสน หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ หมู่ที่ 13บ้านทุ่งนายพัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเร่งด่วนของประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย หากผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซอ้นในหลายระบบของร่างกาย ทั้งภาวะแทรกซ้อนนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควรจากสถิติประเทศไทยพบว่าประมาณร้อยละ71ของการเสียชีวิตทั้งหมด เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการดำารงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจของผู้ป่วยและครอบครัวรวมทั้งประเทศชาติ ฉะนั้น การจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อประชากรกลุ่มนี้จะได้ลดภาวะการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบากจึงร่วมกับ อสม.ของหมู่บ้านจึงได้จัดทำโครงการเข้าค่ายสู้ภัยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสนตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2566 ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับรู้และใส่ใจด้านสุขภาพมากขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และภาระต่าง ๆ ต่อครอบครัวและสังคมด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีทักษะในการปรับเปลี่ยนทัศนคติด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ด้านอารมณ์ โดยผ่านฐานกิจกรรม

1.จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 2.ประเมินผลจากแบบทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

0.00
2 เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเกณฑ์ปกติ

1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ ร้อยละ 40
2. ผู้ป่วยโรคเบาความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ตามเกณฑ์ร้อยละ 50

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 55
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/07/2023

กำหนดเสร็จ 18/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง -ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓ อ 2 ส. อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์  ลด/เลิกบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-การวัดความดันโลหิตทุก  1-2 เดือน
-การตรวจวัดเบาหวานทุก  1-2 เดือน
-การรับประทานยาต่อเนื่อง
-การมาพบแพทย์ตามนัด - การป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ตรวจตา เท้า ปัสสาวะอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง

งบประมาณ
ค่าวิทยากร 1,500บ.x2คน = 3,000  บ. ค่าอาหารกลางวัน75บx55คนx2วัน  = 8,250 บ. ค่าอาหารว่าง25บ.x55คนx4มื้อ =5,500บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กรกฎาคม 2566 ถึง 18 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output)
ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,750.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณถัวเฉลียได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีทักษะในการปรับเปลี่ยนทัศนคติด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ด้านอารมณ์ โดยผ่านฐานกิจกรรมในค่ายที่ถูกต้อง
2. ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
3. ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับเกณฑ์ปกติได้


>