กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

กลุ่มแม่บ้าน(บ้านยาเด๊ะ)

1.นางสาวอาสมาวาตีลาเตะ
2.นางเจ๊ะซงเจ๊ะนาแว
3.นางสาวเจ๊ะบีเด๊าะอูเซ็ง
4.นางสาวรอฮีหม๊ะอับดุลรอมัน
5.นางสาวพรรณีแวสาเมาะ

หมู่ที่ ๒ บ้านยาเด๊ะ ต.มาโมง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพดีเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาการมีสุขภาพดีต้องเริ่มที่การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การเจ็บป่วยหลายโรคสามารถป้องกันได้ด้วยการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การที่คนเรามีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงย่อมทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคสามารถป้องกันโรคต่างๆได้หลายโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคอ้วนและโรคแทรกซ้อน ที่ยังมีระบาดอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการนำเอาสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนในการมาแปรรูปสมุนไพรเพื่อเป็นป้องกันและลดการเกิดโรคดังกล่าวยังไม่เป็นที่นิยมมากนักดังนั้นทางกลุ่มแม่บ้านได้เล็งเห็นความสำคัญของสมุนไพรที่มีอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก มาแปรรูปมาเป็นน้ำสมุนไพรเพื่อง่ายต่อการบริโภค อาจทำให้น้ำสมุนไพรเข้าถึงแก่คนทุกเพศทุกวัยมากขึ้น
ดังนั้นเราเห็นว่าเรื่องสุขภาพเป็นปัญหาที่มีการตื่นตัวและเห็นคุณค่าของสมุนไพรมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญและเห็นประโยชน์ของสมุนไพรในการสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและที่สำคัญมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลให้ประชาชนใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงได้จัดทำโครงการเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพขึ้น
ในการนี้ทางกลุ่มแม่บ้าน บ้านยาเด๊ะ จึงเขียนโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.มาโมงเพื่อทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยเป็นโครงการน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพในชุมชนบ้านยาเด๊ะซึ่งได้ทำงานร่วมองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่คอยให้การสนับสนุนการรณรงค์ให้ประชาชนมีสุขภาพดีกันถ้วนหน้าขึ้นในอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อชุมชนรู้จักได้ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์

 

0.00
2 2.เพื่อคนในชุมชนได้ตระหนักถึงเรื่องสุขภาพมากขึ้น

 

0.00
3 3.เพื่อให้กลุ่มแม่บ้านใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

 

0.00
4 4.เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ

 

0.00
5 5.เพื่อให้คนในชุมชนทุกคนมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่แข็งแรง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม/สาธิตการแปรรูปจากสมุนไพรเป็นเครื่องดื่ม

ชื่อกิจกรรม
อบรม/สาธิตการแปรรูปจากสมุนไพรเป็นเครื่องดื่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินงาน     มีการทำกิจกรรมทั้งหมด 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่  1     -ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและแบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ     -รวบรวมสภาพปัญหาและค้นหาสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ขั้นตอนที่  2     -คณะทำงานเก็บรวบรวมสำรวจในชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย     -วางแผนในการทำงานและวางระบบการดำเนินงาน     -การให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์สมุนไพรที่มีในท้องถิ่นอย่างถูกต้อง ขั้นตอนที่  3     -เชิญวิทยากรจากสาธารณสุข,วิทยากรที่ทำงานมีประสบการณ์ทำสำเร็จมาแลกเปลี่ยน
    -สาธิตการแปรรูปจากสมุนไพรเป็นเครื่องดื่ม งบประมาณทั้งสิ้น    ๑8,005 บาท เป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้ - 1,800 บาท เป็นค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย ๑ วัน 1 มื้อ X 30  คนX คนละ 6๐ บาท
- 1,050 บาท เป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหับผู้เข้าอบรมและเจ้าหน้าที่วิทยากร ๑ วัน 1 มื้อ 30 คน X คนละ 3๕ บาท - 2,000   บาท เป็นค่าวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและเพื่อสุขภาพที่ดี โดยวิทยากรด้านสาธารณะสุขและผู้เชี่ยวชาญ 4 ชั่วโมง Xชั่งโมงละ 500 บาท
ตลอดระยะเวลาอบรม ๑ วัน
-600 บาทค่าทำป้ายโครงการและป้ายรณรงค์การออกกำลังกายขนาด ๒๐๐ X ๑๒๐ ซ.ม. 1 แผ่นๆละ6๐๐ บาท
-1,000 เช่าเครื่องเสียง - 1,500 บาท เป็นค่าถุงผ้า จำนวน 30 ใบ ๆละ 50 บาท -450  บาทค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 30เล่มๆละ 15 บาท -450 บาทสมุดบันทึก จำนวน 30 เล่มๆละ 15 บาท -210 บาทค่าปากกาลูกลื่น จำนวน 30 ด้ามๆละ 7 บาท -2,400 บาทค่ากันเปื้อน จำนวน 30 ตัวๆละ 80 บาท -300 บาทถุงมือจำนวน 3 กล่องๆละ 100 บาท - 200 บาทค่าถุงดำ จำนวน 4 แพ็คๆละ 50 บาท
-1,500 บาทค่าบรรจุภัณฑ์ขนาด ๒50 มล. จำนวน 600 ใบๆละ2.50 บาท
-2,500 บาทค่าสติกเกอร์ขนาด 5 X 11 ซม. จำนวน 500 ดวงๆละ5บาท -2,045 บาทค่าวัตถุดิบ -น้ำตาล  -เกลือ –ตะไคร้ –มะนาว –ดอกดาหลา –ดอกอัญชัน  -ดอกกระเจี๊ยบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18005.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,005.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนเกิดมีสุขภาพที่แข็งแรง
2.ประชาชนมีลดการเกิดโรคเบาหวาน ความดัน และโรคอ้วน
3.คนในชุมชนใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์
4.ให้รู้คุณค่าของสมุนไพรในท้องถิ่น


>