กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

กลุ่มแม่บ้านไอตีมุง

1.นางชบา สุวรรณศรี
2.นางซ้อย ศรีสุวรรณ์
3.นางสาวสุวรรณีศรีสุวรรณ์
4.นางสาวงรรณดี ลายแก้ว
5.นางสาวนิติยาแซ่ชั่น

ศาลาอเนกประสงค์บ้านไอตีมุง ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่มีความสำคัญเกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่ของคนทุกคนในสังคม เนื่องจากเป็นอาชีพที่ผลิตอาหารที่ทุกคนต้องกินต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ก้าวสู่ยุคโลกาภิวัฒน์และยุคที่มีการแข่งขันทางการค้าการลงทุน ทำให้การประกอบอาชีพการเกษตรจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคและวิธีการที่เหมาะสม อีกทั้งประชาชนทั่วไปในปัจจุบันได้ตระหนักถึงความปลอดภัยด้านอาหารมากขึ้น เกษตรกรจึงต้องมีการผลิตให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัย เป็นแนวทางการเกษตรยั่งยืนต่อไป
ปัญหาสุขภาพที่สำคัญคืออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และมีเกษตรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีฯที่ไม่ถูกต้องปลอดภัยทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรังสารเคมีกำจักศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ เช่น มะเร็งสารเคมี กำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจ ละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทายอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรมการใช้สารเคมี ที่ไม่ปลอดภัยนั้นทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชน และผู้บริโภค มีความเสี่ยง จากการได้รับ อันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น เกษตรกรในบ้านไอตีมุง ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง สารเคมีตกค้างในกระแสเลือด
กลุ่มแม่บ้านไอตีมุง จึงตระหนักถึงปัญหาและความจำเป็นดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่บ้านไอตีมุง ผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัยช่วยลดต้นทุนการผลิต และมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและผลักดันให้ประชาชนประชาชนมีความรู้และมีการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการใช้สารเคมีที่มีพิษในการประกอบอาชีพเกษตรกร ที่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพตัวเกษตรกร และผู้บริโภค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกษตรกรในวัยทำงานทุกคนได้รับตรวจคัดกรองเกษตรกรที่มีความเสี่ยงต่อสากำจัด ศัตรูพืช

 

0.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และพฤติกรรมที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

 

0.00
3 3. เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีตกค้าง และลด ละ เลิกการใช้สารเคมีอันตรายในการเกษตร และหันมาใช้ปุ๋ยจากวัสดุธรรมชาติ รวมถึงการใช้สารชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ ๑ การอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชการสาธิตและฝึกปฏิบัติการใช้สารสกัดจากธรรมชาติ และตรวจสุขภาพเพื่อหาระดับสารเคมีในเลือด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑ การอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชการสาธิตและฝึกปฏิบัติการใช้สารสกัดจากธรรมชาติ และตรวจสุขภาพเพื่อหาระดับสารเคมีในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2x2.4 ม. จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท 2.ค่าวิทยากรจำนวน 4 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 3.ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 1 ครั้งๆ ละ 30 คน ๆ ละ 35 บาท
เป็นเงิน 1050 บาท 4.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 5.ชุดตรวจสารเคมีในเลือด ขอความอนุเคราะห์หน่วยงานสาธารณสุข กิจกรรมที่ 1 รวมเป็นเงิน7,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้และภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับการการทำเชื้อราป้องกัน พร้อมทำลายเชื้อราร้าย การทำปุ๋ยบำรุงอินทรีย์จากวัสดุธรรมชาติ สารกำจัดแมลงจากจากวัสดุธรรมชาติ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้และภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับการการทำเชื้อราป้องกัน พร้อมทำลายเชื้อราร้าย การทำปุ๋ยบำรุงอินทรีย์จากวัสดุธรรมชาติ สารกำจัดแมลงจากจากวัสดุธรรมชาติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากรจำนวน 4 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 3.ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 1 ครั้งๆ ละ 30 คน ๆ ละ 35 บาท
เป็นเงิน 1,050 บาท 4.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 5.ค่าวัสดุและอุปกรณ์ เป็นเงิน 9,110 บาท 5.1. เชื้อราป้องกันพร้อมทำลายเชื้อราร้าย (ไตรโคโดมา) เช่น - ข้าวสาร 1 กระสอบเป็นเงิน 600 บาท - ถุงร้อน 2 แพ็กเป็นเงิน100 บาท - ยางเส้น 1 ถุงเป็นเงิน 80 บาท - เข็มหมุด 1 กล่อง เป็นเงิน30บาท - ขวดสเปร์ 1 ขวด เป็นเงิน20 บาท - แอลกอฮอร์ 1 ขวดเป็นเงิน 50 บาท - หัวเชื้อ ขอความอนุเคราะห์สำนักงานเกษตร
รวมเป็นเงิน 880 บาท 5.2. การทำปุ๋ยบำรุงอินทรีย์จากวัสดุธรรมชาติ (ปลาหมัก) เช่น - ขวดโหลจำนวน 30 โหลๆ 50 บาท เป็นเงิน1,500 บาท - ปลาหรือเศษปลา 60 กก. เป็นเงิน 3,000 บาท - กากน้ำตาล 60 กก. เป็นเงิน 1,800 บาท รวมเป็นเงิน6,300บาท 5.3. สารกำจัดแมลงจากจากวัสดุธรรมชาติ เช่น - ยาเส้น 5 กก. ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 300 บาท - เหล้าขาว 10 ขวด ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - น้ำส้มสายชู 10 ขวด ๆ 20 บาท เป็นเงิน 200 บาท
- ถังน้ำ 1 ถัง เป็นเงิน 200 บาท - กรวย แบบมีตาข่าย เป็นเงิน30 บาท รวมเป็นเงิน 1,930 บาท
กิจกรรมที่ 2 รวมเป็นเงิน 14,360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14360.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,360.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักถึงพาภัยจากสารเคมี และหันมาใช้แนวทางการเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ
2. ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการตรวจคัดกรอง ความเสี่ยงต่อสารกำจัดศัตรูพืช
3. ผู้เข้ารับการอบรมปลูกผักปลอดสารพิษไว้ รับประทานในครัวเรือน

10.ตัวชี้วัด
1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และพฤติกรรมที่ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2. ผลตรวจสารเคมีในเลือด พบความเสี่ยงต่อสารเคมี


>