กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การพัฒนาทักษะประชาชนในชุมชน ในการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำอาหารสัตว์
2. การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน กิจกรรมการเรียนที่สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย 3R (ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่)
3. การเสริมสร้างองค์ความรู้ เทคนิคทางวิชาการ เทคโนโลยีที่หลากหลาย ให้แก่บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถวางแผน จัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
4. การจัดทำสื่อ คลิป หนังสั้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลด้านขยะและการจัดการขยะอย่างถูกต้อง มีความชัดเจนและเข้าใจง่ายให้ประชาชนได้รับทราบ
5. ให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกเรื่องหลีกเลี่ยงซื้ออาหารจานด่วน การซื้อสินค้าที่บรรจุภัณฑ์ใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. ให้ความรู้แม่ค้า ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารในการลดการใช้โฟม และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์แทนโฟม ถุงพลาสติก
7. รณรงค์ สร้างแคมเปญใช้แก้วน้ำ ขวดน้ำ แทนแก้ว ขวดพลาสติก
8. การสร้างแกนนำบุคคล ครัวเรือน ต้นแบบในการลดขยะในชีวิตประจำวัน
9. ร่วมกับร้านค้าชุมชนในการลดบรรจุภัณฑ์ โดยการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ลูกค้านำไปจากบ้าน เช่น ปิ่นโต กระเป๋า ถุงผ้า
10. การรณรงค์ สร้างจิตสำนึกเพื่อลดขยะที่ต้นทางในระดับครัวเรือน หน่วยงาน องค์กร
11. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ดำเนินการลดปริมาณขยะและคัดแยกขยะ ตามหลักการ 3Rs คือ ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เช่น การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก การใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่สามารถใช้ซ้ำในชีวิตประจำวัน เช่น กระบอกน้ำ ตะกร้า ปิ่นโต กล่องอาหารแบบพกพา การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฯ
12. สร้างจิตสำนึกในการรับประทานอาหาร ไม่ให้เหลือทิ้งทั้งในครัวเรือน โรงเรียน
13. สร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ลดการใช้กระดาษ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการขยะในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการแยกขยะในครัวเรือน โรงเรียน สำนักงาน หน่วยงานภาครัฐ ศาสนสถาน
2. สนับสนุนให้เกิดการหมุนเวียนขยะที่ยังใช้ได้มาใช้ใหม่ เช่น การจัดตั้งศูนย์รับซื้อของเก่า ทั้งของท้องถิ่นและเอกชน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถนำขยะประเภทที่หมุนเวียนมาใช้ใหม่ได้สะดวก
3. มีกลุ่ม/ศูนย์รับขยะ Recycle ในชุมชนของเอกชน
4. สร้างต้นแบบ เช่น ครัวเรือน โรงเรียน องค์กร หน่วยงาน ในการนำขยะหมุนเวียนมาใช้ใหม่ การนำขยะไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ
4. การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากขยะอินทรีย์ เช่น การนำเศษอาหารหรือผักจัดทำปุ๋ยหมัก หรือการเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน เชื่อมโยงกับกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูกอินทรีย์
5. ประกวดนวัตกรรมการ recycle ในชุมชน
6. สนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากขยะ เช่น การสร้างรองเท้าจากยางรถยนต์
7. จัดให้มีศูนย์รับซ่อมอุปกรณ์ เครื่องใช้ในชุมชน
8. จัดกิจกรรมสร้างแรงจูงใจด้านราคา เช่น โครงการใช้ถุงผ้า ปิ่นโต แก้ว ได้ราคาพิเศษ กิจกรรมหนึ่งแผงหนึ่งร้านหนึ่งถุงขยะอินทรีย์
9. มีศูนย์หรือกิจกรรมการบริจาคสิ่งของที่ยังสามารถใช้งานได้ ส่งต่อให้กลุ่มเป้าหมายอื่น เช่น เสื้อผ้า หนังสือ รถจักรยาน ฯ
10. จัดตั้งศูนย์การแลกเปลี่ยนของใช้ ศูนย์บริจาคของใช้
11. ทอดผ้าป่าขยะในชุมชน
12. จัดตั้งธนาคารขยะ/กองทุนขยะรีไซเคิล ตลาดนัดรีไซเคิล
13. สนับสนุนให้มีมาตรการจูงใจเพื่อให้มีการจัดการขยะที่ดี เช่น ให้มีรางวัลการจัดการขยะที่ดี และการใช้กลไกราคาเพื่อการคัดแยกขยะและจัดการขยะอย่างมีคุณภาพ
14. มีจุดรับขยะอันตรายในชุมชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบ กลไก
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การจัดตั้งเครือข่าย “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” เพื่อส่งเสริมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
2. การจัดให้มีกลไกอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมระดับหมู่บ้าน เป็นแกนนำต้นแบบในการจัดการขยะครบวงจร
3. การจัดให้มีกลไกสถานศึกษาโดยการผลักดันให้สถาบันการศึกษาทุกแห่ง มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นด้านการจัดการขยะอันตราย
4. การจัดให้มีกลไกตาวิเศษ ที่มีหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังจุดเสี่ยงต่อการทิ้งขยะสะสมในชุมชน เช่น ที่รกร้างว่างเปล่า ที่ลับตาผู้คน ที่ดินซึ่งมีการนำสิ่งของมาทิ้งประจำ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การส่งเสริมในกลุ่มคนในชุมชนสามารถจัดการข้อมูลเพื่อการจัดการขยะชุมชน โดยการสำรวจปริมาณขยะ และวิเคราะห์องค์ประกอบของขยะ โดยทีมอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมประจำหมู่บ้าน ทีม อสม. แกนนำเยาวชน ฯลฯ
2. ชุมชนสามารถจัดทำแผนชุมชนด้านการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล จัดทำแผนแก้ปัญหา กำหนดแผนงาน โครงการร่วมกัน ปฏิบัติร่วมกัน และร่วมติดตามประเมินผล
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการจัดการขยะในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การทำให้เกิดธรรมนูญสุขภาพ เรื่องการจัดการขยะชุมชน
2. การกำหนดกฎ มาตรการ กติกา หรือข้อตกลงร่วมเรื่องการจัดการขยะของชุมชน เช่น การคัดแยกขยะ การใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าจ่ายตลาด การส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะร้านอาหารและร้านค้าในชุมชน
3. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกา ธรรมนูญของชุมชนในการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มการใช้ปุ๋ยหมัก ลดการใช้สารเคมี ซึ่งจะส่งผลถึงการใช้ประโยชน์ขยะอินทรีย์ ลดบรรจุภัณฑ์สารเคมีซึ่งเป็นขยะอันตราย
4. การบังคับใช้กฏหมาย ข้อบัญญัติท้องถิ่นด้านการจัดการขยะตามที่กำหนดไว้
stars
แนวทางดำเนินงาน : การมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน เช่น การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้ การปลูกป่าชุมชน การปลูกต้นไม้ริมถนนเพื่อเป็นตัวกรองฝุ่นละออง
2. การจัดทำแนวป้องกันไฟ และการกำจัดเศษวัสดุ ขยะ ใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ริมทาง เพื่อไม่ให้มีเชื้อไฟและใช้เป็นแนวกันไฟ
3. การส่งเสริมการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อการจัดการไฟป่า การเผาพื้นที่การเกษตร ตามศักยภาพและบริบทของแต่ละพื้นที่
4. การส่งเสริมการเดินทางด้วยการเดินเท้า จักรยาน และรถโดยสารสาธารณะ
5. การสร้างหรือปรับปรุงทางจักรยาน เพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยจักรยาน ลดการใช้รถยนต์
6. การสร้างห้องปลอดฝุ่นสำหรับศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน สถานบริการสาธารณสุข
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ก่อนเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
- การให้ความรู้แก่ประชาชนและเกษตรกรในชุมชน รวมถึงชุมชนในประเทศเพื่อนบ้าน ถึงความสำคัญของป่า ผลกระทบที่เกิดจากไฟป่า การเผาในที่โล่งและหมอกควัน เพื่อลดการเผาในที่โล่ง
- การให้ความรู้แก่ประชาชนและเกษตรกรในชุมชน ด้านการจัดทำแนวป้องกันไฟ การกำจัดเศษวัสดุ ขยะ ใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ริมทาง เพื่อไม่ให้มีเชื้อไฟและใช้เป็นแนวกันไฟ
- การให้ความรู้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์ในชุมชนด้านการดูแล บำรุงรักษาเครื่องยนต์ขั้นพื้นฐาน เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องยนต์ ไม่ให้เสื่อมสภาพ ไม่เกิดควันดำ
- การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการตลอดจนผู้ปฎิบัติงานโรงงานอุตสาหกรรมในชุมชนด้านการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรืออุตสาหกรรมสีเขียว
- การสื่อสารชุมชนเพื่อการเข้าถึงข้อมูลสำหรับการติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยใช้ข้อมูลจากแอพพลิเคชั่น Air4Thai และเว็บไซต์ Air4Thai ของกรมควบคุมมลพิษ เว็บไซต์ www.cmuccdc.org (เครื่อง DustBoy) ของ ม.เชียงใหม่ หรือยักษ์ขาว ของ ม.แม่ฟ้าหลวง หรืออื่น ๆ ตลอดจนข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา
2. การดำเนินการระหว่างเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
- การสื่อสารถึงข้อมูลสถานการณ์ PM2.5 ที่ถูกต้อง เข้าใจง่าย และทันต่อสถานการณ์ให้แก่ชุมชน ผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น เสียงตามสายในชุมชน สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์
- การให้คำแนะนำประชาชนด้านการปฏิบัติตนและการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เช่น การสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น การลดเวลาหรืองดการทำกิจกรรมนอกบ้าน การเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้มีโรคประจำตัว
3. การพัฒนาทักษะของเกษตรกรในการแปรรูปเศษวัสดุการเกษตร (ข้าว ข้าวโพด และอ้อย) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การทำปุ๋ยหมัก การใช้เป็นอาหารสัตว์ การแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
4. การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน กิจกรรมการเรียนที่สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับฝุ่นละออง แหล่งกำเนิด และการจัดการฝุ่นละออง PM2.5
5. การจัดทำสื่อ คลิป หนังสั้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลด้านฝุ่นละออง ที่มีความชัดเจนและเข้าใจง่ายให้ประชาชนได้รับทราบ
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระบบและกลไกด้านการจัดการฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ รวมถึงพัฒนาคนในชุมชนให้สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ (การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง และหมอกควัน)
2. การจัดกลไกเฝ้าระวังจุดเสี่ยงในการเกิดไฟป่า
3. การจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครชุมชน หรือชุดปฏิบัติการระดับชุมชน เพื่อการสื่อสาร การเฝ้าระวัง และการดับไฟกรณีการเกิดไฟป่า หรือการเผาในพื้นที่โล่ง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ป้องกันภัยอำเภอ
4. การพัฒนาระบบกำกับติดตามการปฏิบัติตามที่กฎหมายหรือหน่วยงานกำหนดโดยชุมชนมีส่วนร่วม เช่น การควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด การไม่ให้มีการเผาในไร่อ้อย
5. การสร้างชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์ป่าไม้ ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในพื้นที่เกษตร และหมอกควัน
6. การเปิดคลินิกมลพิษและห้องปลอดฝุ่นในสถานบริการสาธารณสุขช่วงเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
stars
แนวทางดำเนินงาน : การทำกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสำรวจและจัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าและการเผาในที่โล่งในชุมชน
2. การจัดให้มีการซ้อมแผน การเผชิญเหตุระดับชุมชน
3. การสร้างแกนนำในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การมีนโยบายสาธารณะหรือกติกาชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกา ธรรมนูญของชุมชน ในการห้ามการเผาป่า การเผาในพื้นที่การเกษตร และการเผาในที่โล่ง
2. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกา ธรรมนูญของชุมชนในการลดมลพิษทางอากาศจากการคมนาคมขนส่ง เช่น การเดินหรือขี่จักรยานแทน การเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การใช้รถร่วมกัน หรือ Car pool อย่างทางเดียวกันไปด้วยกัน
3. การสร้างแนวปฏิบัติในการควบคุมฝุ่นละอองจากการก่อสร้างของชุมชน
4. การเจรจาเพื่อทำข้อตกลงร่วมระหว่างชุมชนในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ในการห้ามการเผาป่า การเผาในพื้นที่การเกษตร และการเผาในที่โล่ง
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
label_important
วิธีการสำคัญ
การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายการขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่เป็นการผลักดันให้ชุมชนมีนโยบาย ข้อตกลงร่วมกันของชุมชน ในการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย

วิธีการ

1. ผลักดันนโยบายศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนจัดรูปแบบกิจกรรมทางกายควบคู่กับกิจกรรมด้านอาหารและโภชนาการ
2. ผลักดันนโยบายการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา สถานประกอบการที่เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจ ความปลอดภัยในการมีกิจกรรมทางกาย
3. ร่วมสร้างนโยบายของหน่วยงาน สถานประกอบการ ในการจัดสรรเวลา สถานที่ และส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของพนักงาน
4. ร่วมสร้างข้อตกลงชุมชนในการใช้พื้นที่สาธารณะ การใช้เส้นทางสัญจร (เดิน/จักรยาน) ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
5. ผลักดันนโยบายสนับสนุนผู้สูงอายุเป็นจิตอาสาเป็นวิทยากรในสถานศึกษาต่าง ๆ
6. สนับสนุนข้อตกลงของชุมชนในการกำหนดให้มีการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายควบคู่กับการส่งเสริมกีฬาของเยาวชนในพื้นที่
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ทั้งพื้นที่ที่เป็นบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน

การสร้างพื้นที่สุขภาวะ โดยการทำให้สภาพแวดล้อมทั้งในสถานที่อยู่อาศัย สถานศึกษา สถานที่ทำ งาน สถานประกอบการในภาครัฐและเอกชน สถานบริการสุขภาพ ศาสนสถาน และพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย เป็นการช่วยให้ทุกคน ทุกภาคส่วน ทุกระดับ เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องกิจกรรมทางกาย

วิธีการ

1. จัดกิจกรรมที่เอื้อให้พ่อ-แม่ ลูก และผู้สูงวัยได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เดินปั่นสำรวจแหล่งวัฒนธรรม แหล่งสมุนไพร
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวให้กับคนในชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้การละเล่นไทย เช่น ตี่จับ/ กระโดดเชือก/ มวยไทย; และกีฬาไทย เช่น การเซิ้ง ร็องแง็ง  รำมวยไทย ตะกร้อลอดห่วง
3. ร่วมกันพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน ให้มีสิ่งจูงใจในการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การจัดแต่งขั้นบันไดด้วยภาพและเสียง
4. ส่งเสริมการปรับวิธีการสอนในสถานศึกษาให้เน้นมีกิจกรรมทางกายแทนการบรรยาย ให้การบ้านการมีกิจกรรมทางกาย การสะสมแต้มการมีกิจกรรมทางกาย จำนวนการเดินรอบสนาม และเนื้อหาวิชาสุขศึกษา พละศึกษาครอบคลุมการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวัน การเกษตรในโรงเรียน
5. จัดกิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตร การจัดการเศรษฐกิจชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น ปลูกพืชผักส่วนครัว กิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมการจัดการขยะ การลงแขกทำเกษตรแปลงรวม การปั่นจักรยานสำรวจแหล่งวัฒนธรรม ท่องเที่ยวในชุมชน กิจกรรมจิตอาสาอื่น ๆ
6. มีกิจกรรมทางกายสำหรับกลุ่มเฉพาะอาชีพเฉพาะ เช่น ทอผ้า พนักงานในสำนักงาน
7. ชุมชนร่วมกันจัดสภาพแวดล้อมในชุมชนให้สะอาด ปลอดภัยกับการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เช่น ทำความสะอาดเส้นทางสัญจรในชุมชนให้สะอาด ไม่มีสิ่งกีดขวางสำหรับการเดินปั่นจักรยาน;การลงแรงร่วมกันทำความสะอาด เก็บกิ่งไม้ สิ่งกีดขวางในพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการพักผ่อน วิ่งเล่น หรือออกกำลังกายอื่น ๆ
8. มีกิจกรรมต่าง ๆ ในสวนสาธารณะ เช่น ดนตรีในสวน ตลาดนัดสุขภาพ เดิน-วิ่ง-ปั่นจักรยานในสวน
9. พัฒนาต้นแบบสถานที่ทำงานที่จัดให้มีการเคลื่อนไหวระหว่างทำงาน จัดอาหารสำหรับประชุมที่เอื้อต่อสุขภาพ
10. สร้างพื้นที่ต้นแบบความร่วมมือของรัฐ ท้องถิ่น องค์กรธุรกิจ ในการสนับสนุนการใช้พื้นที่เพื่อการมีกิจกรรมทางกายของประชาชน
11. การสร้างพื้นที่ต้นแบบการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ มรดกวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ เพื่อการมีกิจกรรมทางกาย
12. ประกวดบ้านกระฉับกระเฉง ครอบครัว สถานที่ทำงาน ชุมชน ที่มีการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง รวมทั้งการรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม
13. ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มเด็กวัยเรียนทั้งในบ้าน โรงเรียน ชุมชนอย่างมีคุณภาพ/ปลอดโรค/ปลอดภัย
14. ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย/ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในสถานประกอบการ โปรแกรมองค์กรส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพผู้นำส่งเสริมสุขภาวะ เน้นความร่วมมือในระดับนโยบายในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย
15. พัฒนาและขยายผลต้นแบบเมืองสุขภาวะเพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ ขยายผลต้นแบบ ผลักดันให้เกิดนโยบายหรือแผนปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อวางรากฐานของเมืองสุขภาวะ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง
label_important
วิธีการสำคัญ
การเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง

การเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้ โดยสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของชุมชน ค้นหาแนวทางนวัตกรรมแก้ไขปัญหา การจัดทำแผนและโครงการ และมีการติดตามประเมินผล

วิธีการ

1. พัฒนาแนวทาง หรือรูปแบบการมีกิจกรรมทางกายในยุคชีวิตวิถีใหม่ จุดประกายให้เกิดวัฒนธรรมของการใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉง
2. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดทำแผนสุขภาพ การจัดทำโครงการที่มีคุณภาพ และติดตามประเมินผล
3. เสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนโดยดึงศักยภาพแกนนำและทรัพยากรที่มีในชุมชนมาสนับสนุนกำหนดอนาคตของชุมชนผ่านการทำแผนงานและโครงการ
4. บูรณาการกลไกขับเคลื่อนปฏิบัติตามแผนงานและโครงการ กลไกเช่น กลไกวิชาการ กลไกพี่เลี้ยง กลไกระดับท้องถิ่น กลไกระดับอำเภอ กลไกระดับจังหวัด และกลไกระดับเขต
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และทักษะส่วนบุคคล และการพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่าย ในเรื่องดังนี้ 1. การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 2. การทำแผนสุขภาพ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. การทำโครงการที่มีคุณภาพ 4. การติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และทักษะส่วนบุคคล และการพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่าย ในเรื่องดังนี้ 1. การส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 2. การทำแผนสุขภาพ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. การทำโครงการที่มีคุณภาพ 4. การติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ

วิธีการ

1. พัฒนาศักยภาพเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ การจัดทำแผน การจัดทำโครงการที่มีคุณภาพ และการติดตามประเมินผล
2. สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้บุคคลอื่นๆ ได้
3. สร้างการรับรู้กิจกรรมทางกายในระดับสาธารณะ สร้างการรับรู้กิจกรรมทางกายในยุค Next Normal ในระดับสาธารณะเพื่อเพิ่มความรู้ ความตระหนักสร้างวัฒนธรรมกิจกรรมทางกาย
4. ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวน้อย และกลุ่มเปราะบาง ส่งเสริมกิจกรรมทางกายในกลุ่มการเคลื่อนไหวน้อยและกลุ่มเปราะบาง โดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเน้นและผลักดันให้เกิดการวางรากฐานและการขยายผล
5. สร้างการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลายรูปแบบ ที่สอดคล้องกับวัยและวิถีการทำงานของกลุ่มอาชีพต่าง ๆเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรณรงค์เรื่องกิจกรรมทางกาย และการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนในชุมชน เช่น การจัดนิทรรศการ เสียงตามสายในโรงเรียน ชุมชน โบสถ์ มัสยิด
6. ผลิตสื่อ สื่อเอกสาร หนังสั้น คลิปสั้น เพื่อการเรียนรู้ เชิญชวนให้คนมีกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งด้านกิจกรรมทางกาย เพื่อให้สถานศึกษา หน่วยงาน องค์กร นำไปใช้ในระดับครัวเรือน ชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่ทำงาน
7. สร้างรูปแบบ นวัตกรรม คู่มือ และสื่อการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้และการเล่นอย่างสร้างสรรค์ (Active learning active play) ในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน พัฒนาหลักสูตรในพื้นที่ และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่สอดแทรกเนื้อหา วิธีการสอนที่เน้นการมีกิจกรรมทางกาย เช่น เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมปลูกป่า เดินสำรวจสมุนไพร กีฬาและการละเล่นไทย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
การปรับระบบบริการสุขภาพที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนการสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกาย ทั้งภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจเครือข่ายศาสนา และภาคประชาชน

วิธีการ

1. พัฒนาความร่วมมือในการใช้สนามในสถานที่ราชการ หรือเอกชนหลังเลิกงานเพื่อนันทนาการและออกกำลังกายสำหรับประชาชน
2. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น/พื้นที่ให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย
3. สร้างความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงานในการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น แสงสว่างในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนยามค่ำคืน
4. ร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุข การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ศึกษาธิการ (ศธ.) ในการสนับสนุนการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
5. การสนับสนุนกลุ่มชมรมต่างๆ ในชุมชนเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เช่น ชมรมเดินวิ่ง ชมรมปั่นจักรยาน ชมรมผู้อายุ ชมรมแอโรบิค ชมรมกีฬาต่างๆในชุมชน
6. พัฒนาระบบสนับสนุน และนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง ระบบเฝ้าระวังสถานการณ์ ฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศ ด้านกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมทางสุขภาพในมิติที่เกี่ยวข้อง กลไกผลักดันให้เกิดนโยบาย มาตรการหรือกลไกขยายผลนโยบาย