กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารดี สุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามใต้

โรงเรียนวัดนานอน

1. นางสาวซอฟียะฮ์ เอ็มบุตร
2. นางสาวศุภลักษณ์ หย้งแก้ว
3. นางสาวจันทร์อุมา กิ้มนวน
4. นางรัตน์นาภรณ์ นกรู้รัก
5. นางอรณี จิตรแก้ว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพดี อาหารช่วยเสริมสร้างร่างกายให้เจริญเติบโตตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์มารดาจนเป็นผู้ใหญ่และดำรงชีวิตอยู่ จนสิ้นอายุขัย อาหารเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ให้สารอาหารหลายอย่างที่จำเป็นต่อร่างกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วนทั้งด้านปริมาณและคุณภาพในแต่ละวัน เรียกได้ว่ากินอาหารให้ถูกส่วน ทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ มีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย ควรรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการโดยเน้นความหลากหลายและความสมดุลของคุณค่า อาหารที่ให้ความสำคัญกับสัดส่วนของอาหารที่เหมาะสมตามวัยเพื่อให้มีการพัฒนาสมวัยทั้งร่างกายและสมอง ห่างไกลจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภค เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในปัจจุบันเด็กยังขาดความรู้เรื่องหลักโภชนาการ การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง และคุณค่าทางอาหารที่รับประทาน การดูแลเรื่องอาหารการกินสำหรับเด็กจึงเป็นสิ่งที่ควรตระหนักยิ่ง โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก ซึ่งเป็นช่วงวัยแห่งการพัฒนาด้านต่างๆ ของร่างกาย การส่งเสริมโภชนาการของเด็กวัยเรียน เกี่ยวกับการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการของเด็กวัยเรียน เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ทำให้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
โรงเรียนวัดนานอน จึงได้จัดทำโครงการอาหารดี สุขภาพดี ขึ้นเพื่อสร้างความรู้ในเรื่องคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่รับประทานให้กับครู บุคลากรและนักเรียน ให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่รับประทานและนักเรียนสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของตนเองเพื่อให้มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง ปลอดจากโรคภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อส่งเสริมให้ครู บุคลากรและนักเรียนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่รับประทาน

ข้อที่ 1. ครู บุคลากรและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่รับประทาน ร้อยละ 90

80.00 80.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ครู บุคลากรและนักเรียนสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของตนเอง

ข้อที่ 2. ครู บุคลากรและนักเรียนสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของตนเอง ร้อยละ 80

80.00 80.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้ครู บุคลากรและนักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง ปลอดจากโรคภัย

ข้อที่ 3. ครู บุคลากรและนักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง ปลอดจากโรคภัย ร้อยละ 90

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 246
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้แก่คณะครู บุคลากรและนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้แก่คณะครู บุคลากรและนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 266 คน เป็นเงิน 6,650 บาท
  • ค่าชุดตรวจโภชนาการอาหาร จำนวน 9 ชุดๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 6,300 บาท
  • ค่ากิจกรรมฐานความรู้และค่าวัสดุอุปกรณ์ประจำฐาน เป็นเงิน 5,850 บาท แบ่งเป็น ฐานที่ 1 ปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม เป็นเงิน 915 บาท ได้แก่
                - นมจืด จำนวน 2 แพคๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 90 บาท             - นมเปรี้ยว จำนวน 2 แพคๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 90 บาท             - นมช๊อคโกแลต จำนวน 1 แพคๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 120  บาท             - น้ำอัดลม จำนวน 5 ขวดๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 125 บาท             - น้ำผลไม้ จำนวน 2 แพคๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 130 บาท             - น้ำผัก จำนวน 2 แพคๆ ละ 55 บาท เป็นเงิน 110 บาท             - กาแฟ จำนวน 5 กระป๋องๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท             - น้ำผลไม้ปั่น จำนวน 5 แก้วๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 150 บาท ฐานที่ 2 ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุง เป็นเงิน 1,460 บาท ได้แก่
                - ซอสถั่วเหลือง จำนวน 5 ขวดๆ ละ 54 บาท เป็นเงิน 270 บาท             - น้ำปลา จำนวน 5 ขวดๆ ละ 28 บาท เป็นเงิน 140 บาท             - ซีอิ้วดำ จำนวน 5 ขวดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 150 บาท             - ซีอิ้วขาว จำนวน 5 ขวดๆ ละ 38 บาท เป็นเงิน 190 บาท             - ซอสหอยนางรม จำนวน 5 ขวดๆ ละ 25 เป็นเงิน 125  บาท             - เต้าเจี้ยว จำนวน 5 ขวดๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 175 บาท             - ซอสปรุงรสฝาเขียว จำนวน 5 ขวดๆ ละ 27 บาท เป็นเงิน 135 บาท             - ซอสมะเขือเทศ จำนวน 5 ขวดๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 100  บาท             - ซอสปรุงรสฝาเหลือง จำนวน 5 ขวดๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 175 บาท ฐานที่ 3 อาหารในชีวิตประจำวัน รวมเป็นเงิน 1,400 บาท ได้แก่
                - แกงส้ม จำนวน 5 ถุงๆ  ละ 40 บาท เป็นเงิน 200 บาท             - แกงกะทิ จำนวน 5 ถุงๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 200 บาท             - แกงเลียง จำนวน 5 ถุงๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 200 บาท             - แกงคั่ว จำนวน 5 ถุงๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 200 บาท             - แกงต้มจืด จำนวน 5 ถุงๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 200 บาท             - แกงผัดเผ็ด จำนวน 5 ถุงๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 200 บาท             - แกงผัดผัก จำนวน 5 ถุงๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 200 บาท ฐานที่ 4 ขนมขบเคี้ยว อาหารทานเล่น เป็นเงิน 1,105 บาท ได้แก่
                - ขนมมันฝรั่งทอดกรอบ จำนวน 5 ห่อๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท             - ขนมอบกรอบรสมะเขือเทศ จำนวน 5 ห่อๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท             - ขนมปังแผ่น จำนวน 5 ห่อๆ ละ 13 บาท เป็นเงิน 65 บาท             - ขนมอบกรอบรสคาราเมล จำนวน 5 ห่อๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท             - สาหร่ายแผ่นอบกรอบ จำนวน 5 ห่อๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท             - ขนมข้าวโพดอบกรอบ จำนวน 5 ห่อๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท             - ขนมถั่วลันเตาอบกรอบ จำนวน 5 ห่อๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท             - ขนมเวเฟอร์ จำนวน 1 ห่อๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 45 บาท             - ป๊อปคอร์น จำนวน 5 ห่อๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท             - ขนมเค้ก จำนวน 5 ชิ้นๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท             - ลูกชิ้นทอด จำนวน 3 ถุงๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 195 บาท ฐานที่ 5 ผลไม้เพื่อสุขภาพ เป็นเงิน 970 บาท ได้แก่
                - ส้ม จำนวน 1 กิโลกรัมๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 50 บาท             - มะม่วง จำนวน 1 กิโลกรัมๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 50 บาท             - ฝรั่ง จำนวน 1 กิโลกรัมๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 70 บาท             - สับปะรด จำนวน 1 ลูกๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 40 บาท             - องุ่น จำนวน 1 กิโลกรัมๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 150 บาท             - แก้วมังกร จำนวน 1 กิโลกรัมๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 60 บาท             - มะยงชิด จำนวน 1 กิโลกรัมๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 80 บาท             - แอปเปิ้ล จำนวน 10 ลูกๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 100 บาท             - แตงโม จำนวน 1 ลูกๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 40 บาท             - กล้วย จำนวน 1 หวีๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 40 บาท             - มะละกอ จำนวน 1 ลูกๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 40 บาท             - ทับทิม จำนวน 5 ลูกๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท             - สาลี่ จำนวน 10 ลูกๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ครู บุคลากรและนักเรียนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่รับประทาน
  2. ครู บุคลากรและนักเรียนสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของตนเอง
  3. ครู บุคลากรและนักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง ปลอดจากโรคภัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 2. การตรวจประเมินจากคุณครูผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ

ชื่อกิจกรรม
2. การตรวจประเมินจากคุณครูผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>