กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.บานา

นางทัณฑิกา ท่าวสมาน นักวิชาการสาธารณสุข (ผู้รับผิดชอบโครงการ)

เขตพื้นที่ตำบลบานา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและการคลอดก่อนกำหนด โดยการคลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุสำคัญของการตายและภาวะทุพพลภาพของทารกแรกเกิด ปัญหาการคลอดก่อนกำหนดเกิดจากปัจจัยเสี่ยงทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ สารเคมี สิ่งแวดล้อม และจิตสังคม ซึ่งมีผลทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด เช่น การปฏิบัติตนของมารดา เรื่องโภชนาการขณะตั้งครรภ์ การใช้ยาและสารเสพติด และการติดตามทารกในครรภ์ ผลกระทบจากการที่มารดาคลอดก่อนกำหนด คือ มารดาต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานาน นอกจากนี้บุตรที่คลอดก่อนกำหนดจะมีน้ำหนักตัวน้อย เจ็บป่วยง่าย มารดาต้องดูแลบุตรอย่างใกล้ชิด จากสถิติการคลอดก่อนกำหนดในจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2564 พบว่ามีการคลอดก่อนกำหนด 271 คน คิดเป็นร้อยละ 7.53 และ พ.ศ.2565 พบว่ามีการคลอดก่อนกำหนด 270 คน คิดเป็นร้อยละ 7.57 และสถิติทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ของตำบลบานา พ.ศ.2564 จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.29และ พ.ศ.2565 จำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.11
องค์การบริหารส่วนตำบลบานา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของหญิงตั้งครรภ์จึงได้จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดเพื่อลดปัญหาและป้องกันการคลอดก่อนกำหนดขณะตั้งครรภ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาและป้องกันการคลอดก่อนกำหนดขณะตั้งครรภ์

ร้อยละ 70 สามารถลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดในเขตพื้นที่ตำบลบานา

0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจ การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และเฝ้าระวังการดูแลการคลอดก่อนกำหนด

ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมขณะตั้งครรภ์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 06/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ ประกอบด้วย

  • ชื่อ-สกุล

  • ที่อยู่

  • ช่วงระยะเวลาในการฝากครรภ์

  • สถานที่ฝากครรภ์

  • น้ำหนักทารกคลอดก่อนกำหนด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 7 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด อบต.บานา

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด อบต.บานา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครั้งที่ 1 ประชุมกำหนดแนวทางการ ดำเนินการในระดับท้องถิ่น มอบหมายภารกิจ อำนาจหน้าที่

ครั้งที่ 2 ประชุมติดตามประเมินผลการดำเนินการ

  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน28คน x35บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 1,960.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2566 ถึง 6 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1960.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด

ชื่อกิจกรรม
อบรมการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน50คน x 60 บาท เป็นเงิน 3,000.-บาท

    • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน50 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500.-บาท

    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท

    • ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1x3 จำนวน 1 ป้าย x 750 บาท เป็นเงิน 750.-บาท

    • วัสดุอุปกรณ์แนบท้าย เป็นเงิน 6,500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มิถุนายน 2566 ถึง 13 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16750.00

กิจกรรมที่ 4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1 x 4 เมตร จำนวน 2 ป้าย x 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000.-บาท

  • โปสเตอร์ขนาด A4 จำนวน 110 แผ่น x 25 บาท เป็นเงิน 2,750.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 6 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตาม ดูแล ช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม ดูแล ช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดตั้งกลุ่มไลน์ (Line) เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร รับฟังปัญหาและแลกเปลี่ยนความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์

    • ร่วมประเมินส่งต่อหญิงตั้งครรภ์เพื่อพาไปพบแพทย์
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มิถุนายน 2566 ถึง 13 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,460.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมเฝ้าระวังการดูแลการคลอดก่อนกำหนดขณะตั้งครรภ์
2. ลดปัญหาการคลอดก่อนกำหนดในเขตพื้นที่ตำบลบานา
3. ทารกหลังคลอดมีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์คลอดปลอดภัย (มากกว่า 2,500 กรัม)


>